เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

บีพีและแก๊สปิโตรเลียมเหลว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บีพีและแก๊สปิโตรเลียมเหลว

บีพี vs. แก๊สปิโตรเลียมเหลว

ีพี (BP) เป็นบริษัททางด้านพลังงานขนาดใหญ่ของโลก โดยเป็นบริษัทด้านพลังงานที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เป็นบริษัทที่มีพนักงานมากที่สุดอันดับสี่ของโลก และเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ส่วนบีพีสาขาอเมริกามีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฮิวสตันในรัฐเทกซัส ในปี พ.ศ. 2543 บีพีได้ซื้อกิจการของคาสตรอล ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์และรถจักรยานยนต์คาสตรอล ส่งผลให้คาสตรอลขึ้นกับบีพีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บีพีได้เริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพื่อบริหารสถานีบริการน้ำมันบีพี และผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์บีพีเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในชื่อบริษัท บีพี ออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2540 ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 บีพีได้ขายกิจการด้านสถานีบริการน้ำมันบีพีในประเทศไทยให้กับเชฟรอน หรือบริษัท น้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด และขายลิขสิทธิ์ยี่ห้อน้ำมันเครื่องให้กับ พีทีและเจ็ท (ในขณะนั้น) โดยได้ขายสถานีบริการน้ำมันไป 48 แห่ง แต่ในด้านการจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น บีพียังคงดำเนินการต่อไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้ควบรวมกิจการเข้ากับบริษัท แอสแพค ออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์และรถจักรยานยนต์คาสตรอล จัดตั้งบริษัท บีพี-คาสตรอล (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อดำเนินกิจการการผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์และจักรยานยนต์บีพีและคาสตรอล จนถึงปัจจุบัน โดยมีโรงงานผลิตน้ำมันหล่อลื่นบีพีและคาสตรอลอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร. แก๊สปิโตรเลียมเหลว หรือ แอลพีจี (liquefied petroleum gas: LPG) จัดเป็นเชื้อเพลิงอีกชนิดหนึ่งที่มาจากซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกแก๊สธรรมชาติ ในโรงแยกแก๊สธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด คือ โพรเพนและบิวเทนไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ หนักกว่าอากาศ ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2–15 % ของปริมาณในอากาศ และอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ 400 องศาเซลเซียส ในประเทศไทยแก๊สหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากการกลั่นน้ำมัน โดยใช้อัตราส่วนผสมของโพรเพน และบิวเทนประมาณ 70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บีพีและแก๊สปิโตรเลียมเหลว

บีพีและแก๊สปิโตรเลียมเหลว มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ปิโตรเลียมแก๊สธรรมชาติ

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

บีพีและปิโตรเลียม · ปิโตรเลียมและแก๊สปิโตรเลียมเหลว · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สธรรมชาติ

ประเทศผู้ผลิตแก๊สธรรมชาติ แก๊สธรรมชาติ (Natural gas) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้ เป็นมีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น หรือ หมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสภาพเป็นแก๊ส ณ ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน 15.6 องศาเซลเซียส และ 101 กิโลปาสคาล โดยในแหล่งธรรมชาติอาจมีเฉพาะ มีเทน หรือ อีเทนล้วนหรืออาจ เจือปนโพรเพน และบิวเทนในบางแหล่ง ซึ่งถ้าแยกโพรเพน และบิวเทน ออกมาบรรจุลงในถังแก๊ส เรียกว่า แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ LPG หรือ แก๊สหุงต้ม แก๊สธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเตาและแก๊สหุงต้ม ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงนิยมใช้แก๊สธรรมชาติ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกตามสมบัติทางเทคนิคได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1.

บีพีและแก๊สธรรมชาติ · แก๊สธรรมชาติและแก๊สปิโตรเลียมเหลว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บีพีและแก๊สปิโตรเลียมเหลว

บีพี มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ แก๊สปิโตรเลียมเหลว มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 9.52% = 2 / (15 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บีพีและแก๊สปิโตรเลียมเหลว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: