โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิยามของตราและแพรประดับ (มุทราศาสตร์)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นิยามของตราและแพรประดับ (มุทราศาสตร์)

นิยามของตรา vs. แพรประดับ (มุทราศาสตร์)

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั. แพรประดับ (Torse) ในมุทราศาสตร์ “แพรประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็นที่มีลักษณะเหมือนมาลาที่ทำด้วยผ้าบิดเป็นเกลียวบนหมวกเกราะและเครื่องยอด ที่ใช้รัดพู่ประดับ (mantling) ให้อยู่กับที่ “แพรประดับ” ก็เช่นเดียวกับพู่ประดับหมวกเกราะจะเป็นสองสีที่เป็นคู่สีเดียวกัน ที่ทำจากสายริบบิ้นสองสายบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันที่เป็นสี (Tincture) เดียวกับสีหลักของโล่ซึ่งเป็นสีประจำเหล่า “แพรประดับ” มักจะเรียกว่า “มาลาประดับ” (Wreath) “แพรประดับ” บางครั้งก็จะใช้ถือโดยนักรบครูเสดเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ได้รับจากสตรีที่เป็นที่รักเมื่อจากไปสงคราม คล้ายกับผ้าเช็ดหน้าไว้ผูกรอบหมวกเกราะ หรือผูกตรงรอยต่อระหว่างหมวกกับเครื่องยอดเช่น “On a wreath of the colours x and y…” (“บนมาลาประดับเป็นสี ก และ ข”) แพรประดับของตราแผ่นดินของแคนาดานิยามว่า “On a wreath of the colours Argent and Gules, a lion passant guardant Or” (“บนมาลาประดับเป็นสีขาวและสีแดง, สิงโตยืนยกเท้าหน้าสีทอง”) “แพรประดับ” นอกจากนั้นแพรประดับก็ยังใช้ในการตกแต่งสัตว์ในมุทราศาสตร์ที่อาจจะแต่งเป็นมงกุฎหรือเป็นมาลัยคล้องคอ ไฟล์:Lev vyskakujici.svg|สิงโตครึ่งตัวบนแพรประดับ ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|ตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:30FARegtCOA.jpg|ตราอาร์มของ 30th Field Artillery Regiment Coat Of Arms ของสหรัฐอเมริกา ไฟล์:Chadderton Urban District Council - coat of arms.png|ตราของอดีตเทศบาลเมืองแชดเดอร์ทันในอังกฤษ ไฟล์:Coat of arms of Northwest Territories.svg|ตราของ Northwest Territories ในแคน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นิยามของตราและแพรประดับ (มุทราศาสตร์)

นิยามของตราและแพรประดับ (มุทราศาสตร์) มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)มุทราศาสตร์สิงโตในมุทราศาสตร์สีทอง (มุทราศาสตร์)สีแดง (มุทราศาสตร์)หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)ผิวตรา (มุทราศาสตร์)ตราอาร์มโล่ (มุทราศาสตร์)เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)

ู่ประดับ หรือ ประดับหลัง (Mantling หรือ lambrequin) ในมุทราศาสตร์ “พู่ประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น ที่มีลักษณะเหมือนพู่ที่ผูกติดกับหมวกเกราะที่ตั้งอยู่เหนือโล่ภายในตราและเป็นฉากหลังของโล่ ในการบรรยายพู่ประดับมักจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการป้องกัน (มักจะทำด้วยผ้าลินนิน) ที่ใช้โดยอัศวินบนหมวกเกราะ ประการที่สองเพื่อเป็นการช่วยลดความรุนแรงเมื่อถูกโจมตี ซึ่งทำให้วาดเป็นชายขาดเป็นริ้ว มีแต่ในบางกรณีที่เป็นผ้าทั้งชิ้นที่ปรากฏบนตราของนักบวชที่ใช้หมวกเกราะและพู่ประดับเพื่อแสดงว่านักบวชมิได้เข้าต่อสู้ในการรบ โดยทั่วไปแล้วพู่ประดับจะนิยามว่า “mantled x, doubled” “y”(“พู่ประดับ ก สองด้าน ข”) ผ้าที่ใช้เป็นพู่มีสองด้านที่มักจะใช้สีที่เป็นที่เป็นสีหลักของตราหรือสีประจำเหล่า (ดูรายละเอียดการใช้สีในบทความผิวตรา) แต่ก็มีบางกรณีที่มิได้เป็นไปตามกฎที่ว่านี้หรือด้านหน้าอาจจะมีสองสีที่นิยามว่า “per pale of x and y”(“ ผ่ากลาง สี ก และ สี ข”) หรือทั้งด้านนอกและในจะผ่ากลางเป็นสองสี และบางครั้งก็จะแบ่งต่างไปจากการผ่ากลาง แต่ก็มีไม่มากนัก และที่มีบ้างคือการใช้ผ่ากลางที่เป็นผิวตราโลหะสองชนิด หรือพู่ประดับทั้งหมดเป็นสีเดียว พู่ประดับของ Black Loyalist Heritage Society เป็นพู่ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นพู่ที่ประกอบด้วยขนสัตว์สองนอกและใน (เออร์มินบุด้วยเออร์มิน) ตราแผ่นดินของแคนาดาพู่ประดับสองสีแดงและขาวหรือ “argent doubled gules” หรือ “พื้นขาว ด้านหลังสีแดง” ที่เป็นใบเมเปิล ตราอาร์มของหลวงเช่นตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรหรือตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะมีนิยามพู่ประดับว่า “Or, lined ermine” หรือ “พื้นทอง, บุเออร์มิน” ซึ่งเป็นลักษณะที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซิริล วูดส์ บารอนแห่งสเลนมีพู่ประดับที่นิยามว่า “tasselled Gold” หรือ “พู่ประดับปลายเป็นพู่สีทอง” ในสมัยแรกของการออกแบบเครื่องยอดก่อนที่จะมีแพรประดับ ก็มีการใช้จุลมงกุฎและมาลา (chapeau) และสิ่งตกแต่งก็จะต่อเนื่องลงมาที่นิยามว่า “continued into the mantling” หรือ “ต่อลงมาเป็นพู่ประดับ” ซึ่งยังคงใช้กันมากในเยอรมนี ไฟล์:Grosses_Wappen_Celle.png|พู่ประดับเป็นริ้วสองด้านสองสีของเซลเลอในเยอรมนี ไฟล์:Wappen Pirna.png|พู่ประดับสองสีของแพร์นาในเยอรมนี ไฟล์:Royal Coat of Arms of the United Kingdom.svg|พู่ประดับทองและเออร์มินของตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ไฟล์:Duke of Argyll coat of arms.svg|พู่ประดับเออร์มินของตราของดยุคแห่งอาร์กาล์ย ไฟล์:Wappen-wenkheim.png|พู่ประดับทั้งชิ้นที่ไม่เป็นริ้ว ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าของตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:Escudo de Quilpué.svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าแต่เป็นเถาองุ่นของ Quilpué ในชิลี ไฟล์:Coat of arms of Bahrain.svg|พู่ประดับไม่มีหมวงของตราแผ่นดินของบาห์เรน ไฟล์:Coat_of_Arms_of_Russian_Empire.svg|ตราแผ่นดินของรัสเซีย ไฟล์:ArmesADN3.png|พู่ประดับทางศาสน.

นิยามของตราและพู่ประดับ (มุทราศาสตร์) · พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

นิยามของตราและมุทราศาสตร์ · มุทราศาสตร์และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตในมุทราศาสตร์

งโต (Lion) เป็นสัตว์ที่นิยมใช้เป็นเครื่องหมายกันในตราอาร์มกันมากที่สุดเครื่องหมายหนึ่ง เพราะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ การรักษาเกียรติยศ ความแข็งแกร่ง และ ความเป็นสัตว์ที่ถือกันว่าสูงศักดิ์ ที่เดิมถือกันว่าเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง.

นิยามของตราและสิงโตในมุทราศาสตร์ · สิงโตในมุทราศาสตร์และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง (มุทราศาสตร์)

ีทองทางซ้าย หรือ ลายประ ตราแผ่นดินของนอร์เวย์ สีทอง หรือ ออร์ (Or (heraldry)) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีทอง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่ากลุ่ม “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “ทอง” ก็จะเป็นลายประที่เป็นจุดห่างจากกันเท่าๆ กัน “ออร์” มักจะปรากฏเป็นสีเหลือง แต่บางทีก็ใช้ทองคำเปลวถ้าเป็นภาพในหนังสือวิจิตร หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “Or (heraldry)” ของคำว่า “Or (heraldry)” คำว่า “Or” มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า “Or” ที่แปลว่า “ทอง” บางครั้งก็จะใช้คำว่า “Gold” แทนที่จะใช้คำว่า “Or” ในการให้นิยามของตรา บางครั้งเพื่อป้องกันการใช้คำว่า “Or” ซ้ำกันหลายครั้ง หรือเพราะเป็นคำที่นิยมใช้กันเมื่อทำการบันทึก หรือเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกนิยามอาจจะนิยมใช้คำว่า “Gold” มากกว่า อักษร “O” ของ “Or” มักจะสะกดด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่นในคำนิยาม Gules, a fess Or (พื้นตราสีแดง, แถบขวางสีทอง) เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า “or” (ที่แปลว่าหรือ) ที่เป็นคำสันธานในภาษาอังกฤษ รงคตราสีทองเป็นสัญลักษณ์ของ.

นิยามของตราและสีทอง (มุทราศาสตร์) · สีทอง (มุทราศาสตร์)และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง (มุทราศาสตร์)

กูลสสีแดงทางซ้าย หรือ แถวเส้นดิ่งทางขวา สีแดง หรือ กูลส (Gules) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่หมายถึงลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีแดง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “กูลส” ก็จะเป็นแถวเส้นดิ่งหรือ บริเวณที่จารึกด้วยอักษรย่อ “gu.” ของคำว่า “Gules” คำว่า “Gules” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า ว่า “goules” หรือ “gueules” ที่แปลว่า “คอหอย” ที่หมายถึงปากของสัตว์ ปากและคอหอยมีสีแดงฉะนั้นจึงเป็นคำที่ใช้เรียกสี นักประพันธ์ทางมุทราศาสตร์เชื่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วว่าคำว่า “Gules” มาจากภาษาเปอร์เซีย “gol” หรือ “กุหลาบ” ที่เข้ามาในยุโรปทางสเปนมุสลิมหรืออาจจะนำกลับมาโดยนักรบครูเสดที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง แต่เบร้าท์กล่าวว่าไม่มีหลักฐานใดที่สนับสนุนข้อเสนอนี้ ในเครื่องอิสริยาภรณ์โปแลนด์ “กูลส” เป็นสีที่นิยมใช้เป็นพื้นตรามากที่สุด ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราวครึ่งหนึ่งของตราอาร์มของขุนนางในโปแลนด์ใช้พื้นตราสีแดงโดยมี เครื่องหมาย (Charge) ที่เป็นสีขาว หนึ่งหรือสองเครื่องหมายบนพื้น รงคตราสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของ.

นิยามของตราและสีแดง (มุทราศาสตร์) · สีแดง (มุทราศาสตร์)และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)

หมวกเกราะ หรือ มาลา (Helmet หรือ helm) ในมุทราศาสตร์ “หมวกเกราะ” หรือ “มาลา” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่ตั้งอยู่เหนือโล่และเป็นฐานสำหรับแพรประดับและเครื่องยอด ลักษณะของหมวกเกราะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและฐานะทางสังคมของผู้เป็นเจ้าของตรา ซึ่งวิวัฒนาการกันตลอดมาพร้อมๆ กับการวิวัฒนาการของหมวกเกราะทางทหารตามความเป็นจริงFox-Davies (1909), p. 303.

นิยามของตราและหมวกเกราะ (มุทราศาสตร์) · หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ผิวตรา (มุทราศาสตร์)

ผิวตรา (Tincture) ในภาษามุทราศาสตร์ “ผิวตรา” เป็นองค์ประกอบของการให้คำนิยามตราอาร์มหรือธงที่หมายถึงสีที่ใช้หรือลักษณะของผิวของตรา ผิวตราแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มๆ ที่มีสีอ่อนเรียกว่า “โลหะ”, กลุ่มๆ ที่มีสีแก่เรียกว่า “สี”, กลุ่มๆ ที่มีสีต่างจากสีหลักเรียกว่า “สีเพี้ยน” (stains), กลุ่ม “ขนสัตว์” (furs), กลุ่ม “ธรรมชาติ” (proper หรือ natural) สีกลุ่มหลังเป็นสีที่พบตามธรรมชาติ กฎพื้นฐานสองสามข้อของมุทราศาสตร์คือผิวตราในกลุ่มเดียวกันจะไม่ใช้ด้วยกันเช่นสีทองและสีเงินจะไม่ใช้ด้วยกันเพราะทั้งสองสีเป็นสีในกลุ่ม “โลหะ” แต่ผิวตราจากต่างกลุ่มกันใช้ด้วยกันได้ เช่นผิวตราจากกลุ่ม “ขนสัตว์” ใช้กันได้กับผิวตราจากกลุ่ม “ธรรมชาติ” เป็นต้น กฎเหล่านี้บรรยายในบทความกฎของผิวตรา กลุ่ม “สีเพี้ยน” มาเริ่มใช้กันในยุคกลางตอนปลายแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนักเพราะไม่ตรงกับปรัชญาของการใช้สีของมุทราศาสตร์ที่เน้นการใช้ภาพที่เด่นและสีที่สด ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็เกิดความนิยมที่ค่อนข้างแปลกที่จับคู่ระหว่างสีตรากับดาวเคราะห์ อัญมณี ดอกไม้ สัญลักษณ์โหราศาสตร์ หรืออื่นๆ แต่ก็เลิกทำกันไปและถือกันว่าเป็นเรื่องนอกขอบเขตของมุทราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มมีการใช้ “ภูมิทัศน์” และผิวตรากลุ่มสี “ธรรมชาติ” โดยเฉพาะในการประยุกต์ตรา โดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันมากกว่าในมุทราศาสตร์อังกฤษ แต่ความนิยมนี้ก็เช่นกันถือว่าทำให้คุณค่าของมุทราศาสตร์ลดลง.

นิยามของตราและผิวตรา (มุทราศาสตร์) · ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ตราอาร์มและนิยามของตรา · ตราอาร์มและแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

โล่ (มุทราศาสตร์)

ล่ หรือ โล่ภายในตรา (Escutcheon หรือ scutcheon) ในมุทราศาสตร์ “โล่” เป็นองค์ประกอบที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น บางครั้งก็จะมีการใช้คำว่า “Crest” (“เครื่องยอด”) แทน “Escutcheon” หรือ “โล่กลางตรา” ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง รูปทรงของ “โล่กลางตรา” มาจากรูปทรงของโล่ที่ใช้โดยอัศวินในการต่อสู้ในยุคกลาง รูปทรงที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่นและยุคสมัย เพราะโล่เป็นเครื่องหมายของสงครามจึงเป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับบุรุษเท่านั้น สตรีชาวอังกฤษตามธรรมเนียมแล้วจะใช้โล่ทรงข้าวหลามตัด (Lozenge) ขณะที่สตรีและนักบวชบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปใช้ทรงทรงคาร์ทูช (Cartouche) หรือทรงรูปไข่ ทรงอื่นที่ใช้กันก็มีทรงกลม (roundel) ที่มักจะใช้โดยตราสำหรับชนพื้นเมืองแคนาดา (Aboriginal Canadians) ที่มอบให้โดยสำนักงานมุทราศาสตร์แห่งแคนาดา (Canadian Heraldic Authority) คำว่า “Escutcheon” มาจากภาษาอังกฤษกลาง “escochon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “escuchon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “Escochon” ที่มาจากภาษาลาตินพื้นบ้าน (Vulgar Latin) “scūtiōn-” จากภาษาลาติน “scūtum” ที่แปลว่า “โล่” จากความหมายนี้ในมุทราศาสตร์ คำว่า “Escutcheon” สามารถหมายถึงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของตระกูลและเกียรติยศของตระกูล คำว่า “inescutcheon” หรือ “โล่ใน” เป็นโล่ที่มีขนาดเล็กกว่าโล่หลักที่ตั้งอยู่ในบริเวณโล่หลัก ที่อาจจะใช้สำหรับ “pretense” หรือการวางโล่เหนือโล่อีกโล่หนึ่งของตนเอง ซึ่งคือการวางโล่เหนือโล่หรือสัญลักษณ์ของดินแดนในปกครอง หรือ เพียงเพื่อเป็นเครื่องหมายตกแต่งโดยไม่มีความหมายลึกไปกว่านั้น.

นิยามของตราและโล่ (มุทราศาสตร์) · แพรประดับ (มุทราศาสตร์)และโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

รขลักษณ์ หรือ เรขลักษณ์มาตรฐาน (Ordinary หรือ honourable ordinary) ในมุทราศาสตร์ “เรขลักษณ์” คือองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่อยู่ในกรอบของเส้นตรงและแล่นจากด้านหนึ่งของตราไปยังอีกด้านหนึ่ง หรือจากตอนบนลงมายังตอนล่างของโล่ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มเครื่องหมายที่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) ที่ให้ความสำคัญรองลงมาโดยนักวิชาการทางมุทราศาสตร์บางคน แต่เครื่องหมายในกลุ่มนี้ก็ใช้กันมานานพอกับเรขลักษณ์มาตรฐาน เรขลักษณ์มาตรฐานตามทฤษฎีแล้วจะใช้เนื้อที่หนึ่งในสามของโล่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็จะใช้เนื้อที่แตกต่างกันไป นอกจากเมื่อเรขลักษณ์เป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องหมาย เช่นในตราแผ่นดินของออสเตรียก็จะมีขนาดต่างออกไป คำว่า “เรขลักษณ์มาตรฐาน” และคำว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” เป็นคำที่สร้างความขัดแย้งในหมู่นักมุทราศาสตร์ เพราะเป็นการใช้เรขลักษณ์ที่ไม่มีมาตรฐานและการใช้ก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นการใช้คำทั้งสองจึงไม่ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการทางด้านมุทราศาสตร์ อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ (Arthur Charles Fox-Davies) ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี..

นิยามของตราและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

รื่องยอด (Crest) เป็นองค์ประกอบของตราอาร์มที่ได้ชื่อดังกล่าวเพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่เหนือหมวกเกราะเหมือนหงอนที่อยู่บนหัวนกบางชนิด เครื่องยอดแรกที่สุดของอิสริยาภรณ์เป็นภาพที่เขียนบนพัดโลหะ ที่มักจะนำมาใช้ในการประดับตราอาร์ม ที่เขียนบนโล่ ที่ต่อมาเลิกใช้ไป ต่อมาเครื่องยอดใช้แกะบนหนังหรือวัสดุอื่น เดิม “เครื่องยอด” มักจะติดต่อลงมายังพู่ประดับ แต่ปัจจุบันเครื่องยอดมักจะอยู่เหนือผ้าคาด (torse) ที่ประกอบด้วยสีหลักของโล่ (สีประจำเหล่า) แต่บางครั้งก็จะมีการใช้จุลมงกุฎแทนผ้าคาด แต่ก็มีบ้างในบางกรณีก็มีจุลมงกุฎเหนือผ้าคาดและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยอด เครื่องยอดจุลมงกุฎที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือรูปสัญลักษณ์ของจุลมงกุฎดยุก ที่มีสี่แฉกแทนที่จะเป็นแปดแฉก ถ้าเป็นเครื่องยอดของเมืองก็มักจะเป็น “มงกุฎเชิงเทิน” (mural crown) หรือจุลมงกุฎในรูปของหยักเชิงเทิน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องยอดก็อาจจะเป็นสัตว์โดยเฉพาะสิงโต ตามปกติมักจะเป็นครึ่งด้านหน้า, มนุษย์ที่มักจะเป็นรูปครึ่งตัว, แขนหรือมือถืออาวุธ หรือปีกนก ในเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงเครื่องยอดมักจะนำมาจากเครื่องหมายประจำกลุ่มในรูปของหมวกสูง, ขนนกบนหมวกสลับสี หรือแตรงอนคู่ แตรอาจจะมีรูตรงปลายเพื่อเสียบช่อขนนกหรือช่อดอกไม้.

นิยามของตราและเครื่องยอด (มุทราศาสตร์) · เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นิยามของตราและแพรประดับ (มุทราศาสตร์)

นิยามของตรา มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ แพรประดับ (มุทราศาสตร์) มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 19.30% = 11 / (41 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นิยามของตราและแพรประดับ (มุทราศาสตร์) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »