โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นีล ดะแกรส ไทสัน

ดัชนี นีล ดะแกรส ไทสัน

นีล ดะแกรส ไทสัน (Neil deGrasse Tyson; เกิด 5 ตุลาคม 1958) เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้ประพันธ์และผู้สื่อสารวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ตั้งแต่ปี 1996 เขาเป็นผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลองเฮย์เดน ณ ศูนย์โลกและอวกาศโรสในนครนิวยอร์ก ศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา ซึ่งไทสันก่อตั้งแผนกฟิสิกส์ดาราศาสตร์ในปี 1997 และเป็นผู้ช่วยวิจัยในแผนกฯ ตั้งแต่ปี 2003 เขาเกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก มีความสนใจดาราศาสตร์ตั้งแต่อายุ 9 ปีหลังชมท้องฟ้าจำลองเฮย์เดน หลังสำเร็จการศึกษาจากไฮสกูลวิททยาศาสตร์บรองซ์ ซึ่งเขาเป็นบรรณาธิการอำนวยการของวารสารวิทยาศาสตร์กายภาพ เขาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิชาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 1980 หลังได้รับปริญญาโทในสาขาดาราศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสตินในปี 1983 เขาได้รับปริญญาโท (ปี 1989) และปริญญาเอก (ปี 1991) ในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อีกสามปีถัดมา เขาเป็นผู้ช่วยวิจัยหลังปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในปี 1994 เขาเข้าร่วมเป็นนักวิทยาศาสตร์เจ้าหน้าที่ ณ ท้องฟ้าจำลองเฮย์เดนและศูนย์พรินซ์ตันเป็นนักวิทยาศาสตร์วิจัยและอาจารย์รับเชิญ ในปี 1996 เขาเป็นผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลองและควบคุมดูแลโครงการบูรณะ 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2000 ระหว่างปี 1995 ถึง 2005 ไทสันเขียนความเรียงรายเดือนในคอลัมน์ "เอกภพ" ให้นิตยสารประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งบางส่วนจัดพิมพ์ในหนังสือของเขา มรณะด้วยหลุมดำ (ปี 2007) และฟิสิกส์ดาราศาสตร์สำหรับคนรีบ (ปี 2017) ในช่วงเดียวกัน เขาเขียนคอลัมน์รายเดือนในนิตยสารสตาร์เดต ตอบคำถามเกี่ยวกับเอกภพโดยใช้นามปากกา "เมอร์ลิน" เนื้อความจากคอลัมน์ปรากฏในหนังสือของเขา ทัวร์เอกภพของเมอร์ลิน (ปี 1998) และเพียงชมดาวเคราะห์นี้ (ปี 1998) ไทสันรับราชการเป็นคณะกรรมการของรัฐบาลว่าด้วยอนาคตของอุตสาหกรรมห้วงอากาศ-อวกาศของสหรัฐปี 2001 และในคณะกรรมการดวงจันทร์ ดาวอังคารและกว่านั้นปี 2004 เขาได้รับเหรียญราชการโดดเด่นของนาซาในปีเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2011 เขาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์โนวาไซอันซ์นาว ทางพีบีเอส ตั้งแต่ปี 2009 เขาเป็นพิธีกรพอตคแสรายสัปดาห์ สตาร์ทอล์ก รายการแยกชื่อเดียวกันเริ่มแพร่สัญญาณทางเนชันแนลจีโอกราฟิกในปี 2015; ในปี 2014 เขาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ คอสมอส: อะสเปซไทม์ออดิซีย์ (จักรวาล: การเดินทางปริภูมิ-เวลา) ซึ่งต่อจากซีรีย์คอสมอส: อะเพอร์ซันแนลโวยาจ (จักรวาล: การเดินทางส่วนบุคคล) ของคาร์ล เซแกนในปี 1980 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐมอบเหรียญสวัสดิการสาธารณะแก่ไทสันในปี 2015 สำหรับ "บทบาทโดดเด่นในการสร้างความตื่นเต้นแก่สาธารณะเกี่ยวกับสิ่งมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์".

14 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์ดาราศาสตร์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์กมหาวิทยาลัยโคลัมเบียมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสตินริชาร์ด ไฟน์แมนสตีเฟน ฮอว์กิงอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์คาร์ล เซแกนปรัชญาดุษฎีบัณฑิตนครนิวยอร์กแมนแฮตตันไอแซก นิวตัน

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (อังกฤษ: Astrophysics) เป็นแขนงวิชาทางดาราศาสตร์ ว่าด้วยสมบัติทางกายภาพของวัตถุในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ ดาราจักร และเอกภพทั้งหลายทั้งมวล จะเน้นศึกษาแขนงวิชาที่กว่ามาข้างต้น มากกว่าศึกษาตำแหน่งหรือการเคลื่อนที่ของวัถตุต่าง ๆ ในอวกาศ วิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์จะศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์, ดาวฤกษ์ต่าง ๆ, กาแล็กซีต่าง ๆ, ดาวเคราะห์นอกระบบ, มวลสารระหว่างดาว, รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล สาขาวิชานี้จะตรวจสอบและศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า และปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความเข้มแสง, ความหนาแน่น, อุณหภูมิ และสารประกอบเคมี เนื่องจากวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นั้นครอบคลุมเนื้อหาและแขนงวิชาต่าง ๆ ในบริเวณกว้าง จึงสามารถรวมอีกหลายแขนงวิชาเข้ามาในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นี้ได้ด้วย อาทิ กลศาสตร์, การศึกษาแรงแม่เหล็กไฟฟ้า, กลศาสตร์สถิติ, อุณหพลศาสตร์, กลศาสตร์ควอนตัม, ทฤษฎีสัมพันธภาพ, ฟิสิกส์นิวเคลียร์, ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร.

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน

ฟัลด์ฮอลล์ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองพรินซ์ตัน ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2289 (ค.ศ. 1746) เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 4 ของประเทศ โดยเมื่อก่อตั้งใช้ชื่อว่า วิทยาลัยนิวเจอร์ซีย์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน" ในปี..

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549 ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี..

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก

มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก (University of Maryland, College Park ย่อว่า UM, UMD, UMCP) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเมืองคอลเลจพาร์ก รัฐแมริแลนด์ โดยอยู่ไม่ห่างจากวอชิงตัน ดี.ซี. มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี ค.ศ. 1856 มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก มักจะรู้จักในชื่อ "มหาวิทยาลัยแมริแลนด์" ปัจจุบัน ณ ปี 2551 มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาประมาณ 36,000 คน โดยมีคณาจารย์ 3,700 คน สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยคือ เต่า โดยสีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีแดง สีขาว สีดำ และสีทอง.

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

Alma Mater มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University in the City of New York) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของนครนิวยอร์กและเก่าแก่ที่สุดอันดับที่ห้าของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่นิวยอร์กซิตี ในรัฐนิวยอร์กในส่วนของชุมชนมอร์นิงไซด์บริเวณส่วนเหนือของเกาะแมนแฮตตัน ก่อตั้งก่อนการประกาศอิสรภาพของประเทศในปี พ.ศ. 2297 (ค.ศ. 1754) ในชื่อของ วิทยาลัยคิงส์ (King's College) โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ ภายหลังสหรัฐอเมริกาปฏิวัติ โคลัมเบียได้รับการสนับสนุนในฐานะเอกลักษณ์ทางปรัชญาของรัฐตั้งแต่ปี 2327 - 2330 ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ทั้งที่เป็นศิษย์เก่าและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 102 ท่าน ถือว่ามากที่สุดอันดับ 2 ของโลก ศิษย์เก่าที่เป็นประธานาธิบดีและนากยกรัฐมนตรีจากทั่วโลกจำนวน 29 ท่าน ศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก (Fortune Global 500) จำนวน 45 ท่าน และมีผู้ชนะรางวัลออสการ์ 28 ท่าน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้มอบรางวัลพูลิตเซอร์ แก่ผู้ได้รับเกียรติสูงสุดระดับชาติในวงการสิ่งพิมพ์ การบรรลุความสำเร็จทางวรรณกรรม และการประพันธ์เพลงในสาขาวารสารศาสตร์ เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว ซึ่งวิทยาลัยวิชาการหนังสือพิมพ์ของโคลัมเบียนับได้ว่าโดดเด่นมากที่สุดของโลกในปัจจุบัน last.

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน

น้ำพุอีสต์มอลล์ และหอนาฬิกามหาวิทยาลัยเทกซัส มหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน (The University of Texas at Austin) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลตั้งอยู่ที่เมืองออสติน ใน รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) เป็นหนึ่งในระบบของมหาวิทยาลัยเทกซัสที่มีด้วยกันทั้งหมด 9 วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทกซัสได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่มีนักศึกษามากที่สุด ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษามากกว่า 50,000 คน และอาจารย์และเจ้าหน้าที่มากกว่า 20,000 คน มหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน ในปี..

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ไฟน์แมน

ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในการจัดอันดับนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของโลก โดยสำนักข่าวบีบีซี ที่ให้นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกร่วม 100 คนช่วยกันตัดสิน ไฟน์แมน เป็นนักฟิสิกส์สมัยใหม่เพียงคนเดียว ที่ชนะใจเหล่านักฟิสิกส์ชั้นนำทั่วโลก โดยติดอันดับ 10 คนแรกของโลก (สมัยใหม่ในที่นี้ คือนับหลังจากยุคทองของทฤษฎีควอนตัม คือในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2005) แม้แต่นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังอย่างสตีเฟ่น ฮอว์คิง ก็ยังได้เพียงอันดับ 16 ในผลโหวต แน่นอนผลโหวตนี้ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างดีว่า ไฟน์แมนมีอิทธิพลต่อวงการฟิสิกส์ยุคปัจจุบันแค่ไหน ทั้งในแง่ผลงานทางวิชาการ การสอนหนังสือ และการใช้ชีวิต ผลงานของไฟน์แมนมีมากมาย เช่น การขยายทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมให้กว้างใหญ่ขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเขาได้ร่วมกับจูเลียน ชวิงเกอร์ และโทะโมะนะกะ ชินอิจิโร ไฟน์แมนปฏิเสธตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่ที่ไอน์สไตน์อยู่, เพียงเพราะเขาต้องการสอนหนังสือให้กับเด็ก ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมอยากสอน เพราะในตอนที่ผมไม่มีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ในงานวิจัย ผมก็ยังสามารถให้อะไรกับสังคมได้" ไฟน์แมนตัดสินใจรับตำแหน่งที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) สร้างยุคทองของมหาวิทยาลัย ร่วมกับเมอเรย์ เกลมานน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีควาร์ก, ไลนัส พอลลิง หนึ่งในนักเคมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้คิดค้นทฤษฎีควอนตัมเคมี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำท่านอื่นๆ ในแง่ของการเป็นอาจารย์ เขาได้เขียนคำบรรยายฟิสิกส์ของไฟน์แมน (Feynman Lectures on Physics) อันโด่งดัง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนวิชาฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการพลิกการเรียนการสอนฟิสิกส์แบบเก่า ๆ ให้เข้าใจง่าย นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ในโครงการแมนฮัตตัน เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ และเป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดของนาโนเทคโนโลยี.

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและริชาร์ด ไฟน์แมน · ดูเพิ่มเติม »

สตีเฟน ฮอว์กิง

ตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking; 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง) ฮอว์กิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ปัจจุบันต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์ สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม..

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและสตีเฟน ฮอว์กิง · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล เซแกน

ร์ล เซแกน (Carl Sagan) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1934 - 1996) เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบรรยากาศของดาวเคราะห์ต่าง ๆ เซแกนได้ศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการบนโลกอย่างไร สนใจถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอื่นเป็นพิเศษ เซแกนเป็นคนริเริ่มความคิดที่จะติดตั้งแผ่นป้ายบนยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 10 ที่เป็นเหมือนจดหมายจากโลก ยานไพโอเนียร์ 10 ผ่านเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีใน ค.ศ. 1973 ก่อนที่จะออกไปยังขอบนอกของระบบสุริยะแล้วออกสู่อวกาศ แผ่นป้ายแบบเดียวกันติดไปกับยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 11 ในปีต่อมา นอกจากงานด้านดาราศาสตร์แล้ว เซแกนยังมีชื่อเสียงจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Contact ซึ่งเกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก นิยายเรื่องนี้ ภายหลังได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน (ชื่อภาษาไทยคือ "คอนแทค อุบัติการณ์สัมผัสห้วงจักรวาล") นำแสดงโดย โจดี้ ฟอสเตอร.

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและคาร์ล เซแกน · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

ัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์สวมชุดครุยระดับปริญญาเอก กลุ่มบัณฑิตที่ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกับอาจารย์ของพวกเขา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Philosophiae doctor, Doctor of Philosophy, อักษรย่อ ปร.ด., PhD, Ph.D. หรือ DPhil) คือปริญญาทางวิชาการสูงสุดที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยในหลายประเทศ การได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมาจากหลักสูตรที่มีความกว้างขวางของสาขาทางวิชาการ การได้มาซึ่งปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมักจะเป็นที่ต้องการสำหรับอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ บุคคลที่ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตอาจใช้คำนำหน้าว่าดอกเตอร์ (Doctor) หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "ดร." ("Dr") ในทางกฎหมายได้ หรือในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษอาจใช้คำที่แตกต่างกันเช่น "Dr.

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แมนแฮตตัน

แมนแฮตตัน (Manhattan) เป็นหนึ่งใน 5 เขตการปกครองท้องถิ่นของนครนิวยอร์ก ตั้งอยู่บนเกาะแมนแฮตตันที่ปากแม่น้ำฮัดสัน ประกอบไปด้วยเกาะแมนแฮตตันและเกาะเล็กๆที่อยู่ติดกัน คือ เกาะโรสเวลต์ (Roosevelt Island), เกาะแรนดัลส์ (Randall's Island), เกาะวาร์ด (Wards Island), เกาะกอฟเวิร์นเนอร์ส (Governors Island), เกาะลิเบอร์ตี (Liberty Island), เกาะเอลลิส, เกาะอูตัน (U Thant Island) รวมถึงมาร์เบิลฮิลล์ แมนแฮตตันมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 จาก 5 เขตการปกครองท้องถิ่นของนครนิวยอร์ก นครนิวยอร์กส่วนดั้งเดิมนั้นมีจุดเริ่มต้นจากส่วนล่างของแมนแฮตตัน จากนั้นในปี..

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและแมนแฮตตัน · ดูเพิ่มเติม »

ไอแซก นิวตัน

ซอร์ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) (25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ งานเขียนในปี..

ใหม่!!: นีล ดะแกรส ไทสันและไอแซก นิวตัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Neil deGrasse Tyson

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »