โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนและแรกนะร็อก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนและแรกนะร็อก

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน vs. แรกนะร็อก

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน (Der Ring des Nibelungen; The Ring of the Nibelung) เป็นปกรณัมชุดของริชาร์ด วากเนอร์ คีตกวีชาวเยอร์มัน ที่ใช้เวลาแต่งถึง 26 ปี ตั้งแต.. ประตูทิศเหนือของโบสถ์ไม้แห่งอูร์เนสที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ได้รับการตีความว่าการที่มีรายละเอียดของงูและมังกรนั้น เป็นตัวแทนของแรกนะร็อกFazio, Moffet, Wodehouse (2003:201). ในเทพปกรณัมนอร์สธอร์ แรกนะร็อก (Ragnarok,, หรือ) เป็นชุดเหตุการณ์ในอนาคต ประกอบด้วย การยุทธครั้งใหญ่ตามคำทำนายซึ่งนำไปสู่การสิ้นชีพของเหล่าเทพที่สำคัญ (ประกอบด้วย เทพโอดิน, ทอร์, เทียร์, เฟรย์, เฮมดาลล์, และโลกิ) ในท้ายที่สุด, การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ และการที่แผ่นดินจมลงใต้สมุทรตามลำดับ ต่อจากนั้น แผ่นดินจะผุดขึ้นจากทะเลอีกครั้ง และกลับมาอุดมสมบูรณ์ เทพที่รอดชีวิตและเทพผู้กลับมาจากความตายจะมาพบกัน โลกจะกลับมามีพลเมืองด้วยมนุษย์สองคนที่เหลือรอด แรกนะร็อกเป็นเหตุการณ์สำคัญในทางความเชื่อและศาสนาของนอร์ส และเป็นหัวข้อของวจนิพนธ์ทางวิชาการและทฤษฎี ตามที่มีหลักฐานยืนยัน เหตุการณ์นี้ได้รับการบันทึกครั้งแรกใน บทกวีเอ็ดดา ซึ่งแปลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จากบันทึกโบราณ และบทร้อยแก้วเอ็ดดาที่เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยสนอร์รี สเทอร์ลิวซัน ใน มหากาพย์เอ็ดดา และกลอนบทหนึ่งใน บทกวีเอ็ดดา เหตุการณ์นี้เรียกว่า Ragnarök หรือ Ragnarøkkr (ภาษานอร์สโบราณ แปลว่า "ชะตากรรมของเหล่าทวยเทพ" หรือ "สนธยาของเหล่าทวยเทพ" ตามลำดับ) การนำไปใช้งานที่มีชื่อเสียงกระทำโดยนักแต่งเพลงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ริชาร์ด วากเนอร์ ใช้เป็นหัวเรื่องดนตรีอุปรากร ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน องค์สุดท้ายของเขา เกิทเทอร์เดมเมอร์รุง (ค.ศ. 1876).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนและแรกนะร็อก

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนและแรกนะร็อก มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ริชาร์ด วากเนอร์วาลคิรีเทพปกรณัมนอร์ส

ริชาร์ด วากเนอร์

ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner; เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883) เป็นหนึ่งในคีตกวีเอกชาวเยอรมัน ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และยังเป็นนักทฤษฎีดนตรีที่เก่งกาจ ส่วนใหญ่แล้วผลงานของวากเนอร์เป็นที่รู้จักจากอุปรากรที่เขาแต่ง ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมประกอบดนตรี อิทธิพลของวากเนอร์ในดนตรีตะวันตกนั้นมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปรากรที่เขาปฏิวัติรูปแบบโดยสิ้นเชิง Richard Wagner.

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนและริชาร์ด วากเนอร์ · ริชาร์ด วากเนอร์และแรกนะร็อก · ดูเพิ่มเติม »

วาลคิรี

วาด "Valkyrie's Vigil" ในตำนานนอร์ส วาลคิรี (อังกฤษ: valkyrie, นอร์ส: valkyrja) เป็นเทพธิดาที่รับใช้ โอดินโดยมีหน้าที่นำนักรบที่ตายในสงครามไปที่ วัลฮัลลา (Valhalla) เพื่อพบกับโอดิน และมาเป็น Einherjar สู้ศึกในสงครามแร็กนาร็อก สงครามสิ้นโลกระหว่างเทพเจ้าและปีศาจ ในทางศิลปะ วาลคิรีมักจะถูกกล่าวถึงในสัญลักษณ์ของความสวยงาม โดยจะมีลักษณะนางฟ้าหญิง สวมหมวกนักรบถือหอกและขี่บนหลังม้าที่มีปีก วาลคิรีนั้นสามารถแปลงร่างเป็นหงส์ได้ วาลคิรีนั้นสามารถแต่งงานกับมนุษย์ได้ แต่นั่นจะทำให้เสียอำนาจวิเศษของเทพธิดาไป.

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนและวาลคิรี · วาลคิรีและแรกนะร็อก · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมนอร์ส

ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนและเทพปกรณัมนอร์ส · เทพปกรณัมนอร์สและแรกนะร็อก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนและแรกนะร็อก

ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ แรกนะร็อก มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.98% = 3 / (21 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกนและแรกนะร็อก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »