โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บับเบิลกัมป็อป

ดัชนี บับเบิลกัมป็อป

ับเบิลกัมป็อป (Bubblegum pop หรือรู้จักในชื่อ ดนตรีบับเบิลกัม หรือสั้น ๆ ว่า บับเบิลกัม) เป็นแนวเพลงป็อปที่มีจังหวะเร็ว โดยมุ่งตลาดที่ผู้ฟังช่วงก่อนวัยรุ่นและวัยรุ่น ซึ่งอาจผลิตขึ้นโดยกลุ่มโปรดิวเซอร์ที่อยู่ในสายการผลิตนี้และมักใช้นักร้องที่ไม่เป็นที่รู้จัก เพลงบับเบิลกัมยุคคลาสสิก อยู่ในระหว่างปี..

22 ความสัมพันธ์: บอยแบนด์บิลบอร์ดพังก์ร็อกการร้องเพลงการาจร็อกการประกวดเพลงยูโรวิชันกีตาร์กีตาร์เบสสหรัฐออลมิวสิกอินดี้ป็อปทีนป็อปดรัมแมชชีนดิสโก้ป็อปป็อปพังก์ป็อปร็อกแกลมร็อกแดนซ์ป็อปแซมเพลอร์เครื่องสังเคราะห์เสียงเคป็อป

บอยแบนด์

ลู (Blue) วงบอยแบนด์จากอังกฤษ บอยแบนด์ คือวงดนตรีแนวป็อปหรือฮิปฮอป ที่ประกอบด้วยคน 3 คนขึ้นไป หรือกลุ่มนักร้องชายล้วน เช่น เทค แดท, นิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก เป็นต้น สมาชิกแต่ละคนมีความสามารถในการร้อง การเต้น และร้องเพลงที่อยู่ในกระแสหลัก และมีการแต่งตัวที่นำกระแสแฟชั่น ส่วนใหญ่สมาชิกของวงจะมาจากการออดิชั่น โดยผู้จัดการวงหรือโปรดิวเซอร์เพลง พวกเขาอาจมีทักษะในการร้อง การเต้น การแร็ป โดยส่วนมากสมาชิกจะอยู่ที่ 3 ถึง 6 คน เมอริซ สตารร์ มักจะถูกยกเครดิตว่าเป็นคนเริ่มต้นในการปั้นวงบอยแบนด์ อย่างวงนิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก โดยสตารร์ได้เคยปั้นวงเด็กอย่างวงนิว อีดิชั่น (วงวัยรุ่นผิวสี) และได้ปรับมาลองกับกลุ่มนักร้องเพลงในแนวป็อป สูตรนี้ มีผู้จัดการวงในยุโรปได้นำมาใช้เช่น ไนเจล มาร์ติน สมิธ (Nigel Martin-Smith) และ หลุยส์ วอลช์ (Louis Walsh) หากย้อนไปในอดีตในสมัยยุค 60-70 โปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ เบิร์ต ชไนเดอร์ (Bert Schneider) และ บ๊อบ ราเฟลสัน (Bob Rafelson) ได้สมาชิก 4 คนเพื่อแสดงทางรายการโทรทัศน์ เดอะ มังกีส์ ก็สามารถถูกจำกัดความว่าเป็นวงบอยแบนด์ในยุคแรกๆได้ วงเดอะ มังกีส์เริ่มก่อตั้งวงในปี 1965 และยุบวงไปในที่สุดในปี 1970 ต่อมาก็มีวงชายล้วนที่ได้รับความนิยมในยุค 60 อย่าง เดอะ บีทเทิลส์, เดอะ บีช บอยส์, บีจีส์, เดอะ แจ็คสัน ไฟฟ์, ดิ ออสมอนด์ส เป็นต้น และในปี 1977 ก็มีการฟอร์มวงบอยแบนด์แนวละติน คือวง Menudo ในช่วงต้นถึงปลายยุค 90 ซึ่งเป็นช่วงที่บอยแบนด์กำลังรุ่งเรือง ได้มีวงบอยแบนด์ประสบความสำเร็จหลายวงด้วยกัน เช่น เทค แดท, บอยโซน, แบ็คสตรีท บอยส์, เอ็นซิงค์ และ เวสท์ไลฟ์ ซึ่งทุกวันนี้บอยแบนด์เริ่มมีความคล้ายคลึงกับวงบอยแบนด์ในยุค 60 คือสมาชิกในวงสามารถเล่นดนตรี เขียนเพลง แต่งเพลงได้ เช่นวงบัสเต็ด และ แมคฟลาย เป็นต้น.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและบอยแบนด์ · ดูเพิ่มเติม »

บิลบอร์ด

ลบอร์ด เป็นนิตยสารทางด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพลงฉบับหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีลักษณะของชาร์ทเพลงและอัลบั้ม ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยนิตยสารฉบับนี้จะมีตารางจัดอันดับเพลงและอัลบั้มยอดนิยมตามแนวเพลงในแต่ละสัปดาห์ แต่ตารางอันดับเพลงซึ่งคนทั่วโลกเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ "Billboard Hot 100" ชาร์ทเพลงอันดับ 1 ของโลก เป็นการจัดอันดับเพลง 100 อันดับ โดยไม่แบ่งประเภทหรือแนวเพลง และอีกตารางคือ "Billboard 200" ซึ่งเป็นการจัดอันดับอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงสุด 200 อัลบั้มตามผลสำรว.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและบิลบอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

พังก์ร็อก

ังก์ร็อก เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่ง (โดยมากมักเรียกสั้นๆว่า พังก์) มีการเคลื่อนไหวและเป็นที่รู้จักในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 พังก์ร็อกได้พัฒนาระหว่างปี 1974 และ 1977 ในสหรัฐอเมริกา,สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย โดยมีวงอย่าง เดอะราโมนส์, เซ็กซ์พิสทอลส์ และ เดอะแคลช ที่เป็นที่รู้จักในฐานะแนวหน้าของดนตรีประเภทนี้ ลักษณะดนตรีแบบ พังก์ร็อกมีลักษณะท่วงทำนองที่รุนแรง หยาบกระด้าง ด้วยความขาดทักษะของการเล่นดนตรี ส่วนการร้องก็จะเป็น "ตะโกน"หรือ "บ่น" และแฝงนัยยะของ "การต่อต้าน " และการยกย่อง "ความเป็นเลิศ" เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตาร์ไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว,เบสไฟฟ้าและชุดกลอง มักมีการเล่นแบบ 2 คอร์ด เพลงพังก์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังก์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง พังก์ร็อกกลายเป็นกระแสนิยมหลักในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1970 แต่ความโด่งดังในที่อื่นมีในจำกัด จนกระทั่งทศวรรษที่ 80 พังก์ร็อกได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเล็กๆ ทั่วทุกมุมโลก ส่วนมากจะถูกปฏิเสธจากดนตรีกระแสหลัก ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1970 ดนตรีพังก์ร็อกได้แตกแยกแขนง ไปหลากหลายทิศทาง เช่นเพลงแนว นิวเวฟ, โพสต์พังก์ โดยหลายวงได้ทำการทดลองแนวดนตรีไปในทิศทางอื่น เช่นแนวฮาร์ดคอร์พังก์ และ ออย! และ อะนาร์โค-พังก์ เป็นต้น และพังก์ร็อกยุคใหม่ได้พัฒนาไปอีกขึ้น โดยเพลงแนวออลเทอร์นาทิฟร็อกได้รับความนิยมเหมือนตอนที่ได้พังก์ร็อกรับความนิยมในช่วงแรก.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและพังก์ร็อก · ดูเพิ่มเติม »

การร้องเพลง

แพตตี สมิธ ร้องเพลงในปี 2007 การร้องเพลง หรือ การขับร้อง คือการทำให้เกิดเสียงดนตรีจากเสียงและเสริมด้วยถ้อยคำทั้งระบบเสียงสูงต่ำและจังหวะ คนที่ขับร้องเพลงเรียกว่านักร้อง และนักร้องจะแสดงการขับร้องเพลง ซึ่งอาจจะร้องแบบอะแคปเปลา (ร้องโดยไม่ใช้ดนตรี) หรือมีนักดนตรี เครื่องดนตรีประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีตัวเดียวหรือเต็มวง การร้องนั้นส่วนใหญ่จะร้องร่วมการแสดงกับนักดนตรีกลุ่มอื่น ไม่ว่าจ่ะเป็นกลุ่มคอรัสที่ร้องในเสียงที่แตกต่างกัน หรือกลุ่มนักเล่นดนตรี อย่างเช่นวงร็อกเป็นต้น การร้องเพลงนั้นอาจร้องแบบไม่เป็นทางการ ร้องเพื่อความบันเทิง อย่างเช่นร้องระหว่างการอาบน้ำ ร้องคาราโอเกะ หรือในบางกรณีร้องอย่างเป็นทางการ เช่นร้องในระหว่างพิธีทางศาสนา หรือนักร้องอาชีพร้องเพื่อแสดงบนเวทีหรือร้องในสตูดิโอ การร้องที่มีทักษะสูงหรือร้องในระดับอาชีพ มักจะต้องอาศัยความสามารถแต่กำเนิด การเรียนการสอน และการฝึกฝน นักร้องมืออาชีพจะสร้างหนทางสู่อาชีพด้วยการเป็นนักร้องในแนวเพลงต่าง ๆ อย่างเช่น นักร้องคลาสสิก นักร้องร็อก พวกเขาต้องฝึกทักษะการร้องในแนวเพลงนั้น ทั้งจากครูสอนร้องหรือโค้ชร้อง ในอาชีพของพวก.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและการร้องเพลง · ดูเพิ่มเติม »

การาจร็อก

การาจร็อก (Garage rock) คือเพลงร็อกแอนด์โรลแบบดิบที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในปี 1963-1967 ในช่วงทศวรรษที่ 60 ไม่ได้เป็นแนวถูกเรียกชื่อว่าการาจร็อกและไม่มีชื่อเฉพาะ จนช่วงต้นยุคทศวรรษที่ 70 นักวิจารณ์บางคนได้ทำการจัดประเภทย้อนหลังของแนวเพลงพวกนี้ให้อยู่ในหมวดของพังค์ร็อก อย่างไรก็ดีการแยกแยะนี้เพื่อเป็นการแยกการาจร็อก (หรือ พังค์ยุค 60) เพื่อกันความสับสนกับ พังค์ร็อกปลายทศวรรษที่ 70 อย่างเช่น วงเซ็กซ์ พิสทอลส์และเดอะ แคลช เป็นต้น ตัวอย่างวงการาจร็อกเช่น The Kingsmen,The Gestures,The Dovers และ The Strokes เป็นต้น หมวดหมู่:ดนตรีร็อก.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและการาจร็อก · ดูเพิ่มเติม »

การประกวดเพลงยูโรวิชัน

การประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งยุโรป หรือเรียกโดยทั่วไปว่า การประกวดเพลงยูโรวิชัน คือการประกวดเพลงประจำปี ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก สหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป (European Broadcasting Union: EBU) โดยประเทศที่ร่วมเข้าแข่งขันจะเลือกเพลงและนักร้อง ประเทศละหนึ่งชุดโดยใช้ผู้แสดงไม่เกินหกคน ที่จะแสดงสดทางโทรทัศน์ โดยเพลงที่เข้าประกวดต้องเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ทั้งเนื้อร้องและทำนอง คณะกรรมการคือประชาชนในประเทศสมาชิก EBU ซึ่งอาจรวมไปถึงประเทศอิสราเอล โมร็อกโกและออสเตรเลีย แต่ไม่รวมลิกเตนสไตน์ โดยแต่ละประเทศจะใช้คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นและการโหวตจากผู้ชมทางโทรศัพท์ ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีสิทธิตัดสินหรือโหวตให้กับประเทศของตัวเอง ทุกประเทศจะได้มีคะแนนเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วยเหตุนั้นประเทศรัสเซียจึงมีคะแนนเท่ากับโมนาโก โดยประเทศที่ได้คะแนนมากที่สุดสองอันดับแรกจะได้คะแนน 12 และ 10 คะแนน ส่วนอันดับสามถึงสิบจะได้คะแนนตั้งแต่ 8 จนถึง 1 คะแนน มีผู้ชนะเพียงอันดับเดียว (ยกเว้นปี 1969 ที่มีผู้ชนะถึง 4 ประเทศ ได้แก่ สเปน สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส) เท่านั้น (หากเกิดกรณีที่มีประเทศที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากัน จะตัดสินที่จำนวนคะแนนที่ได้ เรียงจากคะแนนสูงสุดที่ได้รับไปยังคะแนนต่ำสุด หากยังเท่ากันอีก ประเทศที่มีลำดับการแสดงก่อนจะเป็นผู้ชนะ) ประเทศของผู้ชนะจะได้รับโล่หรือเหรียญรางวัล และเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดปีต่อไป โดยประเทศเจ้าภาพกับสี่ประเทศที่ออกค่าใช้จ่ายให้กับทาง EBU มากที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน จะสามารถส่งทีมเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศได้โดยอัตโนมัติ (ภายหลังได้เพิ่มอิตาลีเข้าไปด้วย ส่วนออสเตรเลียได้รับสิทธิ์เข้ารอบชิงชนะเลิศโดยอัตโนมัติเป็นกรณีพิเศษในปี 2015 ในโอกาสครบรอบ 60 ปีการประกวด) ส่วนประเทศที่เหลือทั้งหมดต้องเข้าประกวดรอบคัดเลือก ซึ่งมีสองวันและคัดประเทศเข้ารอบชิงชนะเลิศวันละสิบประเทศ ทำให้รอบชิงชนะเลิศมีประเทศเข้าประกวดทั้งหมด 25 ประเทศ ผู้ชนะเลิศจากปี 2006 จากฟินแลนด์ วงลอร์ดิ การประกวดเริ่มมีการออกอากาศทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 ถือเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีต่อเนื่องยาวที่สุดในโลก และมีผู้ชมที่ไม่ใช่การแข่งขันกีฬามากที่สุด โดยมีผู้ชมระหว่าง 100 ล้าน - 600 ล้านคน ออกอากาศทั่วทั้งยุโรป และยังแพร่ภาพใน ออสเตรเลีย แคนาดา อียิปต์ ฮ่องกง อินเดีย จอร์แดน เกาหลี นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ และ สหรัฐอเมริกา ถึงแม้ประเทศเหล่านี้จะไม่ได้ร่วมแข่งขันก็ตาม ตั้งแต่ปี 2000 การแข่งขันได้มีการแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต และในปี 2015 สหภาพฯ ได้เปิดช่องทางการถ่ายทอดสดผ่านยูทูบ ประเภทของเพลงในการแข่งขันมีความหลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็น อาหรับ, ดนตรีเคลติก, แดนซ์, โฟล์ก, ละติน, นอร์ดิก, ป็อป-แร็ป, ร็อก และอื่นๆ ศิลปินดังที่ชนะเลิศจากรายการนี้ เช่น เซลีน ดิออน (สวิสเซอร์แลนด์) ปี 1988, แอ็บบ้า (สวีเดน) ปี 1974, ดานา อินเตอร์เนชันแนล (อิสราเอล) ปี 1998, ลอร์ดิ (ฟินแลนด์) ปี 2006, มาริยา เชริโฟวิช (Marija Šerifović) จากประเทศเซอร์เบีย ปี 2007, ดิมา บิลาน (Dima Bilan) จากรัสเซีย ปี 2008 และ อเล็กซานเดอร์ รืยบัค (Alexander Rybak) จากนอร์เวย์ ปี 2009 และเลนา เมเยอร์-ลันดรุท (Lena Meyer-Landrut) จากเยอรมนี ปี 2010 และเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2005 ได้มีการจัดฉลองพิเศษครบรอบ 50 ปี ทางสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป ก็ได้คัดเลือกเพลงดังในแต่ละทศวรรษ มาจัดโชว์แข่งขันกัน โดยเพลงที่ชนะคือเพลง Waterloo ขับร้องโดยวง Abba ตัวแทนจากสวีเดนในปี 1974.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและการประกวดเพลงยูโรวิชัน · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์

กีตาร์ (guitar) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์ ยอร์ช กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า Luthier.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและกีตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์เบส

ป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า), electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสมีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลัก ๆ ในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติ) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่าง ๆ ก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่ เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่าง ๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่น ๆ อีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย, 9 สาย เป็นต้น.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและกีตาร์เบส · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ออลมิวสิก

ออลมิวสิก หรือก่อนหน้านี้เรียก ออลมิวสิกไกด์ เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับดนตรี มีเจ้าของคือออลมีเดียไกด์ ก่อตั้งในปี 1991 โดยไมเคิล เออร์เลไวน์ เพื่อเป็นไกด์ให้กับผู้บริโภค ออกหนังสือใช้สำหรับอ้างอิงในปี 1992 และหลังจากนั้นเมื่อมีเวิลด์ไวด์เว็บขึ้น ก็มีในโกเฟอร์ เว็บไซต์ออลมิวสิก.คอม เปิดตัวเมื่อปี 1995 เพื่อเป็นเว็บสาธิตเกี่ยวกับฐานข้อมูลด้านลิขสิทธิ์เพลง และข้อมูลอื่น ๆ มากมาย ออลมิวสิกอ้างว่าเป็นฐานข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเพลง 6 ล้านเพลง รวมถึงมีภาพปก ซึ่งมากกว่า 5 แสนปกทำการสแกนขึ้น ออลมิวสิกให้ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแคตาล็อก ประวัติศิลปิน การวิจารณ์อัลบั้ม แนวเพลง ศิลปินใกล้เคียง เพลย์ลิสต์และข้อมูลของไอทูนส์มิวสิกสโตร์, ซูนมาร์เก็ตเพลส, อีมิวสิก, AOL, ยาฮู!, อเมซอน.คอม และเว็บสโตร์เกี่ยวกับเพลงต่าง.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและออลมิวสิก · ดูเพิ่มเติม »

อินดี้ป็อป

อินดี้ป็อป (Indie pop) เป็นแนวดนตรีแนวออลเทอร์นาทิฟร็อกเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 กับต้นกำเนิดจากวงโพสต์-พังก์ สกอตแลนด์ของค่ายโพสต์การ์ดเรคคอร์ด ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 อย่างเช่นวงออเรนจ์จูซ โจเซฟเค และศิลปินอินดี้ที่โดดเด่นในแถบสหราชอาณาจักรอย่างวงเดอะสม.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและอินดี้ป็อป · ดูเพิ่มเติม »

ทีนป็อป

ทีนป็อป (Teen pop) เป็นแนวดนตรีของเพลงป็อปที่สร้างสรรค์ขึ้นมา มุ่งเน้นด้านการตลาดสำหรับวัยรุ่น และวัยก่อนวัยรุ่น ทีนป็อปครอบคลุมเพลงสไตล์ ป็อป, แดนซ์, อาร์แอนด์บี, ฮิปฮอป และ ร็อก.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและทีนป็อป · ดูเพิ่มเติม »

ดรัมแมชชีน

รัมแมชชีน Yamaha RY30 ดรัมแมชชีน (Drum machine) เป็นเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่จำรองเสียงกลอง ฉาบ เครื่องเคาะจังหวะอื่นๆ และเบสไลน์ ดรัมแมชชีนมักมีความเกี่ยวข้องกับดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ดนตรีเฮาส์ แต่ยังรวมถึงแนวเพลงอื่นๆ อีกมากมาย ยังถูกใช้แทนมือกลองที่ไม่ว่างหรือการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างมือกลองที่มีค่าจ้างแพง นอกจากนี้ดรัมแมชชีนในปัจจุบันมีเสียงหลายรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน และช่วยให้ผู้ใช้แต่งจังหวะและการเขียนที่ไม่ซ้ำกันด้วย ที่ใช้งานไม่ยากและง่ายเหมือนคนตีกลองของจริง ในปัจจุบันดรัมแมชชีนยังเป็นซีเควนเซอร์ในรูปแบบแซมเพิล (rompler) หรือ ซินธิไซเซอร์ที่สังเคราะห์เสียงกลองจากกลอง.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและดรัมแมชชีน · ดูเพิ่มเติม »

ดิสโก้

ก้ (Disco) เป็นแนวเพลงประเภทหนึ่ง สาขาย่อยของดนตรีแดนซ์ซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ที่ผสมผสานแนวฟังก์กับโซลเข้าด้วยกัน ดิสโก้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วยยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ตอนกลางถึงปลาย ศิลปินแนวดิสโก้ที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น เช่น ดอนนา ซัมเมอร์, เดอะแจ็กสันไฟฟ์, แบร์รี ไวต์, บีจีส์, บอนนี เอ็ม. และแอ็บบ้า เป็นต้น ดิสโก้ได้ลดความนิยมไปในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและดิสโก้ · ดูเพิ่มเติม »

ป็อป

นตรีป็อป หรือ เพลงป็อป (pop music พอปมิวสิก) เป็นประเภทของเพลงสมัยนิยมที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950S.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและป็อป · ดูเพิ่มเติม »

ป็อปพังก์

ป็อปพังก์ (Pop punk) ในบางครั้งเรียกพังก์ป็อป เป็นแนวเพลงที่รวม ผสมองค์ประกอบของพังก์ร็อกเข้ากับดนตรีป็อป ให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น ในครั้งแรกที่มีการใช้คำว่าป็อปพังก์ ก็ยังไม่มีความชัดเจนในการใช้ แต่เพลงพังก์ร็อกที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงป็อปก็เกิดขึ้นในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 1970 โดยวงอย่าง เดอะราโมนส์, บัซค็อกซ์, เดอะแจม, เดอะแคลช, ดิอันเดอร์โทนส์ และ เดสเซนเดนต์ส วงแบดรีลิเจียน ที่เริ่มใน 1980 เป็นวงในยุคแรก ๆ ที่เล่นในแนวเพลงนี้ จนบางครั้งเรียกว่าเป็น มาเฟียของป็อปพังก์ จนกลางยุค 1990 วงจากแคลิฟอร์เนียตอนใต้ก็มีวงอย่าง กรีนเดย์, ดิออฟสปริงส์ และแรนซิด ประสบความสำเร็จไปทั่วโลก.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและป็อปพังก์ · ดูเพิ่มเติม »

ป็อปร็อก

ป็อปร็อก คือแนวเพลงที่ผสมระหว่างแนวป็อปกับร็อก จากหนังสือ American Popular Music อธิบายคำว่าป็อปร็อกไว้ว่า "คือดนตรีร็อกหลากหลายในจังหวะเร็ว เช่นศิลปินอย่าง เอลตัน จอห์น, พอล แม็กคาร์ทนีย์, เอเวอร์รีบราเธอร์ส, ร็อด สจ๊วต, ชิคาโก, ปีเตอร์ แฟรมป์ตัน" ส่วนนักวิจารณ์เพลงที่ชื่อ จอร์จ สตารโรสตินอธิบายว่า คือ แนวเพลงย่อยของป็อป ที่ใช้ท่อนติดหูที่มีการใช้กีตาร์เป็นหลัก ส่วนเนื้อเพลงป็อปร็อกจะดูรองกว่าด้านดนตรี ฟิลิป ออสแลนเดอร์ แสดงความแตกต่างระหว่างป็อปกับร็อกว่า ป็อปร็อกจะดูชัดเจนในอเมริกามากกว่าในสหราชอาณาจักร เขาอ้างว่า ในอเมริกา ป็อปมีรากฐานมาจากเพลงฮัมของคนขาวอย่างเช่น เพอร์รี โคโม ส่วนร็อกจะได้รับอิทธิพลมาจากคนแอฟริกัน-อเมริกัน อย่างดนตรีร็อกแอนด์โรล ออสแลนเดอร์ชี้ว่า แนวความคิดของป็อปร็อกคือการผสมผสานเพลงป็อปกับร็อกที่ดูจะตรงข้ามกัน นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการกล่าวว่า เพลงป็อป จะดูไม่จริง ดูเย้ยหยัน ทำเพื่อการค้า ดูเป็นสูตรสำเร็จของการบันเทิง ในทางตรงข้าม ร็อกแสดงความจริง ความจริงใจ ปฏิเสธการค้าขาย โดยเน้นเนื้อหาการแต่งเพลงโดยนักร้อง และวงดนตรี ที่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับผู้ฟัง ผู้ดู.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและป็อปร็อก · ดูเพิ่มเติม »

แกลมร็อก

แกลมร็อก (Glam rock) เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่งที่พัฒนาในสหราชอาณาจักรในต้นทศวรรษที่ 1970s ซึ่งนักร้องและวงดนตรีมักจะนิยมในการ "แต่งหน้า" "ทำผม" และแต่งตัวด้วยชุดที่ดูแปลกประลาด แกลมร็อกที่เป็นที่รู้จักและมีชื่อดังอย่างเช่น เดวิด โบวี, หมวดหมู่:ดนตรีร็อก หมวดหมู่:เพศภาวะ.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและแกลมร็อก · ดูเพิ่มเติม »

แดนซ์ป็อป

แดนซ์ป็อป (Dance-pop) เป็นแนวเพลงประเภทอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์และแนวเพลงย่อยของป็อป เกิดขึ้นหลังยุคดิสโก้ ราวปี..

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและแดนซ์ป็อป · ดูเพิ่มเติม »

แซมเพลอร์

AKAI MPC2000 sampling sequencer นักดนตรีใช้ Yamaha SU10 Sampler แซมเพลอร์ (sampler) เป็นเครื่องดนตรีอีเลคทรอนิกส์ มีความใกล้เคียงกับเครื่องสังเคราะห์เสียง แทนที่จะใช้เสียงที่ได้จากการถูบนเทิร์นเทเบิล แซมเพลอร์เริ่มจากการนำหลาย ๆ เพลง (หรือเรียกว่า แซมเพิล) จากเสียงหลาย ๆ เสียงนำมาใส่โดยผู้ใช้ และเล่นกลับไปมาโดยขึ้นอยู่กับการปรับแต่งเครื่องดนตรี และเพราะว่าแซมเพิลมักจะเก็บไว้ใน RAM ทำให้การเข้าถึงข้อมูลจึงเร็ว การใช้เครื่องแซมเพลอร์ กลายเป็นสิ่งสำคัญในดนตรีฮิปฮอป ดนตรีอีเลกโทรนิกส์ และดนตรีอาวองต์การ์ด แซมเพลอร์มีส่วนร่วมในการตั้งค่าของเครื่องสังเคราะห์เสียง และสามารถปรับเปลี่ยนได้หลายแบบ แซมเพลอร์มีความสามารถแบบโพลีโฟนิก ที่พวกเขาสามารถเล่นมากกว่า 1 โน้ตได้ในเวลาเดียวกัน.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและแซมเพลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสังเคราะห์เสียง

Synthesizer เครื่องสังเคราะห์เสียง หรือ ซินธิไซเซอร์ (synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับแผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการสุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์ ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและเครื่องสังเคราะห์เสียง · ดูเพิ่มเติม »

เคป็อป

ป็อป (K-pop) หรือเพลงป็อปเกาหลี โดยเฉพาะเพลงจากเกาหลีใต้ ที่มีศิลปินทั้งกลุ่มและเดี่ยวมากมายอย่างเช่น เอพิงก์ เจบีเจ เอ็กโซ (วงดนตรี), BTS, GOT7,แบล็กพิงก์, ชินฮวา, โบอา, บิกแบง, เรน, เซเว่น, ทงบังชินกี,ซูเปอร์จูเนียร์, โซนยอชิแด,ซิสตาร์,ซีเอ็นบลู,มิสเอ, คารา, วันเดอร์เกิลส์, ชายนี่,ก๊อตเซเว่น, ทูพีเอ็ม, เอฟ (เอกซ์), ที-อาร่า, อินฟินิท‚ บีสท์,อีเอกซ์ไอดี,บีเอพี, ซีเครต, โฟร์มินิต, บราวน์อายด์เกิลส์, จีเฟรนด์, เรดเวลเวต (วงดนตรี),เซเว่นทีน,วอนนาวัน,แอสโตร, บีทูบี นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่นที่ได้รับความนิยมด้วย เช่น จีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์, ไทย และประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนนี้รวมถึงประเทศในแถบทวีปอเมริกาใต้ด้วย อาทิเช่น อาร์เจนตินา, บราซิล, ชิลี เป็นต้น ความนิยมในดนตรีเกาหลีมักพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในการเติบโตของความคลั่งไคล้ในกระแสเกาหลี ที่นิยมในวัฒนธรรมเกาหลีของชาวเอเชีย ในปัจจุบัน มีการพยายามสร้างนักร้องเคป็อปให้เป็นไอดอล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลีวิเคราะห์ว่า การที่วงการเคป็อปได้สร้างนักร้องให้เป็นไอดอล ทำให้ต้องเน้นที่ภาพลักษณ์มากกว่าผลงานเพลง และจากเหตุนี้ทำให้หลายวงมีความขัดแย้งและชิงดีชิงเด่นกันเองระหว่างสมาชิก หากมีคนใดคนหนึ่งโดดเด่นกว่าคนอื่น ทำให้ต้นสังกัดบางบริษัทต้องเฉลี่ยรายได้ให้เท่าเทียมกัน.

ใหม่!!: บับเบิลกัมป็อปและเคป็อป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bubblegum pop

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »