โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บะกุมะสึและไซโง ทะกะโมะริ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บะกุมะสึและไซโง ทะกะโมะริ

บะกุมะสึ vs. ไซโง ทะกะโมะริ

กุมะสึ ("ปลายยุคบะกุฟุ") เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาปลายยุคเอะโดะซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ ชื่อดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นจากเหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยรวมระหว่างปี.. ซโง ทะกะโมะริ (23 มกราคม ค.ศ. 1828 - 24 กันยายน ค.ศ. 1877) เป็นหนึ่งในซามูไรผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น มีชีวิตอยู่ระหว่างปลายยุคเอะโดะ (บะคุมะสึ) ถึงช่วงต้นยุคเมจิ ผู้ได้รับการขนานนามว่า "ซามูไรที่แท้จริงคนสุดท้าย" ("the last true samurai'") ไซโงมีชื่อในวัยเด็กว่า "ไซโง โคะคิชิ" และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า "ไซโง ทะกะโมะริ" เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้เขายังใช้ชื่อในงานเขียนกวีนิพนธ์ว่า "ไซโง นันชู".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บะกุมะสึและไซโง ทะกะโมะริ

บะกุมะสึและไซโง ทะกะโมะริ มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยุคเมจิยุคเอะโดะรัฐบาลเอโดะจักรพรรดิเมจิตระกูลโทกูงาวะแคว้นซัตสึมะแคว้นโชชูโชกุนโทกูงาวะ โยชิโนบุ

ยุคเมจิ

มจิ เป็นยุคสมัยของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912 ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ ยุคใหม่ (Modern Era) ของญี่ปุ่น ยุคเมจิเริ่มต้นหลังจากที่กลุ่มหัวก้าวหน้าในแคว้นโชชูและแคว้นซะสึมะ ผนึกกำลังกันล้มล้างระบอบโชกุนและระบบซะมุไร หลังจากล้มระบอบโชกุนได้แล้ว ก็สถาปนารัฐธรรมนูญและรัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ จักรพรรดิทรงย้ายเมืองหลวงจากเคียวโตะไปยังเอโดะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว คณะรัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิได้ร่วมมือกันปฏิรูปญี่ปุ่นในทุกๆด้าน มีการทำสงครามกับจักรวรรดิรัสเซียและมีชัยเหนือรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจในขณะนั้น รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิ์และมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ในกรุงโตเกียว มีการสถาปนาสภานิติบัญญัติในสมเด็จพระจักรพรรดิขึ้นมาตามแบบอย่างของรัฐสภาอังกฤษ อันประกอบด้วยสภาขุนนาง (สภาสูง) และสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ที่เหล่าขุนนางในสภาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเก็นโรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในระบบการเมือง มีการประกาศยกเลิกการครอบครองที่ดินในระบบศักดินานำที่ดินแจกจ่ายให้ชาวไร่ชาวนาทรงสร้างระบบการคมนาคมทั้งถนน ทางรถไฟ ระบบขนส่งทางทะเล เพื่อเสริมสร้างการค้าภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบไปรษณีย์ การเงินและธนาคาร และวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสนับสนุนเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน..

บะกุมะสึและยุคเมจิ · ยุคเมจิและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอะโดะ

อะโดะ หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai) ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน..

บะกุมะสึและยุคเอะโดะ · ยุคเอะโดะและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

บะกุมะสึและรัฐบาลเอโดะ · รัฐบาลเอโดะและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเมจิ

มเด็จพระจักรพรรดิมุสึฮิโตะ (3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1853 — 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912) พระนามตามรัชสมัยคือ จักรพรรดิเมจิ ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 122 ของประเทศญี่ปุ่น ครองราชย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1867 ด้วยพระชนมายุเพียง 14 พรรษาจนเสด็จสรรคต ญี่ปุ่นได้ก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจในรัชสมัยของพระอง.

จักรพรรดิเมจิและบะกุมะสึ · จักรพรรดิเมจิและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลโทกูงาวะ

ตระกูลโทกูงาวะ เป็นตระกูลไดเมียวที่ทรงอำนาจของญี่ปุ่นในอดีต เป็นเชื้อสายของ จักรพรรดิเซวะ ผ่านราชสกุลฟุจิวะระและราชสกุลมินะโมโต..

ตระกูลโทกูงาวะและบะกุมะสึ · ตระกูลโทกูงาวะและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นซัตสึมะ

งสีของแคว้นซัตสึมะในสงครามโบะชิน แคว้นซัตสึมะ เคยเป็นหนึ่งในแคว้นไดเมียวที่ทรงอำนาจที่สุดในสมัยรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ หรือสมัยเอะโดะของญี่ปุ่นในอดีต มีบทบาทสำคัญในสมัยการปฏิรูปเมจิ ทั้งยังครองตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลเมจิหลังการปฏิรูปด้วยเช่นกัน ตลอดอายุของแคว้นซัตสึมะ แคว้นนี้ได้ถูกปกครองโดยไดเมียวระดับโทะซะมะ จากตระกูลชิมะซุ หลายต่อหลายรุ่น อาณาเขตของแคว้นกินพื้นที่ด้านใต้ของเกาะคีวชู ในบริเวณอดีตจังหวัดซัตสึมะ อดีตจังหวัดโอซุมิ และด้านตะวันตกของอดีตจังหวัดฮีวงะ มีอาณาจักรรีวกีว เป็นประเทศราช ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นจังหวัดคาโงชิมะ ส่วนที่เหลือเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิยะซะกิ แคว้นซัตสึมะ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า แคว้นคาโงชิมะ มีศุนย์กลางการปกครองที่ปราสาทคาโงชิมะ ในเมืองคาโงชิมะ แคว้นซัตสึมะมีผลผลิตมวลรวมของแคว้นคิดเป็นหน่วยโคกุดะกะ (หน่วยวัดผลผลิตข้าวทั้งหมดแต่ละแคว้นในระบบศักดินาสมัยเอะโดะ สะท้อนถึงอำนาจและความมั่งคั่งของแคว้น ดังเช่น GDP ในปัจจุบัน) อยู่ที่ 770,000 โคกุ สูงเป็นอันดับสองรองจากแคว้นคะกะ ตระกูลชิมะซุ ปกครองแคว้นซัตสึมะเป็นเวลาประมาณ 4 ศตวรรษ นับแต่ก่อตั้งแคว้นในต้นยุคเอะโดะ จนถึงศตวรรษที่ 16 กินอาณาเขตเกือบทั้งเกาะคีวชู แม้ว่าจะถูกโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ปราบปรามในยุทธการคีวชู ค.ศ. 1587 เพื่อปราบปรามและควบคุมไดเมียวตามหัวเมืองต่างๆ ตระกูลชิมะซุก็ยังคงเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลสูงสุดเหนือเกาะต่างๆรอบข้างเหมือนเดิม ในระหว่างศึกเซกิงะฮะระ ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ ปิดฉากยุคเซงโงะกุ อันเป็นยุคแห่งไฟสงครามในค.ศ. 1600 ตระกูลชิมะซุก็ยังคงตั้งมั่นที่แคว้นซัตสึมะเพื่อรวบรวมและป้องกันกำลังของตัวเอง ในขณะที่ตระกูลอื่นๆถูกกำจัดไปในสงครามครั้งนี้ ตระกูลชิมะซุเป็นหนึ่งในไม่กี่ตระกูลที่สามารถรักษากองกำลังของตนเองเพื่อต่อต้านกองทัพของโชกุน ที่พยายามครอบครองดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมดได้ ต่างกับอีกหลายตระกูลที่ยอมแพ้สละแว่นแคว้นที่ตนเองปกครองให้กับโชกุนในยุคเอะโดะ ตระกูลชิมะซุก็ยังคงดำรงสถานะความเป็นแคว้นของซัตสึมะ และอำนาจในการปกครองไว้ได้ตราบจนสิ้นยุคโชกุน.

บะกุมะสึและแคว้นซัตสึมะ · แคว้นซัตสึมะและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นโชชู

งของกองทัพแคว้นโชชูใน สงครามโบะชิง แคว้นโชชู เป็นแคว้นศักดินาของญี่ปุ่นในยุคเอะโดะDeal, William E. (2005).

บะกุมะสึและแคว้นโชชู · แคว้นโชชูและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

บะกุมะสึและโชกุน · โชกุนและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ โยชิโนบุ

ทกูงาวะ โยชิโนบุ (28 ตุลาคม ค.ศ. 1837 - 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913) เป็นโชกุนลำดับที่ 15 และโชกุนคนสุดท้ายของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะแห่งประเทศญี่ปุ่น โยชิโนบุเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะมาหลายสมัย และได้เคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปรัฐบาลโชกุนซึ่งกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมถอย แต่จบลงด้วยความล้มเหลวอย่างรุนแรงยิ่ง ภายหลังเมื่อสละตำแหน่งและถวายอำนาจของโชกุนคืนแก่จักรพรรดิเมจิแล้ว โยชิโนบุได้เกษียณตนเองและใช้ชีวิตโดยหลบเลี่ยงจากสายตาของสาธารณชนตลอดช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ จนกระทั่งเสียชีวิตด้วยวัย 76 ปี นับว่าเป็นโชกุนผู้มีอายุยืนที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น.

บะกุมะสึและโทกูงาวะ โยชิโนบุ · โทกูงาวะ โยชิโนบุและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บะกุมะสึและไซโง ทะกะโมะริ

บะกุมะสึ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไซโง ทะกะโมะริ มี 60 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 11.25% = 9 / (20 + 60)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บะกุมะสึและไซโง ทะกะโมะริ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »