โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิลกายและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นิลกายและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง

นิลกาย vs. อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง

นิลกาย (Nilgai, Blue bull; নীলগাই; नीलगाय) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) จัดเป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boselaphus มีรูปร่างลักษณะคล้ายวัวผสมกับม้า ตัวผู้มีลักษณะเด่น ที่ สีลำตัวเมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มขึ้นเรื่อย ๆ หรือสีเทาปนดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ถือเป็นแอนทีโลปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยมีส่วนสูงวัดถึงไหล่ประมาณ 1.2–1.5 เมตร และยาว 1.8–2 เมตร หางยาว 40–45 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยมีน้ำหนักประมาณ 120–140 กิโลกรัม ลำตัวใหญ่ แต่มีขาเล็กเรียว ตัวผู้มีเขาเล็ก ๆ โค้งไปข้างหน้าเล็กน้อย ยาวประมาณ 21-25 เซนติเมตร มีขนแข็งยาวขึ้นจากส่วนหัวไล่ไปถึงกลางหลังทั้งสองเพศ ขณะที่ตัวเมียมีสีออกน้ำตาลแดง นิลกาย เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในราบตอนเหนือของอินเดียและทางภาคตะวันออกของปากีสถาน ชอบอยู่ตามที่ราบและเนินเขาที่มีไม้พุ่มเตี้ยมากกว่าอยู่ในป่าทึบ นิลกายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 18 เดือน ซึ่งหลังผสมพันธุ์แล้ว มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกคราวละ 2 ตัวหรือมากได้ถึง 3 ตัว น้ำหนักตัวเมื่อเกิดใหม่ราว 13–16 กิโลกรัม มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 21 ปี นิลกายเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางวัน และพักผ่อนในเวลากลางคืนเหมือนสัตว์ในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ แต่กินอาหารหลากหลายกว่า เพราะกินทั้งต้นไม้, ใบหญ้า, ใบไม้ และผลไม้ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษ คือ สามารถอดน้ำได้หลายวันโดยไม่มีน้ำดื่ม แต่มักจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โดยส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นกลุ่มประมาณ 15 ตัว บางกลุ่มอาจมีถึง 20 ตัว ยกเว้นตัวที่อายุมากแล้วมักจะปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง และจะรวมตัวกันอีกทีก็ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอาจจะมีจำนวนถึง 30–100 ตัว ปัจจุบัน นิลกายพบจำนวนมากในที่ สวนลุมพินีวัน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า และเชื่อว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ด้วย เป็นสัตว์ที่เชื่อว่าหากใครได้พบเห็น จะพบกับความเป็นสิริมงคล แต่นิลกายก็ถือเป็นสัตว์ที่รบกวนกินพืชผลของเกษตรกรเสียหายได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก ทางการอินเดียจึงอนุญาตให้ล่าสัตว์ชนิดนี้ได้อย่างถูกกฎหมาย ขณะที่อีกไม่น้อยถูกรถชน นอกจากนี้ยังต้องขาดแคลนที่อยู่ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และมีศัตรูตามธรรมชาติอีกอย่างคือเสือและสิงโต ทำให้ปัจจุบันเหลือปริมาณ นิลกายอยู่ไม่มากแล้ว ในอินเดียมีประมาณ 100,000 ตัวเท่านั้น ส่วนที่รัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกาถูกนำไปเลี้ยงในสวนสัตว์บ้าง ในธรรมชาติบ้าง ช่วงทศวรรษ 1920 เหลือปริมาณนิลกายประมาณ 1,500 ตัว สำหรับในประเทศไทย นิลกายมีอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งได้ตกลูกในไทยมาแล้วถึง 4 ตัว นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับซาวลา (Pseudoryx nghetinhensis) ที่พบในป่าทึบของเวียดนามอีกด้ว. ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ruminantia สัตว์เคี้ยวเอื้องประกอบไปด้วยสัตว์ส่วนใหญ่ในอันดับนี้ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ, กวาง และแอนทิโลป ลักษณะร่วมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ก็คือ มี กระเพาะ 4 ห้อง ที่เมื่อกินอาหารไปแล้ว คือ หญ้า คายออกมาเคี้ยวอย่างช้า ๆ อีกครั้งในเวลากลางคืน ก่อนจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ Rumen (ผ้าขี้ริ้ว), Reticulum (รังผึ้ง), Omasum (สามสิบกลีบ) และ Abomasum (กระเพาะแท้ หรือกระเพาะจริง).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นิลกายและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง

นิลกายและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลางคืนวัววงศ์วัวและควายสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหญ้าอันดับสัตว์กีบคู่แอนทิโลป

กลางคืน

กลางคืน กลางคืน (Night) คือช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่ เวลากลางคืนตรงข้ามกับเวลากลางวันซึ่งรวมกันเป็น 24 ชั่วโมง ช่วงเวลามีความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ฤดูกาล ละติจูด ลองติจูด และเขตเวล.

กลางคืนและนิลกาย · กลางคืนและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

วัว

วัว หรือ โค (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: งัว) เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว 10,500 ปีก่อนBollongino, Ruth & al.

นิลกายและวัว · วัวและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วัวและควาย

วงศ์วัวและควาย เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovidae จัดเป็นสัตว์กินพืช ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและผูกพันอย่างดีในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและปศุสัตว์ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่า มีการกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย ในแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย จะมีบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกวาง (Cervidae) เช่น อิมพาลาหรือแอนทีโลป แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสัตว์ในวงศ์นี้.

นิลกายและวงศ์วัวและควาย · วงศ์วัวและควายและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

นิลกายและสัตว์ · สัตว์และอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

นิลกายและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

นิลกายและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

หญ้า

หญ้า เป็นพืชล้มลุกหลายชนิด หลายสกุล ในชั้น Liliopsida วงศ์ Poaceae หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่าวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.) หญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ธูปฤาษี มีพืชชนิดนี้ประมาณ 600 สกุล และมีประมาณ 10,000 ชนิด มีการประเมินกันว่าหญ้าเป็นพืชที่ปกคลุมผิวโลกกว่า 20% ของพืชทั้งหมดบนโลก พืชในวงศ์นี้เป็นพืชที่มีความสำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจมนุษย์ รวมไปถึง ใช้เป็นสนามหญ้า, อาหารหลักที่ปลูกทั่วโลก, และไม้ไผ่ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้างในเอเชีย แต่บางชนิดจัดเป็นวัชพืช ปัจจุบัน หญ้าเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในด้านการนำมาใช้ผลิตพลังงานทดแทนพลังงานทดแทนอีกด้วย เช่นหญ้ามิสแคนทัส และ หญ้ามิสแคนทัสช้าง พืชในวงศ์หญ้าที่เรารู้จักดี เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ข้าวโอ้ต ข้าวไรย์ ลูกเดือย หญ้าไรย์ อ้อย ไผ่ ตะไคร้ เป็นต้น.

นิลกายและหญ้า · หญ้าและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

นิลกายและอันดับสัตว์กีบคู่ · อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้องและอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

แอนทิโลป

วาดของส่วนหัวและเขาของแอนทิโลปหลายชนิด แอนทิโลป (antelope) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ในหลายสกุล ในอันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) โดยทั่วไปแล้วแอนทิโลปจะมีลักษณะคล้ายกับกวางซึ่งเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนกัน แต่อยู่ในวงศ์กวาง (Cervidae) และคำนิยามในพจนานุกรมก็มักจะระบุเช่นนั้นว่า แอนทิโลปเป็นสัตว์จำพวกเนื้อและกวางชนิดที่มีเขาเป็นเกลียว หรือบางทีก็แปลว่า ละมั่ง แต่ที่จริงแล้วแอนทิโลปมิใช่กวาง แม้จะมีรูปร่างภายนอกคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่แอนทิโลปเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับวัวหรือควาย, แพะ หรือแกะ เนื่องจากจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน ซึ่งลักษณะสำคัญของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ เขามีลักษณะโค้งเป็นเกลียว แต่ข้างในกลวง และมีถุงน้ำดี แอนทิโลปกระจายพันธุ์ไปในแอฟริกาและยูเรเชีย แต่ไม่พบในประเทศไทย โดยสัตว์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นแอนทิโลปได้ในประเทศไทย ได้แก่ เลียงผา และกวางผา ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ตามภูเขาสูง พบเห็นตัวได้ยาก คำว่า แอนทิโลป ปรากฏครั้งแรกในภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1417 โดยได้รับมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า หรืออาจจะมาจากภาษากรีกคำว่า "anthos" ซึ่งหมายถึง "ดอกไม้" และ "ops" ที่หมายถึง "ตา" อาจหมายถึง "ตาสวย" หรือแปลได้ว่า "สัตว์ที่มีขนตาสวย" แต่ในระยะต่อมาในเชิงศัพทมูลวิทยาคำว่า "talopus" และ "calopus" มาจากภาษาละตินในปี ค.ศ. 1607 ใช้เป็นครั้งแรกเพื่อเรียกสัตว์จำพวกกวาง แอนทิโลปมีประมาณ 90 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา มี 30 สกุล กระจายไปในวงศ์ย่อยต่าง ๆ เช่น Alcelaphinae, Antilopinae, Hippotraginae, Reduncinae, Cephalophinae, Bovinae รวมถึงอิมพาลา บางครั้งก็ถูกเรียกว่าแอนทิโลปบ้างเหมือนกัน.

นิลกายและแอนทิโลป · อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้องและแอนทิโลป · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นิลกายและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง

นิลกาย มี 52 ความสัมพันธ์ขณะที่ อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง มี 35 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 10.34% = 9 / (52 + 35)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นิลกายและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »