เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

บลูส์ร็อกและสตีวี เรย์ วอห์น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บลูส์ร็อกและสตีวี เรย์ วอห์น

บลูส์ร็อก vs. สตีวี เรย์ วอห์น

ลูส์ร็อก (Blues-rock) เป็นแนวเพลงผสมผสานระหว่างการแสดงคีตปฏิภาณแบบบลูส์ บนคอร์ดแบบ 12 บาร์บลูส์และการแจมแบบบูกี้กับสไตล์ร็อกแอนด์โรล โดยแกนหลักของบลูส์-ร็อก คือเครื่องดนตรีกีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสและกลองชุด ซึ่งกีตาร์ไฟฟ้าจะขยายผ่านตู้แอมไฟฟ้า ให้มีลักษณะรุนแรงมากขึ้น แนวเพลงนี้เริ่มพัฒนาในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่ปิเอโร สการัฟฟีเรียกว่า "เป็นแนวเพลงริทึมแอนด์บลูส์ที่เล่นโดยนักดนตรีขาวชาวยุโรป" วงดนตรีอังกฤษอย่างเช่น เดอะฮู, เดอะยาร์ดเบิร์ดส, เลดเซปเพลิน, ดิแอนนิมอลส์, ครีม และเดอะโรลลิงสโตนส์ ได้ทดลองดนตรีดังกล่าวจากศิลปินบลูส์ชาวอเมริกัน อย่าง ฮาวลิน วูล์ฟ, โรเบิร์ต จอห์นสัน, จิมมี ลีดและมัดดี วอเตอร์ส ขณะที่วงบลูส์ร็อกยุคแรก "จะพยายามเล่นเพลงแจ๊ซยาว ๆ ที่มีลักษณะคีตปฏิภาณ อย่างเห็นได้ชัด" โดยคริสต์ทศวรรษ 1970 บลูส์ร็อกเริ่มหนักขึ้นกับเน้นท่อนริฟฟ์"Blues-rock," Allmusic.com (Accessed September 29 2006), และในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เส้นแบ่งระหว่างบลูส์ร็อกและฮาร์ดร็อกเกือบจะไม่เห็น วงแนวนี้บันทึกเสียงอัลบั้มแนวร็อก และในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 ก็เริ่มกลับมาที่รากบลูส์เดิม และมีศิลปินอย่าง "เฟบูลัสธันเดอร์เบิร์ดสและสตีวี เรย์ วอแกน สร้างชื่อเสียงวงการร็อกขึ้น". ตีเฟน "สตีวี" เรย์ วอห์น (Stevie Ray Vaughan) (เกิด 3 ตุลาคม 1954 - 27 สิงหาคม 1990) เป็นนักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์เพลง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักร้องและนักกีตาร์ ดนตรีเขานำแนวบลูส์มาผสมกับจังหวะโซโลกีตาร์แบบฮาร์ดร็อกและเอกลักษณ์การแต่งตัวที่ชอบสวมหมวกคาวบอย ถึงแม้ว่าเขาจะโลดแล่นในวงการอาชีพดนตรีเพียง 7 ปี วอห์นก็มักได้รับการสรรเสริญในฐานะหนึ่งในผู้มีที่มีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์ไฟฟ้าในประวัติศาสตร์เพลงบลูส์ และหนึ่งในผู้ฟื้นฟูแนวบลูส์ให้กับมาโดดเด่นอีกครั้งในช่วงยุค 80 ออลมิวสิก (AllMusic) ได้บรรยายเขาว่า "นักกีตาร์ผู้กระตุ้นบลูส์แห่งยุค 80 กับทักษะที่ยังคงสัมผัสได้แม้เขาจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม" วอห์นเกิดและเติบโตในดัลลัส รัฐเท็กซัส เขาได้หัดเล่นกีตาร์ตั้งแต่อายุเพียง 7 ปี ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพี่ชายของเขา จิมมี ในปี 1971 เขาได้ออกจากโรงเรียนมัธยมและย้ายไปอยู่ที่อัสตินในปีต่อมา ที่ซึ่งเขาได้เล่นดนตรีกับอีกหลายๆวง ทั้งร่วมกับวงของมาร์ก เบนโน (Marc Benno), เดอะไนท์คราวเลอรส์ (The Nightcrawlers) และในเวลาต่อมาร่วมกับเดนนี ฟรีแมน (Denny Freeman)ในคอบลัส ซึ่งเขาได้ร่วมงานกันในช่วงปลาย 1977 วอห์นได้ก่อตั้งวงของเขาขึ้นเองในชื่อ ทริปเปิลทรีดรีวิว(Triple Threat Revue) ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น ดับเบิลทรัพเบิล (Double Trouble) ภายหลังการจ้างมือกลองคริสต์ เลย์ตัน (Chris Layton) และมือเบสทอมมี แซนนอน (Tommy Shannon) เขาเริ่มได้รับชื่อเสียงภายหลังจากการแสดงที่เทศกาลดนตรีแจ๊สมองโทรซ์ (Montreux Jazz Festival) ในปี 1982 และในปี 1983 เขาก็ได้เปิดตัวสตูดิโออัลบั้ม เท็กซัสฟลัด (Texas Flood) ซึ่งสามารถขึ้นชาร์ทในอันดับที่ 38 10 ซิงเกิลจากอัลบั้มประสบความสำเร็จในทางตลาดนับตั้งแต่เปิดตัวซึ่งสามารถจำหน่ายได้มากกว่าครึ่งล้านก็อปปี้ ในช่วงปลาย 1986 วอห์นได้คิดที่จะจัดทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับเจฟฟ์ เบคในปี 1989 และโจ ค็อกเกอร์ในปี 1990 ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกในวันที่ 27 สิงหาคม 1990 ด้วยอายุเพียงแค่ 35 ปี วอห์น ได้รับแรงบันดาลทางดนตรีมาจากวงบลูส์ร็อกทั้งจากอังกฤษและอเมริกัน ดนตรีของเขามักจะใช้แอมป์ขยายเสียงสูงและนำกระแสสไตล์วินเทจเข้าใช้ในงาน วอห์นมักจะนำแอมป์ที่องค์ประกอบแตกต่างเข้าด้วยกันและใช้คันเหยียบเพื่อเล่นเอฟเฟกต์เล็กๆ คริส กิล (Chris Gill) จากกีตาร์เวิร์ดได้พรรณนาไว้ว่า "โทนกีตาร์ของสตีวี เรย์ วอห์น ใช้เสียงแห้งราวกับช่วงหน้าร้อนในเมืองซานอันโตนิโอและระยิบระยับอย่างสดใสดั่งงานเปิดตัวแฟชันของนางแบบแห่งดัลลัส ผลิตภัณฑ์ของเสียงธรรมชาติแห่งแอมป์ราวกับอยู่บนเฮดรูมที่แสนสะอาด ถึงอย่างไรก็ดีวอห์นใช้คันเหยียบแค่ครั้งคราวเพื่อเสริมแต่งเสียงของเขา โดยหลักเพื่อเร่งให้เด่นชัด บางครั้งเขายังได้ปรับโทนลำโพงและคันเหยียบเพื่อเพิ่มเนื้องาม" วอห์นได้รับรางวัลทางดนตรีมากมายในช่วงชีวิตของเขาและภายหลังจากนั้น ในปี 1983 ได้มีการทำผลโพลจากกีตาร์เพลเยอร์ (Guitar Player) ได้โหวตให้เขาในฐานะ "ผู้มีพรสวรรค์ใหม่" (Best New Talent) และ "มือกีตาร์ไฟฟ้าเพลงบลูส์ที่ดีที่สุด" (Best Electric Blues Guitar Player) ในปี 1984 มูลนิธิเพลงบลูส์ได้ใส่ชื่อเขาในฐานะ "เอนเตอร์เทนเนอร์แห่งปี" (Entertainer of the Year) และ "นักดนตรีเพลงบลูส์แห่งปี" (Blues Instrumentalist of the Year) และในปี 1987 นิตยสารเพอร์ฟอร์แมนซ์ได้ยกย่องเขาในฐานะผู้เล่น "ริทึมและบลูส์แห่งปี" (Rhythm and Blues Act of the Year) เขายังได้รับ 6 รางวัลแกรมมี และรางวัลดนตรีอัสติน 10 รางวัล เขาได้รับการยกย่องเข้าสู่หอเกียรติยศบลูส์ในปี 2000 และหอเกียรติยศนักดนตรีในปี 2014 นิตยสารโรลลิงสโตนได้จัดอันดับให้เขาอยู่อันดับที่ 12 ในหัวข้อ "นักกีตาร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" ในปี 2015 เขาก็ได้ถูกบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บลูส์ร็อกและสตีวี เรย์ วอห์น

บลูส์ร็อกและสตีวี เรย์ วอห์น มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บลูส์สหรัฐฮาร์ดร็อก

บลูส์

ลูส์ (Blues) เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.

บลูส์และบลูส์ร็อก · บลูส์และสตีวี เรย์ วอห์น · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

บลูส์ร็อกและสหรัฐ · สตีวี เรย์ วอห์นและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ดร็อก

ฮาร์ดร็อก (Hard rock) เป็นแนวเพลงย่อยของดนตรีร็อก ที่มีรากฐานในช่วงต้นยุค 1960 ของดนตรีไซเคเดลิกร็อก และการาจร็อก และมีความหนักกว่าดนตรีร็อกทั่วไป เป็นต้นแบบของดนตรีเฮฟวี ที่ใช้การบิดเสียงของกีตาร์, กีตาร์เบส,คีย์บอร์ด และกลอง หมวดหมู่:ดนตรีร็อก หมวดหมู่:ฮาร์ดร็อก.

บลูส์ร็อกและฮาร์ดร็อก · สตีวี เรย์ วอห์นและฮาร์ดร็อก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บลูส์ร็อกและสตีวี เรย์ วอห์น

บลูส์ร็อก มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ สตีวี เรย์ วอห์น มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 8.82% = 3 / (17 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บลูส์ร็อกและสตีวี เรย์ วอห์น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: