เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ประชาธิปไตยและระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประชาธิปไตยและระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก

ประชาธิปไตย vs. ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR. ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก ทรราชย์เสียงข้างมาก หรือ ทรราชย์โดยเสียงส่วนใหญ่ (Tyranny of the majority) เป็นคำใช้อภิปรายระบอบประชาธิปไตยและการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ โดยบรรยายถึงกรณีที่การตัดสินใจของเสียงข้างมากยึดผลประโยชน์ของตนเหนือผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มเสียงข้างน้อยมากจนกลายเป็นการบีบบังคับ (opression) เปรียบได้กับทรราชย์หรือระบบใช้อำนาจเด็ดขาด มีการนำหลักเกินกึ่งหนึ่ง (supermajority) การจำกัดอำนาจของสภานิติบัญญัติโดยรัฐธรรมนูญ และการริเริ่มบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองมาใช้ตอบโต้ปัญหาที่รับรู้ดังกล่าวA Przeworski, JM Maravall, I NetLibrary (2003) p.223 การแยกใช้อำนาจถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นภายในรัฐบาลด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประชาธิปไตยและระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก

ประชาธิปไตยและระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์การแยกใช้อำนาจรัฐธรรมนูญ

การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ (majority rule) เป็นกฎเกณฑ์การตัดสินใจซึ่งเลือกทางที่มีคะแนนเสียงข้างมาก คือ มีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เป็นกฎเกณฑ์การตัดสินใจทวิภาคที่ใช้มากที่สุดในหน่วยงานวินิจฉัยสั่งการที่มีอิทธิพล รวมทั้งสภานิติบัญญัติของชาติประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน นักวิชาการบางส่วนแนะนำคัดค้านการใช้การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์อย่างน้อยในบางพฤติการณ์ เพราะป็นการแลกโดยปริยายระหว่างประโยชน์ของการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์กับคุณค่าอื่นที่สำคัญต่อสังคมประชาธิปไตย ข้อโต้แย้งที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์อาจนำไปสู่ "ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก" ฉะนั้น จึงแนะนำให้ใช้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (supermajority) และการจำกัดอำนาจรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญเพื่อบรรเทาผลกระทบเหล่านี้ ล่าสุด นักทฤษฎีการออกเสียงลงคะแนนแย้งว่า การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เป็นเกณฑ์ที่ดีที่สุดในการคุ้มครองฝ่ายข้างน้อ.

การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์และประชาธิปไตย · การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์และระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก · ดูเพิ่มเติม »

การแยกใช้อำนาจ

การแยกใช้อำนาจ เป็นแบบจำลองวิธีการปกครองรัฐ มีขึ้นครั้งแรกในกรีซโบราณ ภายใต้แบบจำลองนี้ รัฐแบ่งออกเป็นอำนาจต่าง ๆ ซึ่งแต่ละอำนาจมีอำนาจแยกเป็นเอกเทศต่อกัน และมีขอบเขตความรับผิดชอบต่างกัน เพื่อที่อำนาจของอำนาจหนึ่งจะไม่ไปขัดกับอำนาจที่สัมพันธ์กับอีกอำนาจหนึ่ง การแยกใช้อำนาจนี้ปกติแบ่งเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หมวดหมู่:กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมวดหมู่:ปรัชญากฎหมาย หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง.

การแยกใช้อำนาจและประชาธิปไตย · การแยกใช้อำนาจและระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ · ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมากและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประชาธิปไตยและระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก

ประชาธิปไตย มี 173 ความสัมพันธ์ขณะที่ ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 1.68% = 3 / (173 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาธิปไตยและระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: