เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นิวต์หางใบพายและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นิวต์หางใบพายและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

นิวต์หางใบพาย vs. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

นิวต์หางใบพาย หรือ ซาลาแมนเดอร์หางใบพาย (Alpine newt) เป็นซาลาแมนเดอร์ในกลุ่มของนิวต์ หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ในสกุล Triturus (มาจาก ไทรทัน บุตรชายของโพไซดอน เทพเจ้าแห่งมหาสมุทรตามเทพปกรณัมกรีก และภาษากรีกคำว่า ura หมายถึง "หาง") ลักษณะเด่นของนิวต์หางใบพาย คือ มีส่วนหางที่แผ่แบนเหมือนใบพายหรือครีบปลา มีช่วงชีวิตยาวนานอยู่ในน้ำมากกว่านิวต์สกุลอื่น ๆ โดยที่ขณะเป็นตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย ลักษณะหางที่เป็นใบพายก็ยังคงลักษณะเดิมไม่เปลี่ยนแปลง มีขนาดลำตัวประมาณ 9-12 เซนติเมตร ในชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 16 เซนติเมตร ในบางชนิดมีแผ่นหนังที่ดูคล้ายหงอนหรือครีบหลังที่สันหลังของลำตัวไปถึงส่วนหางด้วยซึ่งดูเป็นจุดเด่น ลำตัวมักมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม มีลายประหรือจุดสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไปตามและชนิด และยิ่งจะมีความเด่นชัดขึ้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มีการขยายพันธุ์และวางไข่เหมือนกับนิวต์สกุลอื่น วางไข่ครั้งละ 100-200 ฟอง หรือในชนิดที่มีจำนวนมากอาจได้ถึง 300-400 ฟอง พบกระจายพันธุ์ในป่า หรือลำห้วย หรือทะเลสาบในแถบเทือกเขาในระดับความสูงต่าง ๆ กันในทวีปยุโรป จนถึงบางส่วนของรัสเซีย และภูมิภาคตะวันออกกลางTriturus ทั้ง 5, คอลัมน์ Aqua Survey โดย สุริศา ซอมาดี. ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นิวต์หางใบพายและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

นิวต์หางใบพายและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษากรีกสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์ซาลาแมนเดอร์นิวต์

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

นิวต์หางใบพายและภาษากรีก · ภาษากรีกและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

นิวต์หางใบพายและสัตว์ · สัตว์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

นิวต์หางใบพายและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

นิวต์หางใบพายและสปีชีส์ · สปีชีส์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ซาลาแมนเดอร์และนิวต์หางใบพาย · ซาลาแมนเดอร์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์

นิวต์ (Newts) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์ ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ (Salamandridae) ในวงศ์ย่อย Pleurodelinae นิวต์เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป และเอเชีย เมื่อยังเป็นวัยอ่อนที่มีพู่เหงือกเรียกว่า "เอลฟ์" (Efts) นิวต์มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างไปจากซาลาแมนเดอร์ คือ มีผิวหนังที่แห้งกว่าและขรุขระหรือเป็นตะปุ่มตะป่ำกว่า และมักมีพิษ กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดว่าเป็นนิวต์เช่นกัน ไม่ใช่ซาลาแมนเดอร์ และก็มีพิษด้วยเช่นกัน นิวต์อาจจำแนกออกได้เป็นสกุลต่าง ๆ ดังนี้.

นิวต์และนิวต์หางใบพาย · นิวต์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นิวต์หางใบพายและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

นิวต์หางใบพาย มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มี 71 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 7.14% = 6 / (13 + 71)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นิวต์หางใบพายและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: