โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บัฟเฟอร์ข้อมูลและเมาส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บัฟเฟอร์ข้อมูลและเมาส์

บัฟเฟอร์ข้อมูล vs. เมาส์

ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ บัฟเฟอร์ข้อมูล (Data buffer) หรือที่พักข้อมูล เป็นพื้นที่บนหน่วยความจำใช้สำหรับเก็บข้อมูลชั่วคราวขณะถูกย้ายจากแหล่งหนึ่งไปอีกแหล่งหนึ่ง โดยปกติ ข้อมูลถูกเก็บในบัฟเฟอร์หลังจากรับมาจากอุปกรณ์นำเข้า (เช่น ไมโครโฟน) หรือก่อนถูกส่งไปยังอุปกรณ์ส่งออก (เช่น ลำโพง) อย่างไรก็ตาม บัฟเฟอร์อาจถูกใช้ขณะย้ายข้อมูลระหว่างการประมวลผลภายในคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบได้กับบัฟเฟอร์ในทางโทรคมนาคม บัฟเฟอร์สามารถใช้ในบริเวณหน่วยความจำที่กำหนดไว้ในฮาร์ดแวร์ หรือโดยใช้บัฟเฟอร์ข้อมูลเสมือนในซอฟต์แวร์ โดยชี้ที่ตำแหน่งในหน่วยความจำก็ได้ ในทุกกรณีนั้น ข้อมูลที่ถูกเก็บในบัฟเฟอร์ข้อมูลจะถูกเก็บในสื่อกลางเก็บข้อมูลด้วย บัฟเฟอร์ส่วนใหญ่ถูกใช้งานในซอฟต์แวร์ซึ่งมักใช้แรมที่เร็วกว่าเก็บข้อมูลชั่วคราว เนื่องจากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับฮาร์ดดิสก์ บัฟเฟอร์มักถูกใช้เมื่อมีความแตกต่างระหว่างอัตราการรับข้อมูลและอัตราการประมวลผล หรือในกรณีที่อัตราต่าง ๆ นี้มีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น สปูเลอร์ของเครื่องพิมพ์ หรือในสื่อวิดีโอออนไลน์แบบส่งต่อเนื่อง บัฟเฟอร์หนึ่งมักปรับการตั้งเวลาโดยใช้อัลกอริทึมแถวคอย (หรือเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)) พร้อมกับเขียนข้อมูลลงแถวคอยที่อัตราหนึ่ง และอ่านข้อมูลที่อีกอัตราหนึ่ง หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์. ลักษณะการทำงานของเมาส์ (แบบลูกกลิ้ง) 1: เมื่อเคลื่อนเมาส์ ลูกบอลด้านล่างจะหมุน 2: จานหมุนสองแนว จับการเคลื่อนไหวของลูกบอล 3: เมื่อจานหมุนทำการหมุน รูบริเวณขอบจานหมุนหมุนตาม 4: แสงอินฟราเรด ส่งผ่านรูจานหมุน 5: เซนเซอร์อ่านค่า และส่งเป็นค่าของความเร็วการเคลื่อนไหวในแนวแกน X และแกน Yเมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่าง ๆ กัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ (Air Mouse) ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกันการทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(สำหรับรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS/2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ ๆ กันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า เมาส์ไร้สาย (Wireless mouse) เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนู (Mouse) และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บัฟเฟอร์ข้อมูลและเมาส์

บัฟเฟอร์ข้อมูลและเมาส์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บัฟเฟอร์ข้อมูลและเมาส์

บัฟเฟอร์ข้อมูล มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ เมาส์ มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (6 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บัฟเฟอร์ข้อมูลและเมาส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »