โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

น้ำกร่อยและปลาตูหนา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง น้ำกร่อยและปลาตูหนา

น้ำกร่อย vs. ปลาตูหนา

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand. ปลาตูหนา หรือ ปลาไหลหูดำ (Shortfin eel, Level-finned eel) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตูหนา (Anguilidae) มีรูปร่างอ้วนป้อม ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนปลาสะแงะ (A. bengalensis) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่ปลาตูหนามีรูปร่างที่เล็กกว่า ครีบอกของปลาตูหนามีสีคล้ำ ในปลาโตเต็มวัยครีบหลังและครีบก้นมีสีคล้ำด้วยเช่นกัน จึงเป็นที่มาของชื่อว่า "ปลาไหลหูดำ" ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนไม่มีลวดลาย ใต้ท้องสีขาว ขนาดโตเต็มที่ได้ 1.5 เมตร ในประเทศไทยพบได้ตั้งแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกแถบริมชายฝั่งอันดามัน เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และในภาคตะวันตกในชายแดนที่ติดกับประเทศพม่า เช่น จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เป็นต้น โดยชาวกะเหรี่ยงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หย่าที" ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกพบได้ตั้งแต่พม่า บังกลาเทศ จนถึงอินเดีย โดยปลาที่พบในประเทศแถบนี้จะเป็นสายพันธุ์ย่อยที่เรียกว่า A. b. pacifica ส่วนปลาที่พบในแถบเอเชียตะวันออกมีชื่อเรียกว่า A. b. bicolor ปลาตูหนามีพฤติกรรมจะกลับไปผสมพันธุ์และวางไข่แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ ลูกปลาแรกเกิดมีลำตัวใสเหมือนวุ้นเส้น มีสีแดงเรื่อ จากนั้นเมื่อโตขึ้นจะค่อยอพยพว่ายทวนน้ำมาสู่แหล่งน้ำจืด ซึ่งบางครั้งอาจพบได้ไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขา ปลาชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนในแถบจังหวัดระนองหรือตรัง ถือเป็นเมนูราคาแพง สามารถนำไปปรุงได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ ย่าง หรือทำน้ำแดง ในต่างประเทศที่นิยมบริโภคได้แก่จีนและญี่ปุ่น โดยหน่วยงานประมงของประเทศเหล่านี้ได้มีการส่งเสริมให้เป็นปลาเศรษฐกิจ มีการทำฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ แต่ว่าเนื้อมีกลิ่นคาวมาก จึงนิยมปลาตูหนาญี่ปุ่น (A. japonica) มากกว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง น้ำกร่อยและปลาตูหนา

น้ำกร่อยและปลาตูหนา มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์ปลาตูหนาปลาสะแงะ

วงศ์ปลาตูหนา

วงศ์ปลาตูหนา (True eel, Freshwater eel) เป็นวงศ์ของปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anguillidae (/แอน-กิล-ลิ-ดี้/) โดยมาจากภาษาลาตินว่า "Ae" หมายถึง ปลาไหล ซึ่งปลาวงศ์นี้มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ปลาตูหนา มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Anguilla และมีทั้งหมด 15 ชนิด กระจายทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกจนถึงออสเตรเลีย พบในประเทศไทยประมาณ 3–4 ชนิด ปลาวงศ์นี้มีฟันคม ปากกว้าง เขี้ยวเล็กละเอียดบนขากรรไกรเป็นร้อย ๆ ซี่ จมูกมีรูเล็ก ๆ เหมือนหลอด 2 ข้าง ใช้สำหรับดมกลิ่นเพื่อนำทางและหาอาหาร ซึ่งปลาตูหนามีประสิทธิภาพในการดมกลิ่นได้ดีกว่าปลาฉลามเสียอีก ครีบอกเป็นรูปกลมรี ครีบหลังยาวติดต่อกับครีบหางที่มนและครีบก้นที่ยาว ลำตัวดูภายนอกเหมือนไม่มีเกล็ด มีเมือกลื่นปกคลุมทั้งตัว แต่แท้จริงมีเกล็ดขนาดเล็กมากเรียงซ้อนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โดยไม่มีเส้นข้างลำตัว เลือดและน้ำเหลืองของปลาตูหนามีพิษ ซึ่งอาจฆ่าสุนัขให้ตายได้ เป็นปลานักล่า สามารถจับกุ้ง, ปู หรือสัตว์เปลือกแข็ง รวมทั้งปลาต่าง ๆ กิน มักอาศัยในแหล่งน้ำใส มีตอไม้, โพรงไม้ หรือซอกหินอยู่มาก อาจขุดรูอยู่ก็ได้ นอกจากบริเวณปากแม่น้ำแล้ว ยังเคยพบไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาอีกด้วย เป็นปลาที่มีวงจรชีวิตแบบ ปลาสองน้ำ คือออกไปวางไข่ในทะเลลึก ปลาวัยอ่อนจึงอพยพกลับมาเลี้ยงตัวที่ชายฝั่งหรือป่าชายเลนก่อนเข้ามาเติบโตในน้ำจืดที่ไกลจากทะเลนับร้อย ๆ กิโลเมตร ลูกปลามีตัวใส เรียวยาวดูคล้ายวุ้นเส้น โดยปกติแล้วเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ แต่จะดุร้ายมากเมื่อถูกจับได้ มีรายงานว่าปลาบางตัวมีอายุมากได้ถึง 105 ปี และอาจยาวได้ถึง 8 ฟุต ในทะเลสาบน้ำจืดที่นิวซีแลนด์พบบางตัวมีน้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์Flesh Ripper, "River Monsters".

น้ำกร่อยและวงศ์ปลาตูหนา · ปลาตูหนาและวงศ์ปลาตูหนา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะแงะ

ปลาสะแงะ (Bengal freshwater eel) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายปลาไหล จัดอยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตูหนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย โดยสามารถยาวได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร ในตัวเต็มวัยครีบอกมีสีจาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ลำตัวด้านหลังมีสีเทาคล้ำอมเหลืองและมีประสีจางและคล้ำผสมกันคล้ายกับลายหินอ่อน ท้องมีสีน้ำตาลอมเหลือง พบมากในแม่น้ำสาละวินและสาขาในจังหวัดตาก และ แม่ฮ่องสอน และยังสามารถพบได้เป็นครั้งคราวในแม่น้ำของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ต่างประเทศพบได้ในบริเวณแม่น้ำชายฝั่งของประเทศอินเดีย, พม่า และทวีปแอฟริกาแถบตะวันออก ปลาสะแงะ มีบันทึกว่าพบครั้งแรกและสร้างความฮือฮาให้กับผู้พบเห็น คือ มีผู้จับได้ในคลองบางกะปิที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2469 ด้วยความใหญ่โตของลำตัว ทำให้บางคนเชื่อว่า เป็นปลาไหลไฟฟ้าบ้าง บางคนก็คิดว่าเป็นพญานาค หรือมังกร โดยปลาตัวนั้นมีขนาดความยาว 65 เซนติเมตร ว่ากันว่า ปลาชนิดนี้สามารถส่งเสียงร้องคล้ายเสียงเด็กทารกได้ด้วยในเวลากลางคืน ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกและแถบภาคตะวันตกไปจนถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีชื่อพื้นเมืองภาษากะเหรี่ยงว่า "หย่าที" สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย A. b. bengalensis พบได้ในทวีปเอเชีย และ A. b. labiata พบได้ในทวีปแอฟริกา เป็นปลาที่พบน้อย หายาก เนื้อมีรสชาติอร่อย ราคาแพง และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

น้ำกร่อยและปลาสะแงะ · ปลาตูหนาและปลาสะแงะ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง น้ำกร่อยและปลาตูหนา

น้ำกร่อย มี 75 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาตูหนา มี 35 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.82% = 2 / (75 + 35)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำกร่อยและปลาตูหนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »