เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปฏิยานุภาค

ดัชนี ปฏิยานุภาค

ประกอบของประจุไฟฟ้าเช่นเดียวกับขนาดของอนุภาคทั่วไป (ซ้าย) และปฏิยานุภาค (ขวา) จากบนลงล่าง; อิเล็กตรอน/โพซิตรอน, โปรตอน/แอนติโปรตอน, นิวตรอน/แอนตินิวตรอน ปฏิยานุภาค (antiparticle) เป็นอนุภาคที่มีความสอดคล้องมากที่สุดกับอนุภาคปกติธรรมดา มีความสัมพันธ์กันคือมีมวลเท่ากันและมีประจุไฟฟ้าที่ตรงกันข้าม ยกตัวอย่างเช่น ปฏิยานุภาคของอิเล็กตรอนเป็นอิเล็กตรอนที่มีประจุบวก, หรือเรียกว่าโพซิตรอนที่ถูกสร้างขึ้นในการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีบางชนิดตามธรรมชาติ กฎของธรรมชาติระหว่างอนุภาคและปฏิยานุภาคแทบจะสอดคล้องได้ส่วนกัน ตัวอย่างเช่นแอนติโปรตอนและโพสิตรอนสามารถสร้างอะตอมแอนติไฮโดรเจน (antihydrogen atom) ได้ ซึ่งมีคุณสมบัติเดียวกันที่เกือบจะเหมือนกับอะตอมไฮโดรเจน สิ่งนี้นำไปสู่​​คำถามที่ว่าทำไมการก่อตัวของสสารหลังบิ๊กแบงส่งผลให้ในจักรวาลประกอบด้วยสสารเกือบทั้งหมด แทนที่จะเป็นส่วนผสมอย่างละครึ่งหนึ่งของสสารและปฏิสสาร การค้นพบการละเมิดซีพี (CP violation) ช่วยทำให้ปัญหานี้กระจ่างขึ้นโดยการแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนนี้ ความคิดสร้างสรรค์ที่สมบูรณ์แบบเป็นเพียงการประมาณเท่านั้น คู่อนุภาค-ปฏิยานุภาคสามารถประลัยซึ่งกันและกันเกิดเป็นโฟตอนขึ้นและเนื่องจากประจุของอนุภาคและปฏิยานุภาคมีค่าตรงกันข้าม, ประจุรวมทั้งหมดจะอนุรักษ์ ตัวอย่างเช่น โพสิตรอนที่ถูกผลิตขึ้นในการสลายตัวกัมมันตรังสีตามธรรมชาติจะถูกประลัยอย่างรวดเร็วด้วยอิเล็กตรอน, การผลิตคู่ของรังสีแกมมา, กระบวนการใช้ประโยชน์ในโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี ปฏิยานุภาคถูกผลิตขึ้นตามธรรมชาติในการสลายให้อนุภาคบีตา และในอันตรกิริยาของรังสีคอสมิกในชั้นบรรยากาศของโลก เพราะว่าประจุจะต้องถูกอนุรักษ์ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างปฏิยานุภาคโดยไม่ต้องทำลายทั้งอนุภาคที่มีประจุที่เหมือนกันไปด้วย (เช่น ในการสลายให้อนุภาคบีต้า) หรือในการสร้างอนุภาคที่มีประจุที่ตรงกันข้ามก็ตาม ในระยะหลัง ๆ จะเห็นในหลาย ๆ กระบวนการในการที่ทั้งอนุภาคและปฏิยานุภาคจะถูกสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กัน เช่น ในเครื่องเร่งอน.

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: การสลายให้กัมมันตรังสีการสลายให้อนุภาคบีตาการถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอนมวลรังสีแกมมาอนุภาคประจุไฟฟ้าแบริโอเจเนซิสแอนติโปรตอนแอนติไฮโดรเจนโพซิตรอนไฮโดรเจนเครื่องเร่งอนุภาค

  2. ทฤษฎีสนามควอนตัม
  3. ปฏิสสาร
  4. ฟิสิกส์อนุภาค
  5. อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม

การสลายให้กัมมันตรังสี

การสลายให้อนุภาคแอลฟา เป็นการสลายให้กัมมันตรังสีชนิดหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมปลดปล่อย อนุภาคแอลฟา เป็นผลให้อะตอมแปลงร่าง (หรือ "สลาย") กลายเป็นอะตอมที่มีเลขมวลลดลง 4 หน่วยและเลขอะตอมลดลง 2 หน่วย การสลายให้กัมมันตรังสี (radioactive decay) หรือ การสลายของนิวเคลียส หรือ การแผ่กัมมันตรังสี (nuclear decay หรือ radioactivity) เป็นกระบวนการที่ นิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร สูญเสียพลังงานจากการปลดปล่อยรังสี.

ดู ปฏิยานุภาคและการสลายให้กัมมันตรังสี

การสลายให้อนุภาคบีตา

ในฟิสิกส์นิวเคลียร์, การสลายให้อนุภาคบีตา (beta decay) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่อนุภาคบีตา (อิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน) ถูกปลดปล่อยออกมา ในกรณีปลดปล่อยอิเล็กตรอน จะเป็น บีตาลบ (^-) ขณะที่ในกรณีปลดปล่อยโพซิตรอนจะเป็น บีตาบวก (^+) พลังงานจลน์ของอนุภาคบีตามีพิสัยสเปกตรัมต่อเนื่องจาก 0 ถึงค่าสูงสุดที่จะเป็นไป (Q) ซึ่งขึ้นกับสภาวะนิวเคลียร์ของต้นกำเนิดและลูกที่เกี่ยวข้องกับการสลาย โดยทั่วไป Q มีค่าประมาณ 1 MeV แต่สามารถมีพิสัยจากสองสาม keV ไปจนถึง สิบ MeV อนุภาคบีตากระตุ้นส่วนใหญ่มีความเร็วสูงมากเป็นซึ่งมีความเร็วใกล้เคียงอัตราเร็วของแสง.

ดู ปฏิยานุภาคและการสลายให้อนุภาคบีตา

การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน

รื่องตรวจโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟีแบบทั่วไป โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron emission tomography; PET) หรือ การตรวจเอกซ์เรย์ด้วยโพสิตรอน เป็นเทคนิคทางการแพทย์นิวเคลียร์ที่ช่วยสร้างภาพทางการแพทย์ (medical imaging) ซึ่งแสดงผลเป็นภาพสามมิติและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการชีวเคมีของร่างกายหรือเมตาบอลิซึม (metabolism) ที่เฉพาะเจาะจง (metabolic information) เพื่อใช้วิเคราะห์ความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย และติดตามความก้าวหน้าของการรักษาทางการแพทย์ (therapy monitoring) นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคนิคนี้ในการช่วยศึกษาและติดตามกระบวนการชีวเคมีที่เฉพาะเจาะจงได้อีกด้ว.

ดู ปฏิยานุภาคและการถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน

มวล

มวล เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัตถุ ที่บ่งบอกปริมาณ ของสสารที่วัตถุนั้นมี มวลเป็นแนวคิดหลักอันเป็นหัวใจของกลศาสตร์แบบดั้งเดิม รวมไปถึงแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง หากแจกแจงกันโดยละเอียดแล้ว จะมีปริมาณอยู่ 3 ประเภทที่ถูกนิยามว่า มวล ได้แก.

ดู ปฏิยานุภาคและมวล

รังสีแกมมา

รังสีแกมมา (Gamma radiation หรือ Gamma ray) มีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรกรีกว่า γ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่ารังสีเอกซ์ (X-ray) โดยมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 10-13 ถึง 10-17 หรือคลื่นที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10-13 นั่นเอง รังสีแกมมามีความถี่สูงมาก ดังนั้นมันจึงประกอบด้วยโฟตอนพลังงานสูงหลายตัว รังสีแกมมาเป็นการแผ่รังสีแบบ ionization มันจึงมีอันตรายต่อชีวภาพ รังสีแกมมาถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงที่สุดในบรรดาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่เหลือทั้งหมด การสลายให้รังสีแกมมาเป็นการสลายของนิวเคลียสของอะตอมในขณะที่มีการเปลี่ยนสถานะจากสถานะพลังงานสูงไปเป็นสถานะที่ต่ำกว่า แต่ก็อาจเกิดจากกระบวนการอื่น.

ดู ปฏิยานุภาคและรังสีแกมมา

อนุภาค

อนุภาค หมายถึงสสารที่มีปริมาณน้อยมากหรือเล็กมาก อาจหมายถึง; ในเคมี.

ดู ปฏิยานุภาคและอนุภาค

ประจุไฟฟ้า

นามไฟฟ้า ของประจุไฟฟ้าบวกและลบหนึ่งจุด ประจุไฟฟ้า เป็น คุณสมบัติทางฟิสิกส์ ของ สสาร ที่เป็นสาเหตุให้มันต้องประสบกับ แรง หนึ่งเมื่อมันถูกวางอยู่ใน สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าแบ่งออกเป็นสองประเภท: บวก และ ลบ ประจุเหมือนกันจะผลักกัน ประจุต่างกันจะดึงดูดกัน วัตถุจะมีประจุลบถ้ามันมี อิเล็กตรอน เกิน, มิฉะนั้นจะมีประจุบวกหรือไม่มีประจุ มีหน่วย SI เป็น คูลอมบ์ (C) ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, มันเป็นธรรมดาที่จะใช้ แอมแปร์-ชั่วโมง (Ah) และใน สาขาเคมี มันเป็นธรรมดาที่จะใช้ ประจุมูลฐาน (e) เป็นหน่วย สัญลักษณ์ Q มักจะหมายถึงประจุ ความรู้ช่วงต้นว่าสสารมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรในขณะนี้ถูกเรียกว่า ไฟฟ้าพลศาสตร์แบบคลาสสิก (classical electrodynamics) และยังคงถูกต้องสำหรับปัญหาที่ไม่จำเป็นต้องมีการพิจารณาถึง ผลกระทบควอนตัม ประจุไฟฟ้า เป็น คุณสมบัติแบบอนุรักษ์ พื้นฐานของ อนุภาคย่อยของอะตอม บางตัวที่กำหนด ปฏิสัมพันธ์ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ของพวกมัน สสารที่มีประจุไฟฟ้าจะได้รับอิทธิพลจาก สนามแม่เหล็กไฟฟ้า และก็ผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นเองได้ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ได้กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นแหล่งที่มาของ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ แรงพื้นฐาน (อ่านเพิ่มเติมที่: สนามแม่เหล็ก) การทดลองเรื่องหยดน้ำมัน ในศตวรรษที่ยี่สิบได้แสดงให้เห็นว่า ประจุจะถูก quantized; นั่นคือ ประจุของวัตถุใด ๆ จะมีค่าเป็นผลคูณที่เป็นจำนวนเต็มของหน่วยเล็ก ๆ แต่ละตัวที่เรียกว่า ประจุมูลฐาน หรือค่า e (เช่น 0e, 1e, 2e แต่ไม่ใช่ 1/2e หรือ 1/3e) e มีค่าประมาณเท่ากับ (ยกเว้นสำหรับอนุภาคที่เรียกว่า ควาร์ก ซึ่งมีประจุที่มีผลคูณที่เป็นจำนวนเต็มของ e/3) โปรตอน มีประจุเท่ากับ +e และ อิเล็กตรอน มีประจุเท่ากับ -e การศึกษาเกี่ยวกับอนุภาคที่มีประจุและการปฏิสัมพันธ์ของพวกมันจะถูกไกล่เกลี่ยโดย โฟตอน ได้อย่างไรจะเรียกว่า ไฟฟ้าพลศาสตร์ควอนตัม.

ดู ปฏิยานุภาคและประจุไฟฟ้า

แบริโอเจเนซิส

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา แบริโอเจเนซิส (Baryogenesis) เป็นศัพท์สามัญที่ใช้เรียกกระบวนการทางกายภาพตามสมมุติฐาน อันเป็นการทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างแบริออนกับปฏิแบริออน ในช่วงเริ่มต้นของเอกภพ เป็นผลให้เกิดสสารต่างๆ อันเป็นส่วนประกอบของเอกภพในปัจจุบัน ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแบริโอเจเนซิส ต้องอาศัยสาขาวิชาย่อยทางฟิสิกส์มาช่วยมากมาย เช่น ทฤษฎีสนามควอนตัม และฟิสิกส์เชิงสถิติ เพื่ออธิบายถึงกลไกที่เป็นไปได้ ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแบริโอเจเนซิสแบบต่างๆ เป็นเรื่องรายละเอียดของปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคพื้นฐาน กระบวนการถัดจากแบริโอเจเนซิส ยังเป็นที่เข้าใจกันมากกว่า นั่นคือ บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่นิวเคลียสอะตอมของแสงเริ่มก่อตัวขึ้น.

ดู ปฏิยานุภาคและแบริโอเจเนซิส

แอนติโปรตอน

แอนติโปรตอน (antiproton) หรือชื่อที่รู้จักกันน้อยกว่าคือ เนกาตรอน (negatron) หรือ (อ่านว่า พีบาร์) เป็นปฏิยานุภาคของโปรตอน แอนติโปรตอนนั้นเสถียร แต่โดยทั่วไปมีอายุสั้น เพราะการชนกับโปรตอนจะทำให้อนุภาคทั้งสองประลัยในการระเบิดของพลังงาน พอล ดิแรกทำนายการมีอยู่ของแอนติโปรตอนซึ่งมีประจุไฟฟ้า -1 ตรงข้ามกับประจุไฟฟ้า +1 ของโปรตอน ในการบรรยายรางวัลโนเบลปี 1933 ดิแรกได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการตีพิมพ์สมการดิแรกของเขาซึ่งทำนายการมีผลเฉลยบวกและลบของสมการพลังงาน (E.

ดู ปฏิยานุภาคและแอนติโปรตอน

แอนติไฮโดรเจน

แอนติไฮโดรเจนประกอบด้วยโพสิตรอนและแอนติโปรตอน แอนติไฮโดรเจน หรือ แอนไทไฮโดรเจน (antihydrogen) เป็นปฏิสสารของไฮโดรเจน ในขณะที่อะตอมไฮโดรเจนประกอบด้วยอิเล็กตรอนและโปรตอนอย่างละหนึ่งอนุภาค อะตอมแอนติไฮโดรเจนจะประกอบด้วยโพสิตรอนและแอนติโปรตอน แอนติไฮโดรเจนเริ่มที่จะได้รับการผลิตโดยมนุษย์ในการทดลองเครื่องเร่งอนุภาคใน..

ดู ปฏิยานุภาคและแอนติไฮโดรเจน

โพซิตรอน

ซิตรอน (positron) หรือ แอนติอิเล็กตรอน (antielectron) เป็นปฏิยานุภาคหรือปฏิสสารของอิเล็กตรอน โพซิตรอนมีประจุไฟฟ้าเป็น +1 มีสปินเป็น 1/2 และมีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน ถ้าโพซิตรอนพลังงานต่ำชนกับอิเล็กตรอนพลังงานต่ำจะเกิดการประลัย (annihilation) คือมีการเกิดโฟตอนรังสีแกมมา 2 โฟตอนหรือมากกว่า โพซิตรอนอาจจะเกิดจากการสลายตัวของการปลดปล่อยโพซิตรอนกัมมันตรังสี (ผ่านอันตรกิริยาอย่างอ่อน) หรือโดยการผลิตคู่จากโฟตอนที่มีพลังงานเพียงพอ.

ดู ปฏิยานุภาคและโพซิตรอน

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ดู ปฏิยานุภาคและไฮโดรเจน

เครื่องเร่งอนุภาค

รื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น Van de Graaff แบบ single stage 2 MeV ในช่วงทศวรรษ 1960s กำลังอยู่ระหว่างซ่อมบำรุง ภาพสเก็ตช์ของเครื่องเร่งไฟฟ้าสถิตย์แบบแวนเดอกราฟ เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) คือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่อาศัยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งให้อนุภาคที่มีประจุเคลื่อนที่ไปจนกระทั่งมีความเร็วสูง โดยให้เคลื่อนที่อยู่ภายในท่อที่เตรียมเอาไว้ โทรทัศน์แบบ CRT เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ อย่างหนึ่งของเครื่องเร่งอนุภาค มีเครื่องเร่งอนุภาคพื้นฐานอยู่ 2 แบบคือ เครื่องเร่งอนุภาคแบบ electrostatic และแบบ oscillating field.

ดู ปฏิยานุภาคและเครื่องเร่งอนุภาค

ดูเพิ่มเติม

ทฤษฎีสนามควอนตัม

ปฏิสสาร

ฟิสิกส์อนุภาค

อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Antiparticleปฏิอนุภาค