เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

บาศกนิยมและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บาศกนิยมและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์

บาศกนิยม vs. ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์

ผลงานแบบบาศกนิยม บาศกนิยม (cubism) เป็นลัทธิการสร้างสรรค์ศิลปะที่ได้รับผลสะท้อนมาจากอิทธิพลด้านความเจริญทางวิทยาศาสตร์ และจากลักษณะรูปแบบหน้ากากของชนเผ่าดั้งเดิมในแอฟริกา ซึ่งได้ปลุกเร้าการสร้างสรรค์แบบใหม่ รวมทั้งลักษณะการของศิลปินสมัยใหม่ที่พยายามแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวให้กับตนเอง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับลักษณะรูปแบบศิลปะกลุ่มอื่นที่ผ่านมาหรือที่มีอยู่ในยุคนั้น ซึ่งมีหลักสุนทรียภาพที่แสดงรูปทรงศิลปะในลักษณะผันแปรความจริง โดยให้มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม เป็นลูกบาศก์ เป็นทรงเรขาคณิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเชิงสามมิติให้ปรากฏในผืนระนาบสองมิติหรือสามมิติ แสดงออกทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม หากเป็นงานจิตรกรรมรูปแบบผลงานก็จะสามารถแสดงลักษณะปรากฏทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังบนพื้นระนาบไปพร้อมกัน บางทีก็แสดงการทับซ้อนและปิดบังระหว่างกัน รวมทั้งมีการตัดทอนรูปทรงให้ดูง่ายขึ้นกว่ารูปจริงของวัตถุหรือสภาวะที่แท้จริงของรูปทรงนั้น ๆ ด้ว. หอไอน์สไตน์ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแนวสำแดงพลังอารมณ์ที่พอทสดัมในเยอรมนี ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หรือ เอกซเพรสชันนิซึม (expressionism) คือขบวนการทางวัฒนธรรมที่เริ่มขึ้นในเยอรมนีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เป็นปฏิกิริยาต่อปฏิฐานนิยม (positivism) และขบวนการศิลปะอื่น ๆ เช่น ธรรมชาตินิยม (naturalism) และลัทธิประทับใจ (impressionism) วัตถุประสงค์ของขบวนการนี้ก็เพื่อการแสวงหาความหมายของ "ความรู้สึกมีชีวิตชีวา" (being alive)Victorino Tejera, 1966, pages 85,140, Art and Human Intelligence, Vision Press Limited, London และประสบการณ์ทางอารมณ์แทนความเป็นจริงทางวัตถุ แนวโน้มของศิลปินกลุ่มนี้จะบิดเบือนความเป็นจริงเพื่อที่จะแสดงผลที่มีต่ออารมณ์ และเป็นศิลปะอัตวิสัย (subjective art form) ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ปรากฏในงานศิลปะหลายรูปหลายแบบซึ่งได้แก่ จิตรกรรม วรรณกรรม การละคร ภาพยนตร์ สถาปัตยกรรม และการดนตรี และมักจะเป็นคำที่มีนัยยะถึงอารมณ์รุนแรงภายใน (angst) โดยทั่วไปแล้วจิตรกรเช่น มัททีอัส กรือเนวัลด์ และเอลเกรโก ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจิตรกรแนวสำแดงพลังอารมณ์ แม้ว่าจะเป็นคำที่มักจะใช้กับงานศิลปะของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ตาม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บาศกนิยมและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์

บาศกนิยมและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลัทธิประทับใจ

ลัทธิประทับใจ

''Avenue de l'Opéra'') โดยกามีย์ ปีซาโร ลัทธิประทับใจ หรือ อิมเพรสชันนิซึม (impressionism) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโกลด มอแน ที่มีชื่อว่า Impression, Sunrise ("Impression, soleil levant" ในภาษาฝรั่งเศส) และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่าหลุยส์ เลอรัว (Louis Leroy) ก็ได้ให้กำเนิดคำคำนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เลอชารีวารี (Le Charivari) อิทธิพลของลัทธิประทับใจยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและวรรณกรรม.

บาศกนิยมและลัทธิประทับใจ · ลัทธิประทับใจและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บาศกนิยมและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์

บาศกนิยม มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 5.56% = 1 / (9 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บาศกนิยมและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: