โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปฏิทินสุริยคติและปฏิทินฮิจเราะห์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปฏิทินสุริยคติและปฏิทินฮิจเราะห์

ปฏิทินสุริยคติ vs. ปฏิทินฮิจเราะห์

รัญ 209 Dido ปฏิทินสุริยคติ (อังกฤษ: solar calendar) คือ ปฏิทินที่สอดคล้องกับฤดูกาลและเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์ ความยาวนานของปีโดยเฉลี่ยมีค่าใกล้เคียงกับปีฤดูกาล ปฏิทินสุริยคติ ได้แก. ปฏิทินฮิจเราะห์ หรือ ปฏิทินอิสลาม หรือ ปฏิทินมุสลิม (อังกฤษ: Islamic calendar) เป็นระบบปฏิทินจันทรคติ ซึ่งประกอบด้วย 12 เดือนทางจันทรคติ ซึ่งในหนึ่งปีจะมี 354 หรือ 355 วัน ใช้กำหนดวันเหตุการณ์ในหลายประเทศมุสลิม (ควบคู่ไปกับปฏิทินเกรโกเรียน) และใช้โดยมุสลิมทั่วโลกเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการเฉลิมฉลองวันสำคัญและเทศกาลในศาสนาอิสลาม ปฏิทินฮิจเราะห์เริ่มนับเมื่อศาสดาแห่งอิสลาม นบีมุฮัมมัดอพยพจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ หรือที่รู้จักกันว่า hijra, hijrah ในภาษาอังกฤษ ฮิจเราะห์ศักราชจะถูกระบุโดยใช้ตัวย่อ H หรือ AH อันเป็นตัวย่อของวลีภาษาละติน anno Hegirae (ในปีแห่งฮิจเราะห์) ปัจจุบันอยู่ในฮิจเราะห์ศักราช เนื่องจากปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ จึงไม่เกิดขึ้นพร้อมกับฤดูกาล โดยในแต่ละปีมีวันคาดเคลื่อนไปจากปฏิทินเกรโกเรียนอยู่ 11 หรือ 12 วัน ทำให้ฤดูกาลจะกลับมาซ้ำเดิมทุก 33 ปีอิสลาม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปฏิทินสุริยคติและปฏิทินฮิจเราะห์

ปฏิทินสุริยคติและปฏิทินฮิจเราะห์ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาอังกฤษฤดูกาลปฏิทินสุริยจันทรคติปฏิทินจันทรคติปฏิทินเกรโกเรียนปีอธิกสุรทิน

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ปฏิทินสุริยคติและภาษาอังกฤษ · ปฏิทินฮิจเราะห์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูกาล

การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ฤดูกาล (Season) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้.

ปฏิทินสุริยคติและฤดูกาล · ปฏิทินฮิจเราะห์และฤดูกาล · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินสุริยจันทรคติ

ปฏิทินสุริยจันทรคติ (lunisolar calendar) เป็นคำใช้เรียกรูปแบบการใช้ปฏิทินรูปแบบหนึ่ง มีใช้กันในหลายวัฒนธรรม โดยใช้ดิถีของดวงจันทร์เพื่อบอกข้างขึ้นข้างแรม บอกเดือน ตามแบบปฏิทินจันทรคติ โดยมากจะใช้บอกวันสำคัญทางศาสนา หรือเทศกาลฉลองตามประเพณีดั้งเดิม และมีการกำหนดวันตามแบบปฏิทินสุริยคติ เพื่อบอกเดือน และปี ในรูปแบบผสมนี้มักกำหนดปีตามรอบสุริยคติ คือปีหนึ่งมี 365 วัน หรือ 366 วัน.

ปฏิทินสุริยคติและปฏิทินสุริยจันทรคติ · ปฏิทินสุริยจันทรคติและปฏิทินฮิจเราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจันทรคติ

ปฏิทินจันทรคติ (อังกฤษ: lunar calendar) ใช้เรียกรูปแบบการใช้ปฏิทินรูปแบบหนึ่ง โดยใช้ดิถีของดวงจันทร์เพื่อบอกข้างขึ้นข้างแรมบอกเดือน ซึ่งในปัจจุบันระบบปฏิทินที่ใช้รูปแบบนี้ได้เปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบปฏิทินสุริยจันทรคติแทนที่ โดยส่วนของจันทรคติใช้งานเฉพาะอ้างอิงวันสำคัญทางศาสนา หรือเทศกาลฉลองตามประเพณีดั้งเดิม เช่น ปฏิทินจันทรคติในหนึ่งเดือนจะนับตามการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ซึ่งประมาณ 29 วันครึ่ง ซึ่งในหนึ่งปีจะแบ่งเป็น 12 เดือนซึ่งมีทั้งหมด 354 วัน โดยวันจะน้อยกว่าปฏิทินสุริยคติ 10 วันเศษ ซึ่งเมื่อถึงปีที่จำนวนวันที่เกินมาครบประมาณ 29.5 วันเศษ จะมีการเพิ่มเดือนเข้ามาอีกหนึ่งเดือน ซึ่งทำให้ปีนั้นมี 384 วัน ตัวอย่างเช่นในปฏิทินจันทรคติไทย จะเรียกว่าอธิกมาส โดยจะเพิ่มเดือน ๘ เข้ามาอีกหนึ่งเดือนซึ่งเรียกว่า เดือน ๘/๘ (หรือ ๘-๘ หรือ ๘๘ ก็เขียน) โดยในปีนั้นจะมี 13 เดือน ในปีที่ 3, 6, 9, 11, 14, 17 และ 19 ในปีทางจันทรคติ จะมี 12 เดือน ได้แก่ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ็ด เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง โดยเดือนคู่จะมี 30 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ ส่วนเดือนคี่มี 29 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 14 ค่ำ นอกจากนี้ยังมีบางปีที่มีวันแรม 15 ค่ำ เดือน 7 เรียกว่าอธิกวาร โดยจะมีในปีที่ 6, 12, 17, 22, 28, 33 และ 38 ทั้งนี้ เพื่อให้เดือนแต่ละเดือนมีค่าเฉลี่ยของวันในเดือนเข้าใกล้ 29.530588 วันมากที.

ปฏิทินจันทรคติและปฏิทินสุริยคติ · ปฏิทินจันทรคติและปฏิทินฮิจเราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินเกรโกเรียน

ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินเกรกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน เนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปาทรงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม..

ปฏิทินสุริยคติและปฏิทินเกรโกเรียน · ปฏิทินฮิจเราะห์และปฏิทินเกรโกเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ปีอธิกสุรทิน

ปีอธิกสุรทิน (leap year) เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน (หรือหนึ่งเดือนในกรณีของปฏิทินสุริยจันทรคติ) เพื่อให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล เพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์มิได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป โดยการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ ปีที่มิใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า ปีปกติสุรทิน (common year) ตัวอย่างเช่น ในปฏิทินเกรโกเรียน (ปฏิทินสุริยคติสามัญ) เดือนกุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันตามปกติ ดังนั้น ปีดังกล่าวจึงมี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วันตามปกติ คล้ายกัน ในปฏิทินฮีบรู (ปฏิทินสุริยจันทรคติ) เดือนจันทรคติที่ 13 มีการเพิ่มเจ็ดครั้งทุก 19 ปี เข้าไปในเดือนจันทรคติสิบสองเดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป.

ปฏิทินสุริยคติและปีอธิกสุรทิน · ปฏิทินฮิจเราะห์และปีอธิกสุรทิน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปฏิทินสุริยคติและปฏิทินฮิจเราะห์

ปฏิทินสุริยคติ มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปฏิทินฮิจเราะห์ มี 38 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 10.71% = 6 / (18 + 38)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปฏิทินสุริยคติและปฏิทินฮิจเราะห์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »