โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

น้ำกร่อยและวงศ์ปลากระเบนธง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง น้ำกร่อยและวงศ์ปลากระเบนธง

น้ำกร่อย vs. วงศ์ปลากระเบนธง

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand. วงศ์ปลากระเบนธง (Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/) พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง น้ำกร่อยและวงศ์ปลากระเบนธง

น้ำกร่อยและวงศ์ปลากระเบนธง มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ปลากระเบนบัวปลากระเบนชายธงปลากระเบนกิตติพงษ์ปลากระเบนลายเสือ

ปลากระเบนบัว

ปลากระเบนบัว (Whitenose whipray, Bleeker's whipray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) เป็นปลากระเบนที่อยู่ในน้ำจืดชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายปลากระเบนลายเสือ (H. oxyrhyncha) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีจะงอยปากยื่นแหลมกว่า ขอบครีบกว้างกว่า พื้นลำตัวสีนวลหรือสีน้ำตาลแดง ไม่มีลวดลายใด ๆ กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านล่างสีขาว และมีลักษณะคล้ายกับปลากระเบนทะเลชนิด H. fai และ H. pastinacoides เป็นปลาที่ถูกบรรยายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย พีเตอร์ บลีกเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ในปี..

น้ำกร่อยและปลากระเบนบัว · ปลากระเบนบัวและวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนชายธง

ปลากระเบนชายธง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ปลากระเบนธง (Cowtail stingray) ปลากระเบนชนิดหนึ่ง ที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเลได้ อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเป็นทรงกึ่งสี่เหลี่ยมดูคล้ายชายธง จึงเป็นที่มาของชื่อ โดยความกว้างของลำตัวจะมีมากกว่าความยาวของลำตัวเสียอีก เมื่อมีขนาดเล็กผิวด้านบนจะเรียบ และผิวนี้จะขรุขระขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ปกคลุมบริเวณกลางลำตัวจนถึงโคนหาง ตามีขนาดเล็ก หางยาว ปลายหางมีแผ่นริ้วหนังเห็นได้ชัดเจน มีเงี่ยงพิษ 2 ชิ้นที่ตอนกลางของส่วนหาง สีลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลคล้ำ มีความกว้างโดยเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 1 เมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร และยาว 1.8 เมตร น้ำหนักกว่า 250 กิโลกรัม มีจุดเด่นคือ หางที่ยาวมาก โดยที่ความยาวของหางมีมากกว่าความยาวลำตัวถึง 2.5–3 เท่า ซึ่งเมื่อถูกจับ มักจะสะบัดหางด้วยความรุนแรงและเร็วเพื่อแทงเงี่ยงหางเพื่อป้องกันตัว เนื่องจากมีเงี่ยงที่อยู่ตอนกลางของส่วนหางด้วย จึงนับได้ว่ามีอันตรายกว่าปลากระเบนสกุลหรือชนิดอื่นทั่วไป ที่มีเงี่ยงอยู่ที่ส่วนโคนหาง พบกระจายพันธุ์บริเวณชายฝั่งทะเล หรือปากแม่น้ำอย่างกว้างขวาง โดยพบตั้งแต่ทวีปแอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาเหนือ เช่น อียิปต์ และแอฟริกาใต้ เรื่อยไปจนถึงทะเลแดง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงภูมิภาคไมโครนีเซีย และ ออสเตรเลีย รวมถึงญี่ปุ่น โดยมีรายงานพบที่แม่น้ำคงคา ประเทศอินเดีย ที่ห่างจากทะเลถึง 2,200 กิโลเมตร รวมถึงมีรายงานการพบตัวที่มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมที่คลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี ของประเทศไทย แต่พฤติกรรมในทะเลจะอาศัยอยู่ได้ลึกถึง 60 เมตร สำหรับในประเทศไทย พบได้ในแหล่งน้ำจืดในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำแม่กลองช่วงจังหวัดกาญจนบุรี และพบได้น้อยที่ทะเลสาบสงขลาตอนใน ในเขตจังหวัดพัทลุงและสงขลา มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ คือ ใช้เนื้อเป็นอาหารในต่างประเทศ และใช้หนังทำเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า เป็นต้น และยังเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาป้อนอาหารให้ที่ชายหาดแถบทะเลแคริบเบียนด้วย เดิมปลากระเบนชายธงเคยถูกจำแนกให้มีเพียงชนิดเดียว แต่ปัจจุบันจากการศึกษาล่าสุดได้ถูกจำแนกออกเป็นถึง 5 ชนิด และในชนิด P. sephen นี้ เป็นปลาที่พบในแถบทะเลแดงและทะเลอาหรับหน้า 102-120, กระเบนน้ำจืดแห่งชาต.

น้ำกร่อยและปลากระเบนชายธง · ปลากระเบนชายธงและวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนกิตติพงษ์

ปลากระเบนกิตติพงษ์ หรือ ปลากระเบนแม่กลอง (Kittipong's whipray) ปลากระเบนน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนในวงศ์นี้ทั่วไป ต่างกันที่ด้านหลังจะมีสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง รอบวงของลำตัว หาง ช่องหายใจ ช่องเหงือกและขอบด้านล่างของตัวเป็นสีคล้ำ และจำนวนของฟันซึ่งมีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ บริเวณขากรรไกรล่างมีจำนวนมากถึง 14-15 แถว ส่วนลำตัวมีขนาดใหญ่สุดประมาณ 60 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 50-80 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ปลากระเบนกิตติพงษ์ ได้ถูกจำแนกออกจากปลากระเบนขาว (H. signifer) ซึ่งเป็นปลากระเบนลักษณะคล้ายคลึงกัน จากการสังเกตของเจ้าของร้านขายปลาสวยงามแห่งหนึ่งในตลาดกลางปลาสวยงาม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จากนั้น กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจปลาน้ำจืดชาวไทยที่มีชื่อเสียงได้ส่งตัวอย่างต้นแบบแรกให้แก่ ดร.

น้ำกร่อยและปลากระเบนกิตติพงษ์ · ปลากระเบนกิตติพงษ์และวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนลายเสือ

ปลากระเบนลายเสือ (Marbled whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน หางยาว โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่สามารถงอกใหม่ได้เมื่อหลุดหรือหักไป หางไม่มีริ้วหนัง พื้นลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเหลือง กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ มีจุดดำคล้ายลายของเสือดาวกระจายอยู่ทั่วตัวไปจนปลายหาง อันเป็นที่มาของชื่อ พื้นลำตัวด้านล่างสีขาว หากินตามพื้นท้องน้ำโดยอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, สัตว์หน้าดิน และสัตว์มีเปลือก จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง มีขนาดความกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร หางยาว 1.2 เมตร น้ำหนักตั้งแต่ 3-5 กิโลกรัม ปลากระเบนลายเสือเป็นปลาน้ำกร่อยที่พบอาศัยอยู่ค่อนมาทางน้ำจืด เป็นปลาที่พบน้อย พบได้ตามปากแม่น้ำ เช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปากแม่น้ำโขง, แม่น้ำแม่กลอง, ทะเลสาบเขมร และพบได้ไกลถึงปากแม่น้ำบนเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซีย แต่มีรายงานทางวิชาการว่าพบครั้งแรกที่แม่น้ำน่าน เนื่องจากเป็นปลาที่มีลวดลายสวยงามจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพง แต่มักจะเลี้ยงไม่ค่อยรอดเพราะปลามักประสบปัญหาปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือภาวะแวดล้อมในที่เลี้ยงไม่ค่อยได้ ปลากระเบนลายเสือมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลากระเบนเสือดาว", "ปลากระเบนลาย" หรือ "ปลากระเบนลายหินอ่อน".

น้ำกร่อยและปลากระเบนลายเสือ · ปลากระเบนลายเสือและวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง น้ำกร่อยและวงศ์ปลากระเบนธง

น้ำกร่อย มี 75 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ปลากระเบนธง มี 65 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.86% = 4 / (75 + 65)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำกร่อยและวงศ์ปลากระเบนธง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »