เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

บัชชาร อัลอะซัดและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บัชชาร อัลอะซัดและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

บัชชาร อัลอะซัด vs. รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

ัชชาร ฮาฟิซ อัลอะซัด (بشار حافظ الأسد; เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2508) เป็นประธานาธิบดีซีเรีย ผู้บัญชาการทหารกองทัพซีเรีย เลขาธิการพรรคบะอัษซึ่งเป็นพรรครัฐบาล และเลขาธิการภูมิภาคของสาขาพรรคในประเทศซีเรีย ในปี 2543 เขาสืบทอดตำแหน่งจากฮาฟิซ อัลอะซัด บิดา ผู้ปกครองประเทศซีเรียเป็นเวลา 30 ปีจนถึงแก่อสัญกรรม เขาได้รับความเห็นชอบจากเขตเลือกตั้งซีเรียสองครั้งในปี 2543 และ 2550 ในการลงประชามติโดยไร้คู่แข่ง เดิมประชาคมนานาชาติมองเขาว่าเป็นนักปฏิรูปมีศักยะ แต่สหรัฐ สหภาพยุโรปและส่วนใหญ่ของสันนิบาตอาหรับเรียกร้องให้เขาลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีหลังข้อกล่าวหาเขาสั่งปราบปรามและการล้อมทางทหารต่อผู้ชุมนุมอาหรับสปริง จนนำสู่สงครามกลางเมืองซีเรีย During the Syrian Civil War, an inquiry by the United Nations reported finding evidence which implicated Assad in war crimes. รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้" สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บัชชาร อัลอะซัดและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

บัชชาร อัลอะซัดและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สหประชาชาติสงครามกลางเมืองซีเรียอาชญากรรมสงคราม

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

บัชชาร อัลอะซัดและสหประชาชาติ · รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองซีเรีย

งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

บัชชาร อัลอะซัดและสงครามกลางเมืองซีเรีย · รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมสงคราม

อาชญากรรมสงคราม (war crime) คือ การกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน, การจับเป็นตัวประกัน, การล่อลวง, การข่มขืนกระทำชำเรา, การใช้เด็กทางทหาร, การปล้นทรัพย์, การไม่ไว้ชีวิต, และการละเมิดอย่างร้ายแรงซึ่งหลักการแยกแยะและหลักความได้สัดส่วน เป็นต้นว่า การทำลายประชากรพลเรือนด้วยระเบิดยุทธศาสตร์ แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่างรัฐอธิปไตย การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่ประมวลกฎหมายลีแบร์ในสหรัฐเมื่อ..

บัชชาร อัลอะซัดและอาชญากรรมสงคราม · รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บัชชาร อัลอะซัดและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

บัชชาร อัลอะซัด มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.12% = 3 / (23 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บัชชาร อัลอะซัดและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: