โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

น้ำกร่อยและปลากดหัวแข็ง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง น้ำกร่อยและปลากดหัวแข็ง

น้ำกร่อย vs. ปลากดหัวแข็ง

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand. ปลากดหัวแข็ง (Spotted catfish) เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius maculatus ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมทั่วไปคล้ายปลาอุก (Cephalocassis borneensis) ที่เป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ต่างกันตรงที่มีจุดสีดำอยู่ที่ครีบไขมัน มีความยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ขนาดโตเต็มที่ยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงตอนล่าง รวมถึงทะเลสาบสงขลา หากินอยู่บริเวณพื้นน้ำ โดยกินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ เป็นอาหาร ปลากดหัวแข็ง มีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาอุกจุดดำ".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง น้ำกร่อยและปลากดหัวแข็ง

น้ำกร่อยและปลากดหัวแข็ง มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์ปลากดทะเลปลาอุกแม่น้ำเจ้าพระยา

วงศ์ปลากดทะเล

วงศ์ปลากดทะเล หรือ วงศ์ปลาอุก (Sea catfishes, Crucifix catfishes, Fork-tailed catfishes) จัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลาหนัง ซึ่งเป็นปลาที่หากินตามพื้นน้ำ โดยมากจะไม่มีเกล็ด มีครีบแข็งที่ก้านครีบอก มีหนวด โดยมากเป็นปลากินซาก ทั้งซากพืช ซากสัตว์ พบทั้งน้ำจืด, น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ทั่วเขตอบอุ่นของโลก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ariidae (/อา-รี-อาย-ดี้/) สำหรับปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาที่อาศัยในบริเวณน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำ และในทะเล ส่วนมากมีรูปร่างคล้ายปลาสวายแต่มีส่วนหัวที่โตกว่าและแบนราบเล็กน้อย ครีบหลังยกสูงมีก้านแข็งคมเช่นเดียวกับครีบอก ครีบไขมันใหญ่ ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก มีหนวด 1-3 คู่รอบปาก บนเพดานมีฟันเป็นแถบแข็งรูปกลมรี โดยการแพร่พันธุ์ ตัวผู้จะอมไข่ไว้ในปาก รอจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว โดยหลังจากการผสมพันธุ์ภายนอกแล้วตัวเมียจะใช้ครีบก้นที่มีขนาดใหญ่และหนากว่าตัวผู้อุ้มไข่ไว้แล้วให้ตัวผู้มารับไป ไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-1 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อนของโลก พบในประเทศไทยประมาณ 20 ชนิด เช่น ปลาริวกิว หรือปลาลู่ทู (Arius thalassinus) และพบในน้ำจืดราว 10 ชนิด เช่น ปลากดหัวโต (Ketengus typus), ปลาอุก (Cephalocassis borneensis), ปลาอุกจุดดำ (Arius maculatus), ปลาอุกหัวกบ (Batrachocephalus mino) และ ปลากดหัวผาน (Hemiarius verrucosus) เป็นต้น จินตภาพของกะโหลกปลากดทะเล (ขวา) ที่มองเห็นเป็นรูปพระเยซูตรึงกางเขน (ซ้าย) โดยมากปลาในวงศ์นี้ จะถูกเรียกรวมกันว่า "อุก" เนื่องจากเมื่อถูกจับพ้นน้ำได้แล้วจะส่งเสียงร้องได้ โดยส่งเสียงว่า "อุก อุก" นอกจากนี้แล้ว ในมุมมองของชาวตะวันตก เมื่อมองกะโหลกของปลาในวงศ์นี้ซึ่งเป็นกระดูกแข็ง ก่อให้เกิดเป็นจินตภาพเห็นภาพมีคนหรือพระเยซูตรึงกางเขนอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ว่า "Crucifix catfish".

น้ำกร่อยและวงศ์ปลากดทะเล · ปลากดหัวแข็งและวงศ์ปลากดทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอุก

ปลาอุก ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cephalocassis borneensis อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างเพรียว หางคอดเล็ก หลังยกสูงเล็กน้อย จะงอยปากยื่นยาว หัวโตแบนราบเล็กน้อย ปากเล็ก ตาเล็กอยู่กลางหัว ครีบหลังมีก้านแข็งหนาและยาว ครีบไขมันเล็กมีสีคล้ำเล็กน้อย ครีบท้องใหญ่ ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมเหลืองอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 20 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำตอนล่าง พบในแม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำบางปะกง ในแม่น้ำเจ้าพระยาพบขึ้นไปสูงสุดจนถึง จังหวัดชัยนาท นิยมบริโภคตัวผู้ที่มีไข่ในปากเรียก "ไข่ปลาอุก" โดยนิยมนำมาทำแกงส้ม พบจับขึ้นมาขายเป็นครั้งคราวในตลาดของชัยนาท อยุธยา และ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพบได้ในภาคใต้จนถึงเกาะบอร์เนียว และพบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "อุกแดง", "อุกชมพู" หรือ "กดโป๊ะ".

น้ำกร่อยและปลาอุก · ปลากดหัวแข็งและปลาอุก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

น้ำกร่อยและแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลากดหัวแข็งและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง น้ำกร่อยและปลากดหัวแข็ง

น้ำกร่อย มี 75 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลากดหัวแข็ง มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 3.09% = 3 / (75 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำกร่อยและปลากดหัวแข็ง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »