โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปฏิทินฮิจเราะห์และฮัจญ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปฏิทินฮิจเราะห์และฮัจญ์

ปฏิทินฮิจเราะห์ vs. ฮัจญ์

ปฏิทินฮิจเราะห์ หรือ ปฏิทินอิสลาม หรือ ปฏิทินมุสลิม (อังกฤษ: Islamic calendar) เป็นระบบปฏิทินจันทรคติ ซึ่งประกอบด้วย 12 เดือนทางจันทรคติ ซึ่งในหนึ่งปีจะมี 354 หรือ 355 วัน ใช้กำหนดวันเหตุการณ์ในหลายประเทศมุสลิม (ควบคู่ไปกับปฏิทินเกรโกเรียน) และใช้โดยมุสลิมทั่วโลกเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการเฉลิมฉลองวันสำคัญและเทศกาลในศาสนาอิสลาม ปฏิทินฮิจเราะห์เริ่มนับเมื่อศาสดาแห่งอิสลาม นบีมุฮัมมัดอพยพจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ หรือที่รู้จักกันว่า hijra, hijrah ในภาษาอังกฤษ ฮิจเราะห์ศักราชจะถูกระบุโดยใช้ตัวย่อ H หรือ AH อันเป็นตัวย่อของวลีภาษาละติน anno Hegirae (ในปีแห่งฮิจเราะห์) ปัจจุบันอยู่ในฮิจเราะห์ศักราช เนื่องจากปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ จึงไม่เกิดขึ้นพร้อมกับฤดูกาล โดยในแต่ละปีมีวันคาดเคลื่อนไปจากปฏิทินเกรโกเรียนอยู่ 11 หรือ 12 วัน ทำให้ฤดูกาลจะกลับมาซ้ำเดิมทุก 33 ปีอิสลาม. การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำหัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อาระเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิหฺรอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินหะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฎของหัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินหะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร็อฟะหฺ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่เก้าของเดือนซุลฮิจญะหฺ แล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะหฺ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมีนา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดิลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะฮฺ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอหฺ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสยิด ฮะรอม (มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะหฺ ซึ่งมีระยะทาง 450 เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะ อิฮฺรอม การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันทำนุบำรุง บัยตุลลอฮฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำหัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมหมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้ หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาอิสลาม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปฏิทินฮิจเราะห์และฮัจญ์

ปฏิทินฮิจเราะห์และฮัจญ์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มักกะฮ์มุฮัมมัดซุลหิจญะฮฺ

มักกะฮ์

มักกะฮ์ มีชื่อเต็มว่า มักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ (مكة المكرمة) นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น อุมมุลกุรอ (มารดาบ้านเมือง) และบักกะฮ์ เป็นเมืองตั้งอยู่ที่พิกัด ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ห่างจากเมืองท่าญิดดะฮ์ 73 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 277 เมตร ห่างจากทะเลแดง 80 กิโลเมตร มักกะฮ์เป็นพระนครชุมทิศของโลกอิสลาม เป็นสถานที่ตั้งของกะอ์บะฮ์ มักกะฮ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์.

ปฏิทินฮิจเราะห์และมักกะฮ์ · มักกะฮ์และฮัจญ์ · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ปฏิทินฮิจเราะห์และมุฮัมมัด · มุฮัมมัดและฮัจญ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซุลหิจญะฮฺ

ซุลหิจญะฮฺ (ذو الحجة) คือเดือนที่ 12 ในปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์เป็นเดือนที่ชาวมุสลิมเดินทางไปมักกะฮฺเพื่อประกอบพิธีหัจญ์ ในเดือนนี้มีวันสำคัญคือ วันอีดุลอัฏฮา นอกจากนี้สิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺยังเป็นช่วงเวลาที่มีความประเสริฐอย่างยิ่งสำหรับชาวมุสลิม ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานมีความหมายว่า “และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำหัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้าและโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา(ด้านโลกและด้านศาสนา) และกล่าวพระนามอัลลอฮ ในวันที่รู้กันอยู่แล้ว (คือวันเชือด) ตามที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า ดังนั้นพวกเธอจงกินเนื้อของมัน และจงให้อาหารแก่ผู้ยากจนขัดสน” (ซูเราะฮฺอัลหัจญ์ อายะฮฺ 27-28) และในการบันทึกของอิมามบุคอรีย์และอบูดาวูด รายงานโดยท่านอิบนุอับบาสจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่งดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลหิจญะฮฺ)” ศ่อฮาบะฮฺได้กล่าวว่า “แม้กระทั่ง(ดีกว่า)การทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ” ท่านนบีตอบว่า “แม้กระทั่งการทำญิฮาด(หมายถึงจะไม่ดีกว่าการทำความดีในสิบวันแรกของซุลหิจญะฮฺ) เว้นแต่ชายคนหนึ่งออก(จากบ้าน)ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน(เพื่อทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ) และไม่มีสิ่งใดจากนั้น(ชีวิตและทรัพย์สิน)ได้กลับมาเลย” ท่านหญิงอาอิชะฮฺรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ไม่มีวันใดที่อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยบรรดาบ่าวของพระองค์จากนรกมากกว่าวันอะรอฟะฮ(วันที่ 9 ซุลหิจญะฮฺ) และแท้จริงพระองค์จะทรงอยู่ใกล้ชิดและทรงภูมิใจ(ด้วยการขยันทำความดีของบ่าวของพระองค์)ต่อมะลาอิกะฮฺ โดยพระองค์จะตรัส(ด้วยความภูมิใจ)ว่า คนเหล่านี้ประสงค์อะไรกัน(หมายถึงกล่าวถึงความปรารถนาอันทรงเกียรติของบ่าวของอัลลอฮฺที่แสวงบุญในวันอะรอฟะฮฺ)” บันทึกโดยอิมามมุสลิม การทำความดีในสิบวันแรกของซุลหิจญ.

ซุลหิจญะฮฺและปฏิทินฮิจเราะห์ · ซุลหิจญะฮฺและฮัจญ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปฏิทินฮิจเราะห์และฮัจญ์

ปฏิทินฮิจเราะห์ มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฮัจญ์ มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.38% = 3 / (38 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปฏิทินฮิจเราะห์และฮัจญ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »