บูโพรพิออนและเมแทบอลิซึม
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง บูโพรพิออนและเมแทบอลิซึม
บูโพรพิออน vs. เมแทบอลิซึม
ูโพรพิออนรสำหรับรับประทานในรูปแบบยาออกฤทธิ์นาน ความแรง 300 มิลลิกรัม/เม็ด ชื่อการค้า Wellbutrin XL ซึ่งถูกผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 โดยแวเลียนต์ฟาร์มาซูติคอลส์ (Valeant Pharmaceuticals) บูโพรพิออน (Bupropion) เป็นยาที่มีข้อข่งใช้หลักสำหรับต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่ มีจำหน่ายในตลาดยาสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อการค้า Wellbutrin, Zyban และอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แพทย์มักสั่งจ่ายบูโพรพิออนเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นหลัก ในขณะที่ประเทศอื่นๆนอกเหนือจากนี้นั้น การใช้บูโพรพิออนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวถือเป็นการใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ (off-label use) ถึงแม้ว่ายานี้จะมีผลในการต้านซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดีอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ยานี้เป็นยาเสริมในกรณีที่ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาทางเลือกแรกอย่างยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินได้ไม่เต็มที่ ปัจจุบัน บูโพรพิออนมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด โดยส่วนใหญ่แล้วต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์หรือซื้อได้โดยใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่ในประเทศไทย เนื่องจากสถานะทางกฎหมายปัจจุบันของบูโพรพิออนนั้นจัดเป็นยาอันตราย ประชาชนจึงสามารถเข้าถึงได้จากร้านยาที่มีเภสัชกรปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ที่ใช้ยานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อติดตามประเมินผลและเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด บูโพรพิออนเป็นยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางด้วยการยับยั้งการเก็บกลับนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีน (NDRI) โดยจัดเป็นยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอะทิพิคอล ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นที่เป็นที่นิยมสั่งจ่ายโดยแพทย์ซึ่งมักเป็นยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินแบบจำเพาะ อย่างไรก็ตาม การได้รับการรักษาด้วยบูโพรพิออนอาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดอาการชักหรือโรคลมชักเพิ่มมากขึ้นได้ โดยความผิดปกติข้างต้นถือว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของบูโพรพิออน และเป็นสาเหตุที่ทำให้ยานี้ถูกเพิกถอนออกจากตลาดยาไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็ได้รับการรับรองให้นำกลับมาใช้ใหม่ภายใต้ขนาดยาแนะนำในการรักษาที่ลดต่ำลงจากเดิม ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบบูโพรพิออนกับยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นๆแล้วพบว่า บูโพรพิออนไม่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว, ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, หรือการนอนไม่หลับ เหมือนที่เกิดขึ้นในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าอื่น เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่าบูโพรพิออนนั้นส่งผลต่อเป้าหมายทางชีวภาพหลากหลายตำแหน่งในร่างกาย แต่ในกรณีที่ใช้ยานี้เพื่อเป็นยาต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่นั้นเป็นผลมาจากการที่ยานี้ออกฤทธิ์เป็นสารยับยั้งการเก็บกลับนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีนและปิดกั้นตัวรับนิโคทินิคในร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้อาการซึมเศร้าบรรเทาลง และเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด ตามลำดับ ทั้งนี้ บูโพรพิออนจัดเป็นสารเคมีที่อยู่ในกลุ่มอะมิโนตีโตน ซึ่งมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอย่างคาทิโนน, แอมฟีพราโมน และฟีนีไทลามีน บูโพรพิออนถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนาริแมน เมห์ต้า (Nariman Mehta) เมื่อปี.. กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บูโพรพิออนและเมแทบอลิซึม
บูโพรพิออนและเมแทบอลิซึม มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): คีโทน
คีโทน
หมู่คีโทน ในสารประกอบอินทรีย์ คีโทน (Ketone, alkanone) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วย หมู่คาร์บอนิล (C.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ บูโพรพิออนและเมแทบอลิซึม มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง บูโพรพิออนและเมแทบอลิซึม
การเปรียบเทียบระหว่าง บูโพรพิออนและเมแทบอลิซึม
บูโพรพิออน มี 93 ความสัมพันธ์ขณะที่ เมแทบอลิซึม มี 152 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.41% = 1 / (93 + 152)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บูโพรพิออนและเมแทบอลิซึม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: