เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

น้ำท่วมและโลก (ดาวเคราะห์)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง น้ำท่วมและโลก (ดาวเคราะห์)

น้ำท่วม vs. โลก (ดาวเคราะห์)

วัดไชยวัฒนารามที่ถูกน้ำท่วมในอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน ขณะที่ขนาดของทะเลสาบหรือแหล่งน้ำอื่นมีความแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและการละลายของหิมะตามฤดูกาล แต่น้ำนั้นมิใช่อุทกภัยที่สำคัญเว้นแต่น้ำนั้นออกมาคุกคามพื้นที่ดินที่มนุษย์ใช้ เช่น หมู่บ้าน นครหรือพื้นที่อยู่อาศัยอื่น น้ำท่วมยังสามารถเกิดในแม่น้ำได้ เมื่อการไหลนั้นเกินความจุของฝั่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หัวเลี้ยว (bend) หรือทางน้ำโค้งตวัด (meander) อุทกภัยมักทำความเสียหายแก่บ้านและธุรกิจหากตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงตามธรรมชาติ ขณะที่ความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยนั้นแท้จริงแล้วหมดไปได้โดยการย้ายออกจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น หากตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนได้อาศัยและทำงานอยู่ริมน้ำเพื่อการยังชีพและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่ถูกและง่ายโดยอาศัยอยู่ใกล้น้ำ การที่มนุษย์ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมนั้นเป็นหลักฐานว่า มูลค่าที่สัมผัสได้ของการอาศัยอยู่ใกล้น้ำมีมากเกินมูลค่าของน้ำท่วมที่เกิดซ้ำเป็นเวล. ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง น้ำท่วมและโลก (ดาวเคราะห์)

น้ำท่วมและโลก (ดาวเคราะห์) มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): หยาดน้ำฟ้าความหลากหลายทางชีวภาพประเทศแคนาดา

หยาดน้ำฟ้า

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้.

น้ำท่วมและหยาดน้ำฟ้า · หยาดน้ำฟ้าและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ความหลากหลายทางชีวภาพและน้ำท่วม · ความหลากหลายทางชีวภาพและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

น้ำท่วมและประเทศแคนาดา · ประเทศแคนาดาและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง น้ำท่วมและโลก (ดาวเคราะห์)

น้ำท่วม มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ โลก (ดาวเคราะห์) มี 351 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 0.81% = 3 / (18 + 351)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำท่วมและโลก (ดาวเคราะห์) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: