โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บารอก

ดัชนี บารอก

“การแต่งงานของนักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย” (The Mystic Marriage of St. Catherine) โดย อันโตนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ บารอก (Baroque) หรือบาโรก เป็นสมัยหนึ่งของศิลปะตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ถ้ากล่าวถึงดนตรีแบบบารอกก็จะหมายถึงสมัยสุดท้ายของเคาน์เตอร์พ็อยต์ (Counterpoint) ที่กล่างวถึงความสัมพันธ์ของการเล่นระหว่างเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่อาจจะสะท้อนกันและกัน แต่คนละระดับเสียง หรือบางครั้งก็อาจจะสลับเสียงสะท้อน หรือไม่อีกทีก็อาจจะย้อนแก่นสาร (reversing theme) ของดนตรีชิ้นนั้นไปเลย ยุคบารอกรุ่งเรืองขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ เมื่อปี..

38 ความสัมพันธ์: บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโยฟรันส์ ฮัลส์ฟรันซิสโก เด ซูร์บารันฟรันเชสโก บอร์โรมีนีการาวัจโจการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์การปฏิรูปคาทอลิกภาษาโปรตุเกสมีเกลันเจโลละครวรรณกรรมวิลเลียม เคนท์ศิลปะตะวันตกสังคายนาแห่งเทรนต์อันนีบาเล การ์รัชชีอันโตน ฟัน ไดก์อันโตนีโอ วีวัลดีอันโตนีโอ ดา กอร์เรจโจอาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกีอุปรากรฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลีจริตนิยมจอร์จ ฟริดริก แฮนเดิลจอห์น มิลตันจัน โลเรนโซ แบร์นีนีจิตรกรรมดิเอโก เบลัซเกซดนตรีคริสตจักรประติมากรรมประเทศอิตาลีนาฏศิลป์โยฮันน์ พาเคลเบลโยฮันน์ เซบาสเตียน บาคโยฮันเนิส เฟอร์เมร์โรมโรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์

บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย

“เด็กขายผลไม้” (The Little Fruit Seller) - ค.ศ. 1670 บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย (Bartolomé Esteban Murillo) รับศีลล้างบาปเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1618 ที่เซบิยา ประเทศสเปน และเสียชีวิตที่เซบิยาเช่นกันเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1682 เป็นจิตรกรสมัยศิลปะบาโรกคนสำค้ญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน แม้ว่ามูริโยจะมีชื่อเสียงในการเขียนภาพทางศาสนาแต่ก็ได้เขียนภาพชีวิตชาวบ้านทั้งผู้หญิงและเด็กร่วมสมัยไว้มาก เป็นภาพของเด็กขายดอกไม้ เด็กเกเร ขอทาน ซึ่งทำให้เราเห็นภาพชีวิตประจำวันในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: บารอกและบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันส์ ฮัลส์

ฟรันส์ ฮัลส์ (Frans Hals; ราว ค.ศ. 1580 - 26 สิงหาคม ค.ศ. 1666) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ฮัลส์มีชื่อเสียงในการเขียนภาพเหมือนและการใช้ฝีแปรงที่อิสระและเป็นผู้นำวิธีการเขียนที่มีชีวิตชีวามาสู่ศิลปะดัตช์ และเป็นผู้มีบทบาทในการวิวัฒนาการการเขียนภาพเหมือนของกลุ่มคนในคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: บารอกและฟรันส์ ฮัลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน

นักบุญลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารที่อาจจะเป็นภาพเหมือนของซูร์บารันเอง ราว ค.ศ. 1635-1640http://www.humanitiesweb.org/human.php?s.

ใหม่!!: บารอกและฟรันซิสโก เด ซูร์บารัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี

ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี (Francesco Borromini) หรือ ฟรันเชสโก กัสเตลลี (Francesco Castelli) เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน..

ใหม่!!: บารอกและฟรันเชสโก บอร์โรมีนี · ดูเพิ่มเติม »

การาวัจโจ

ูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี..

ใหม่!!: บารอกและการาวัจโจ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี..

ใหม่!!: บารอกและการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปคาทอลิก

การปฏิรูปคาทอลิกราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 147 (Catholic Reformation) หรือการปฏิรูปคู่เคียง (Counter-Reformation), from Encyclopædia Britannica Online, latest edition, full-article.

ใหม่!!: บารอกและการปฏิรูปคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรตุเกส

ษาโปรตุเกส (português ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสถูกขนานนามว่า A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูอิช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซีอู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones.

ใหม่!!: บารอกและภาษาโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: บารอกและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

ละคร

ละคร หมายถึงการแสดงรำที่เป็นเรื่องเป็นราว ดำเนินเรื่องไปโดยลำดับ มีตัวเอกของเรื่อง ฝ่ายชายเรียกว่าตัวพระ เพราะสมัยโบราณแสดงแต่เรื่องจักรๆวงศ์ๆ เป็นเรื่องของกษัตริย์ มีชื่อว่าพระต่างๆ เช่น พระอนิรุทธิ์ พระไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี ฝ่ายหญิงเรียกว่า ตัวนาง เพราะในเรื่องที่แสดงมักชื่อว่านางต่างๆ เช่น นางสีดา นางบุษบา นางทิพย์เกสร ยังไม่มีการแบ่งเป็นนางสาวและนางที่มีสามีแล้ว และตัวประกอบอื่นๆแล้วแต่ในเรื่องจะมีละครมีหลายแบบ แต่ละวฝฝใมีการแสดงและความมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครถาม😴😴😴😴😴 และละครดึกดำบรรพ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจดบันทึกโดย ซิมง เดอ ลาลูแบร์ ราชฑูตแห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ใน ปี..

ใหม่!!: บารอกและละคร · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: บารอกและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เคนท์

วิลเลียม เคนท์ ผู้บุกเบิกสวนอังกฤษแบบธรรมชาติ วิลเลียม เคนท์ (William Kent พ.ศ. 2228-2291) จิตรกร นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิก เกิดที่เมืองบริดลิงตันไรดิงตะวันออกของยอร์กไชร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เคนท์ได้ไปทัศนศึกษาที่อิตาลีกับผู้อุปถัมภ์และกลับมาทำงานกับลอร์ดเบอร์ลิงตันในงานสร้างตำหนักชิสวิก ต่อมาเคนท์ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียนในอังกฤษ อาคารที่เคนท์ออกแบบได้แก่กลุ่มอาคารฮอร์สการ์ดที่ไวท์ฮอลล์ อาคารรอแยลมิวส์ที่จตุรัสทราฟัลกาและอาคารกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ดี เคนท์ประสบความสำเร็จในงานออกแบบอาคารน้อยกว่างานภูมิทัศน์ สะพานและอาคารแบบพาลลาเดียนในสโตว์ โดยเคนท์ ตัวอย่างงานออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญคือสวนที่ สโตว์ในบัคคิงแฮมเชอร์ เคนท์นับเป็น “เจ้าตำหรับสวนอังกฤษ” (English School of Landscape Gardening) ที่ได้รับอิทธิพลจากการไปศึกษาที่อิตาลีซึ่งเคนท์ได้ชื่นชมภาพเขียนภูมิทัศน์ของโคลด ลอร์แรน (Claude Lorrain) นิโคลาส์ ปูแซน และซัลวาตอเร โรซา โดยถือเป็นการ “ปฏิรูปสวนอังกฤษ” ให้เป็นรูปแบบ “ธรรมชาติ” ที่มีเนินทุ่งหญ้าและน้ำ นับเป็นการบุกเบิกงานภูมิทัศน์ธรรมชาติที่เปิดกว้างขึ้นให้แก่ “บราวน์ผู้สามารถ” ซึ่งมีโอกาสได้พบเคนท์ในขณะฝึกงานที่สวนสโตว์ และบราวน์ได้ยึดแนวและปรับปรุงรูปแบบ “สวนอังกฤษให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในชั่วคนต่อมา กล่าวกันว่าจุดอ่อนของตัวเคนท์ในงานจัดภูมิทัศน์คือการขาดความรู้ในด้านพืชพรรณและทักษะด้านเทคนิคภูมิทัศน์ แต่ความสามารถในการนำศิลปะสถาปัตยกรรมมาผสมกลมกลืนธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมสามารถชดเชยจุดอ่อนนี้ได้ เคนท์เคยกล่าวไว้ว่า “งานสร้างสวนทั้งหมดแท้จริงก็คืองานสร้างภาพเขียนภูมิทัศน์” ตัวอย่างงานศิลปะบางส่วนโดยเคนท์ได้แก่ฉาก กอธิก ห้องโถงในวิหารเวสมินสเตอร์ โบสถ์กลอสเซสเตอร์ งานภายในตำหนักเบอร์ลิงตัน และตำหนักชิสวิกในลอนดอน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2227 คเนท์ คเนท์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลอีสต์ไรดิงออฟยอร์คเชอร์.

ใหม่!!: บารอกและวิลเลียม เคนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตะวันตก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: บารอกและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาแห่งเทรนต์

การประชุมสภาที่โบสถ์ซันตามาเรียมัจโจเร เมืองเตรนโต สังคายนาแห่งเทรนต์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 149(Council of Trent) เป็นการประชุมสภาสังคายนาสากลของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ถือเป็นการประชุมครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของฝ่ายโรมันคาทอลิกWetterau, Bruce.

ใหม่!!: บารอกและสังคายนาแห่งเทรนต์ · ดูเพิ่มเติม »

อันนีบาเล การ์รัชชี

อันนิบาเล คารัคชี (ภาษาอังกฤษ: Annibale Carracci) (3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1560 - ค.ศ. 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1609) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: บารอกและอันนีบาเล การ์รัชชี · ดูเพิ่มเติม »

อันโตน ฟัน ไดก์

"ภาพเหมือนกับดอกทานตะวัน" แสดงให้เห็นเหรียญที่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระราชทานเมื่อ ค.ศ. 1633 ดอกทานตะวันอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือการอุปถัมภ์หลวงSo Ellis Waterhouse (as refs below). But Levey (refs below) suggests that either van Dyck is the sun to which the sun-flower (of popular acclaim?) turns its face, or that it is the face of the King, on the medal he holds, as presented by van Dyck to the world ภาพเหมือนของครอบครัวโลเมลลี (Lomelli family) ค.ศ. 1623 ภาพเหมือนของลอร์ดจอห์น สจวต และน้องชายลอร์ดเบอร์นาร์ด สจวต--ลักษณะที่ผู้เป็นแบบมีเป็นความกันเองมากขึ้นที่ฟัน ไดก์มาวิวัฒนาการในอังกฤษ, ประมาณ ค.ศ. 1638 พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (ราว ค.ศ. 1635) อันโตน ฟัน ไดก์ (Antoon van Dyck, Antoon van Dijck) หรือ แอนโทนี แวน ไดก์ (Anthony van Dyck; 22 มีนาคม ค.ศ. 1599 – 9 ธันวาคม ค.ศ. 1641) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวเฟลมมิชซึ่งมาเป็นจิตรกรคนสำคัญประจำราชสำนักพระเจ้าชาลส์ที่ 1ที่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยเฉพาะภาพเหมือน ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงของฟัน ไดก์เป็นภาพเหมือนของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 และครอบครัวซึ่งวางท่าลักษณะสบายแต่สง่าแบบที่กลายมาเป็นแบบที่ใช้ในการเขียนภาพเหมือนต่อมาในอังกฤษเป็นเวลาราว 150 ปี นอกจากภาพเหมือนแล้ว ฟัน ไดก์ยังเขียนภาพจากพระคัมภีร์และตำนานเทพ และเป็นจิตรกรคนสำคัญผู้ริเริ่มใช้สีน้ำและกลวิธีพิมพ์กัดกรด (etching).

ใหม่!!: บารอกและอันโตน ฟัน ไดก์ · ดูเพิ่มเติม »

อันโตนีโอ วีวัลดี

thumb.

ใหม่!!: บารอกและอันโตนีโอ วีวัลดี · ดูเพิ่มเติม »

อันโตนีโอ ดา กอร์เรจโจ

อันโตนิโอ อัลเลอกริ ดา คอร์เรจจิโอ “จูปิเตอร์และโล” (Jupiter and Io) ราว ค.ศ. 1531 เป็นภาพที่แสดงลักษณะการเขียนของคอร์เรจจิโออย่างเห็นได้ชัด ไม่มีการซ่อนความอ่อนหวานของ eroticism, สีสว่างและเย็น อันโตนิโอ อัลเลอกริ ดา คอร์เรจจิโอ หรือ อันโทนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ (Antonio Allegri da Correggio. หรือ Antonio da Correggio; ชื่อเมื่อแรกเกิด) (สิงหาคม ค.ศ. 1489 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1534) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์ คนสำคัญจากปาร์มาในประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและภาพสีน้ำมันทึ่เต็มไปด้วยความรู้สึกสัมผัส (sensuous) การวางองค์ประกอบของภาพเต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ความลวงตาทางทัศนียภาพ และการใช้ความลึก (foreshortening) คอร์เรจจิโอเป็นผู้มาก่อนศิลปะโรโคโคของคริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: บารอกและอันโตนีโอ ดา กอร์เรจโจ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี

“ภาพเหมือนตนเอง” (ราว ค.ศ. 1630) อาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิ (ภาษาอังกฤษ: Artemisia Gentileschi) (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1593 - ค.ศ. 1651/1653) เป็นจิตรกรบาโรกสมัยต้นของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อาร์เทมิเซียเกิดที่กรุงโรมและเสียชีวิตที่เนเปิลส์มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน อาร์เทมิเซียเป็นจิตรกรคนสำคัญคนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากคาราวัจโจ และเป็นจิตรกรในสมัยที่ผู้หญิงยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มนักเขียนภาพ อาร์เทมิเซียเป็นจิตรกรหญิงคนแรกที่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti Firenze) และเป็นสตรีคนแรกที่เขียนภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และศาสนาในสมัยที่หัวข้อเช่นนี้เชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่เกินกว่าผู้หญิงจะเข้าใจได้.

ใหม่!!: บารอกและอาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี · ดูเพิ่มเติม »

อุปรากร

รงอุปรากรซิดนีย์ในประเทศออสเตรเลีย เป็นโรงอุปรากรที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อุปรากร (opera) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินเรื่องโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด อุปรากรถือเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีคลาสสิก ตะวันตก มีความใกล้เคียงกับละครเวทีในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งอาจมีตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึงวงออร์เคสตราขนาดใหญ.

ใหม่!!: บารอกและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี

็อง-บาติสต์ ลูว์ลี ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี (Jean-Baptiste Lully) เดิมชื่อ โจวันนี บัตติสตา ลุลลี (Giovanni Battista Lulli) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1632 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของเจ้าของโรงโม่ เขาได้รับการศึกษาเพียงเล็กน้อย แต่กลับมีพรสวรรค์ในการเล่นกีตาร์ ไวโอลิน และเต้นรำ ในปี..

ใหม่!!: บารอกและฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี · ดูเพิ่มเติม »

จริตนิยม

ในภาพเขียน “แม่พระพระศอยาว” (Madonna with the Long Neck)-(ค.ศ. 1534-1540) โดยปาร์มีจานีโน แมนเนอริสม์แสดงโดยการทำให้สัดส่วนยาวขึ้นซึ่งทำให้มีผลต่อการวางรูปและบิดเบือนทัศนมิติไม่กระจ่างแจ้ง จริตนิยม (Mannerism) คือยุคของศิลปะของจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และการตกแต่ง ที่เริ่มตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยทึ่รุ่งเรืองที่สุดราวปี..

ใหม่!!: บารอกและจริตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล

อร์จ ฟริเดอริก แฮนเดิล ค.ศ. 1733 จอร์จ ฟริดริก (หรือฟริเดอริก) แฮนเดิล (George Frideric/Frederick Handel) เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพัน..

ใหม่!!: บารอกและจอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น มิลตัน

กวีนิพนธ์เรื่อง "สวรรค์หาย" ของจอห์น มิลตัน จอห์น มิลตัน (John Milton, 9 ธันวาคม พ.ศ. 2151 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2217) เป็น กวี เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และใช้เวลา 6 ปีเต็มในการพักผ่อนไปและศึกษาไปที่ฮอร์ตันซึ่งมิลตันกล่าวว่าเป็นการเตรียมตัวเข้าสู่ชีวิตแห่งการเป็นกวี ที่ฮอร์ตัน มิลตันได้เขียนงานชื่อ L’Allegro และ Il Penseroto (พ.ศ. 2175) Comus (พ.ศ. 2176) และ Lycidas (พ.ศ. 2180) มิลตันจบการศึกษาอย่างเป็นทางการด้วยการไปทัศนศึกษาที่ประเทศอิตาลี (พ.ศ. 2181-82) กวีนิพนธ์ในภาษาละติน อันเป็นความสามารถที่โดดเด่น ทำให้มิลตันได้รับปริญญาเกียรตินิยม การมีหัวปฏิวัติที่รุนแรงในระหว่างสงครามกลางเมืองทำให้มิลตันมีชิ้นงานออกมาน้อยมากซึ่งเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึง 20 ปี มีจะก็เพียงงานโคลง “ซอนเน็ท” (Sonnets-โครงชนิดหนึ่งมี 14 บรรทัด) ออกมาเป็นครั้งคราว เมื่อมิลตันกลับลอนดอนในปี..

ใหม่!!: บารอกและจอห์น มิลตัน · ดูเพิ่มเติม »

จัน โลเรนโซ แบร์นีนี

ีอันโลเรนโซ แบร์นินี (Gian Lorenzo Bernini) (Giovanni Lorenzo Bernini, 7 ธันวาคม พ.ศ. 2141 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2223) เป็นประติมากรและสถาปนิกบาโรกที่มีชื่อเสียงในกรุงโรม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: บารอกและจัน โลเรนโซ แบร์นีนี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: บารอกและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ดิเอโก เบลัซเกซ

อโก เบลัซเกซ ดิเอโก โรดริเกซ เด ซิลบา อี เบลัซเกซ (Diego Rodríguez de Silva y Velázquez; 6 มิถุนายน พ.ศ. 2142 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2203) เป็นจิตรกรชาวสเปน มีผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น Las Meninas, La Venus del espejo และ La Rendición de Breda.

ใหม่!!: บารอกและดิเอโก เบลัซเกซ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: บารอกและดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: บารอกและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ใหม่!!: บารอกและประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: บารอกและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

นาฏศิลป์

การแสดงนาฏศิลป์ไทย มีท่ารำที่อ่อนช้อยและเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามลักษณะประจำถิ่น นาฏศิลป์ หมายถึงศิลปะการแสดงประกอบดนตรีเช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน เทศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ แต่ละภาคมีรายละเอียดดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: บารอกและนาฏศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ พาเคลเบล

ันน์ พาเคลเบล (Johann Pachelbel 1 กันยายน พ.ศ. 2196 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2249) เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นคีตกวีและนักเล่นออร์แกนที่สำคัญคนหนึ่งในช่วงกลางของยุคบารอค ชาวเยอรมัน ผลงานที่เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีคือ Canon in D.

ใหม่!!: บารอกและโยฮันน์ พาเคลเบล · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค

ันน์ เซบาสเตียน บาค, ปี พ.ศ. 2291 วาดโดย อีลิอาส ก็อตลอบ เฮาส์มันน์ (Elias Gottlob Haussmann) โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนัค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น "แพชชั่น" บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค เขาสร้างดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย บาคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และเบโธเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์ งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่มุม ด้วยความพิถีพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนอง เสียงประสาน หรือ เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่าง ๆ รูปแบบที่สมบูรณ์แบบ เทคนิคที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การศึกษาค้นคว้า แรงบันดาลใจอันเต็มเปี่ยม รวมทั้งปริมาณของบทเพลงที่แต่ง ทำให้งานของบาคหลุดจากวงจรทั่วไปของงานสร้างสรรค์ที่ปกติแล้วจะเริ่มต้น เจริญเติบโตถึงขีดสุด แล้วเสื่อมสลาย นั่นคือไม่ว่าจะเป็นเพลงที่บาคได้ประพันธ์ไว้ตั้งแต่วัยเยาว์ หรือเพลงที่ประพันธ์ในช่วงหลังของชีวิตนั้นจะมีคุณภาพทัดเทียมกัน.

ใหม่!!: บารอกและโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนิส เฟอร์เมร์

''สาวใส่ต่างหูมุก'' โยฮันเนิส ไรเนียส์โซน เฟอร์เมร์ (Johannes Reynierszoon Vermeer) หรือ โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer; 31 ตุลาคม พ.ศ. 2175 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2218) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ มีผลงานในด้านศิลปะบาโรก มักวาดภาพที่แสดงถึงชีวิตประจำวันธรรมดาของคน เขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเดลฟท์ และเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จพอสมควรในเมืองของเขา แต่ว่าไม่ได้ร่ำรวยเป็นพิเศษเพราะสร้างผลงานค่อนข้างน้อย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ สาวใส่ต่างหูมุก ซึ่งเป็นภาพที่รู้จักกันในชื่อ "โมนาลีซาจากทางเหนือ" เฟอร์เมร์ถูกลืมไปกว่าสองร้อยปี และกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งเมื่อนักวิจารณ์ศิลปะชื่อ ตอเร-เบือร์เกอร์ (Thoré-Bürger) เขียนบทความระบุภาพ 66 ภาพว่าเป็นของเขา (แต่มีเพียง 35 ภาพที่เป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอนว่าเป็นของเขาในปัจจุบัน) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงของเฟอร์เมร์ก็เริ่มโด่งดังขึ้น ได้รับการยกย่องว่าเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ และเป็นที่ยอมรับในเรื่องเทคนิคการใช้แสงในผลงานของ.

ใหม่!!: บารอกและโยฮันเนิส เฟอร์เมร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: บารอกและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: บารอกและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: บารอกและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Baroqueศิลปะยุคบาโรกศิลปะบาร็อคศิลปะบาโรกศิลปะแบบบาโรกสมัยบาโรกบารอคบาร็อคบาโรก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »