ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนและยุทธการตอกลิ่ม
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนและยุทธการตอกลิ่ม
ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน vs. ยุทธการตอกลิ่ม
แสดงแผนปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรในปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน (Operation Market Garden) เป็นปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยประเทศอังกฤษ ในห้วงวันที่ 17-25 กันยายน.. German movements ยุทธการตอกลิ่ม (Battle of the Bulge) (16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945) เป็นการบุกใหญ่ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีบนแนวรบด้านตะวันตกช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านเขตอาร์แดนที่มีป่าทึบแห่งวาโลเนียในทางตะวันออกของประเทศเบลเยียม ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสและประเทศลักเซมเบิร์ก การเข้าตีอย่างจู่โจมนี้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ทันตั้งตัวย่างสิ้นเชิง กำลังอเมริกันรับแรงกระทบของการเข้าตีและเป็นปฏิบัติการมีกำลังพลสูญเสียมากที่สุดในสงคราม ยุทธการดังกล่าวทำให้กำลังยานเกราะของเยอรมนีหมดลงอย่างรุนแรง และสามารถทดแทนได้เพียงเล็กน้อย กำลังพลของเยอรมันและอากาศยานของลุฟท์วัฟเฟอในเวลาต่อมาก็ประสบความสูญเสียอย่างหนักเช่นกัน ฝ่ายเยอรมันเรียกการบุกนี้ว่า ปฏิบัติการเฝ้าดูไรน์ (Unternehmen Wacht am Rhein) ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งชื่อว่า การรุกโต้ตอบอาร์เดน วลี "ยุทธการตอกลิ่ม" นั้นสื่อร่วมสมัยตั้งให้เพื่ออธิบายส่วนยื่นเด่นในแนวรบของเยอรมนีในแผนที่ข่าวยามสงคราม และกลายเป็นชื่อที่แพร่หลายที่สุดสำหรับการยุทธ์นี้ การรุกของเยอรมนีตั้งใจหยุดฝ่ายสัมพันธมิตรมิใช้ท่าแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม และเพื่อแบ่งแนวของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้ฝ่ายเยอรมันตีวงล้อมและทำลายกองทัพสัมพันธมิตรสี่กองทัพ และบังคับให้สัมพันธมิตรตะวันตกเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพโดยฝ่ายอักษะได้เปรียบ เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ผู้เผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เชื่อว่าตนสามารถทุ่มความสนใจต่อโซเวียตบนแนวรบด้านตะวันออกได้ มีการวางแผนการรุกดังกล่าวโดยปิดเป็นความลับที่สุด มีการติดต่อวิทยุและการเคลื่อนย้ายกำลังและยุทโธปกรณ์ภายใต้กำบังของความมืด ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรมิได้ตอบโต้การสื่อสารของเยอรมันที่ถูกดักได้ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการตระเตรียมการบุกของเยอรมันครั้งสำคัญ ฝ่ายเยอรมันบรรลุการจู่โจมอย่างสมบูรณ์ในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 1944 เนื่องจากความผยองของฝ่ายสัมพันธมิตร การหมกมุ่นกับแผนการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร และการลาดตระเวนทางอากาศที่เลว ฝ่ายเยอรมันเข้าตีส่วนที่มีการป้องกันเบาบางของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตร โดยฉวยประโยชน์จากสภาพอากาศที่มีเมฆมากซึ่งทำให้กองทัพอากาศที่เหนือกว่ามากไม่สามารถใช้การได้ มีการต่อต้านอย่างดุเดือด ณ ไหล่ทิศเหนือของการบุก รอบสันเขาเอลเซ็นบอร์น (Elsenborn) และในทางใต้ รอบบาสตอง (Bastogne) สกัดฝ่ายเยอรมันมิให้เข้าถึงถนนสำคัญสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกซึ่งเยอรมันต้องอาศัยจึงจะสำเร็จ แถวยานเกราะและทหารราบซึ่งควรบุกไปตามเส้นทางขนานกลับพบว่าอยู่บนถนนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ และภูมิประเทศซึ่งเอื้อต่อฝ่ายตั้งรับ ทำให้การบุกของเยอรมันล่าช้ากว่ากำหนด และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเสริมกำลังพลที่จัดวางอย่างเบาบางได้ สภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้การโจมตีทางอากาศต่อกำลังและแนวกำลังบำรุงของเยอรมัน ซึ่งตอกย้ำความล้มเหลวของการบุก ในห้วงของความปราชัย หน่วยของเยอรมันที่มีประสบการณ์สูงขาดแคลนกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างมาก ส่วนผู้รอดชีวิตล่าถอยไปยังการป้องกันของแนวซีกฟรีด ความปราชัยนี้ทำให้หน่วยที่มีประสบการณ์หลายหน่วยของเยอรมนีขาดแคลนกำลังคนและยุทโธปกรณ์ เนื่องจากผู้รอดชีวิตได้ถอยไปยังแนวซีกฟรีด สำหรับอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรบประมาณ 610,000 นาย และมีกำลังพลสูญเสีย 89,000 นาย โดยในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 19,000 นาย ทำให้ยุทธการตอกลิ่มเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดที่สู้รบกันในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนและยุทธการตอกลิ่ม
ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนและยุทธการตอกลิ่ม มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
อมพล เบอร์นาร์ด ลอว์ มอนต์โกเมอรี ไวเคานต์มอนต์โกเมอรีแห่งอลามีน (Bernard Law Montgomery, 1st Viscount Montgomery of Alamein; 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1976) ชื่อเล่นว่า "มอนตี้" และ "นายพลสปาร์ตัน"เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสกองทัพอังกฤษที่ต่อสู้ทั้งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง มอนต์โกเมอรีได้รับการนับถือว่าเป็นหนึ่งผู้บัญชาการที่ดีที่สุดของอังกฤษ บัญชาการกองทัพตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และมีชื่อเสียงจากสงครามโลกครั้งที่สองในการทัพแอฟริกาเหนือโดยนำกองทัพกองพลทหารราบที่ 1 ชนะกองทัพของรอมเมิลที่เอลอลาเมลและกองกำลังสุดท้ายที่ตูนิเซีย โดยแอร์วิน รอมเมิลได้กล่าวว่ามอนต์โกเมอรีเป็นคู่กัดอันดับหนึ่งของเขา จากนั้นได้นำกองกำลังบุกเกาะซิชิลีและเข้ารุกรานอิตาลี ต่อมาได้มีส่วนรวมในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดโดยนำกองทัพอังกฤษยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์ม็องดี นำกองทัพรวมกับสหรัฐอเมริกาปลดปล่อยฝรั่งเศส ในปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนเขาได้ล้มเหลวในการนำกองทัพอังกฤษบุกเมืองอาร์นเน็มเนเธอร์แลนด์ เป็นความล้มเหลวที่เกิดจากความเป็นชาตินิยมของเขาที่เขาไม่ยอมวางแผนกับนายพลของสหรัฐอเมริกา เขาได้แก้ตัวโดยนำทัพข้ามแม่น้ำไรน์เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม..
ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนและเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี · ยุทธการตอกลิ่มและเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนและยุทธการตอกลิ่ม มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนและยุทธการตอกลิ่ม
การเปรียบเทียบระหว่าง ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนและยุทธการตอกลิ่ม
ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุทธการตอกลิ่ม มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.12% = 1 / (10 + 22)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนและยุทธการตอกลิ่ม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: