โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บัญญัติตะวันตกและเรื่องเล่า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บัญญัติตะวันตกและเรื่องเล่า

บัญญัติตะวันตก vs. เรื่องเล่า

มหาตำราของโลกตะวันตก''” (Great Books of the Western World) เป็นความพยายามในการรวบรวมบัญญัติตะวันตกเข้าเป็นชุดเดียวกันที่มีด้วยกันทั้งหมด 60 เล่ม บัญญัติตะวันตก (Western canon) เป็นคำที่หมายถึงตำราที่ถือว่าเป็น “บัญญัติ” หรือ “แม่แบบ” ของวรรณกรรมตะวันตก และที่กว้างกว่านั้นก็จะรวมทั้งศิลปะที่มีอิทธิพลในการเป็นพื้นฐานในการวิวัฒนาการของรูปแบบของวัฒนธรรมตะวันตก งานเหล่านี้เป็นประมวลงานที่ถือว่ามี “คุณค่าอันประมาณมิได้ทางด้านศิลปะ” บัญญัติดังกล่าวมีความสำคัญต่อทฤษฎี “การศึกษาชั่วอมตะ” (Educational perennialism) และ การวิวัฒนาการของ “วัฒนธรรมระดับสูง” แม้ว่าบัญญัติตะวันตกเดิมจะถือกันว่าเป็นสิ่งสำคัญ แต่กลายมาเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในทางปฏิบัติการโต้แย้งและความพยายามที่จะให้คำนิยามของบัญญัติมักจะลงเอยด้วยรายชื่อหนังสือประเภทต่างๆ ที่รวมทั้ง: วรรณคดีที่รวมทั้ง กวีนิพนธ์, นวนิยาย และ บทละคร, งานเขียนอัตชีวประวัติและจดหมาย, ปรัชญา และประวัติศาสตร์ และหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์อีกสองสามเล่มที่ถือว่ามีความสำคัญ. รื่องเล่า (narrative หรือ story) คือบันทึกที่เกี่ยวข้อกับเหตุการณ์ เรื่องจริง หรือ เรื่องแต่ง ที่อยู่ในรูปแบบการเขียนหรือคำพูด หรือภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว เรื่องเล่าสามารถแบ่งแยกเรื่องราวได้หลายประเภท ตั้งแต่ สารคดี (เช่น สารคดีเรื่องสร้างสรรค์, ชีวประวัติ, ข่าว, บทกวี และประวัติศาสตร์นิพนธ์), เรื่องแต่งจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ (เช่น เกร็ดประวัติ, ตำนาน, นิทานปรัมปรา, นวนิยายทางประวัติศาสตร์) และเรื่องแต่งขึ้นมา (เช่น งานประพันธ์ในรูปแบบร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เช่นเรื่องสั้น นิยาย กวีนิพนธ์เล่าเรื่องและเพลง และเรื่องเล่าในจินตนาการ ที่อาจอยู่ในรูปแบบของตัวหนังสือ เกม การแสดงสด หรือบันทึกการแสดง) เรื่องเล่าอาจพบได้ในทุกรูปแบบของการสร้างสรรค์งานของมนุษย์ ศิลปะ การบันเทิง ที่รวมถึง ถ้อยคำพูด งานประพันธ์ ละครเวที ดนตรีและเพลง การ์ตูน ข่าว ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์และวิดีโอ วิดีโอเกม วิทยุ เกม การละเล่น และการแสดง เช่นเดียวกับในบางงาน จิตรกรรม ประติมากรรม การวาดเส้น การถ่ายภาพ และทัศนศิลป์แขนงอื่น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บัญญัติตะวันตกและเรื่องเล่า

บัญญัติตะวันตกและเรื่องเล่า มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กวีนิพนธ์ดนตรี

กวีนิพนธ์

กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.

กวีนิพนธ์และบัญญัติตะวันตก · กวีนิพนธ์และเรื่องเล่า · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ดนตรีและบัญญัติตะวันตก · ดนตรีและเรื่องเล่า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บัญญัติตะวันตกและเรื่องเล่า

บัญญัติตะวันตก มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ เรื่องเล่า มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.85% = 2 / (30 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บัญญัติตะวันตกและเรื่องเล่า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »