โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิกาย

ดัชนี นิกาย

นิกายในศาสนา (Religious denomination) หมายถึง หมู่ หรือพวกคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก.

25 ความสัมพันธ์: ชีอะฮ์มหายานมหานิกายลัทธิศักติลัทธิไศวะวัชรยานศาสนาศาสนาพุทธแบบทิเบตออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ธรรมยุติกนิกายคริสตจักรปฏิรูปคอปติกออร์ทอดอกซ์คาทอลิกซุนนีนักบวชนามธารีนิกายลูเทอแรนแบปทิสต์แองกลิคันโรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์เพรสไบทีเรียนเถรวาทเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์

ชีอะฮ์

ีอะฮ์ (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด ว่ามาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์และท่านนบีมุฮัมมัดเท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระอง.

ใหม่!!: นิกายและชีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: นิกายและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มหานิกาย

มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็นมหานิกายและธรรมยุติกนิกายยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ทั้งสิ้น จนเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้พระองค์คิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิมว่า พระส่วนมาก หรือ มหานิกาย ซึ่งคำ มหานิกาย นั้น มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี มหนฺต + นิกาย แปลว่าพวกมาก กล่าวโดยสรุป มหานิกายก็คือ พระสงฆ์สายเถรวาทลังกาวงศ์ดั้งเดิมในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุติกนิก.

ใหม่!!: นิกายและมหานิกาย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิศักติ

ลัทธิ​ศักติ​ ​คือ​ลัทธิ​ที่​บูชา​เทพี​เป็นหลักสำคัญ ​ปรัชญา​ของ​ลัทธิ​ศักติ​มี​ว่า​ ​ใน​​มหาเทพ​ ​มี​พลัง​อำนาจ​สองชนิด​ ​คือ​ ​พลัง​อำนาจ​ที่​เป็น​ของ​บุรุษ​เพศ​และ​พลัง​อำนาจ​ที่​เป็น​ของ​สตรี​เพศ​ ​เหมือน​มนุษย์​ผู้​ชาย​ทั่ว​ไป​ย่อม​มี​ลักษณะ​นิสัย​ 2 ​ลักษณะ​ ​คือ​ลักษณะ​ที่​เป็น​ชาย​ ​มี​ความ​แข็ง​แรง​ ​กล้า​หาญ​ ​อด​ทน​ ​และ​มี​อารมณ์​ทาง​เพศ​แบบ​ชาย​ ​และ​ลักษณะ​ที่​เป็น​หญิง​ ​มี​ความ​อ่อน​หวาน​ ​นุ่ม​นวล​ ​รัก​สวย​รัก​งาม​ ​ขี้​อาย​ ​และ​มี​อารมณ์​ทาง​เพศ​แบบ​หญิง​ ​ลัทธิ​ศักติ​นำ​พลัง​อำนาจ​ที่​เป็น​ของ​สตรี​เพศ​มา​พัฒนา​เพื่อ​ให้​เกิด​ความ​อุดม​สมบูรณ์​แก่​โลก​ ​โดย​พรรณนา​ว่า​เป็น​​ศักติ​หรือ​​ชายา​ของ​มหาเทพ​ 3 ​องค์​ ​คือ​.

ใหม่!!: นิกายและลัทธิศักติ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิไศวะ

การบูชาพระศิวะ ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะ (Shaivism) เป็นลัทธินิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าหรือพรหมัน ศาสนิกชนในลัทธินี้เรียกว่าชาวไศวะ ซึ่งมีรูปแบบความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นหลายกลุ่ม เช่น ศิวสิทธานตะที่มีแนวคิดว่าบุคคลจะหลุดพ้นได้โดยการภักดีต่อพระศิวะ แต่ลัทธิโยคะถือว่าทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรหมันอยู่แล้วGanesh Tagare (2002), The Pratyabhijñā Philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1892-7, pages 16–19 ลัทธินี้ถือพระเวทและอาคมเป็นคัมภีร์สำคัญDavid Smith (1996), The Dance of Siva: Religion, Art and Poetry in South India, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-48234-9, page 116Mariasusai Dhavamony (1999), Hindu Spirituality, Gregorian University and Biblical Press, ISBN 978-88-7652-818-7, pages 31–34 with footnotesMark Dyczkowski (1989), The Canon of the Śaivāgama, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0595-8, pages 43–44 ลัทธิไศวะมีที่มาจากการนับถือพระรุทรในสมัยพระเวท (ราวสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช)Peter Bisschop (2011),, Oxford University Press คัมภีร์เศวตาศวตโรปนิษัทซึ่งแต่งขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชปรากฏคำว่า รุทร ศิวะ มเหศวร แต่การตีความคำเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่D Srinivasan (1997), Many Heads, Arms, and Eyes, Brill, ISBN 978-9004107588, pages 96-97 and Chapter 9 จนถึงคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ลัทธิไศวะทั้งสายภักตินิยมและสายโยคะก็เริ่มแพร่หลายในหลายอาณาจักร รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะหลายพันแห่งในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม ความเชื่อของลัทธิไศวะมีหลายรูปแบบ บางกลุ่มถือว่าพระศิวะคือมหาเทพพระผู้สร้าง รักษา และทำลายล้างโลก บางกลุ่มมองว่าพระศิวะหมายถึงอาตมันอันเป็นภาวะแก่นสารของสรรพสิ่ง ในด้านการปฏิบัติ มีการบูชาพระศิวะรวมถึงพระปารวตีผู้เป็นศักติ (ซึ่งแบบขนบของลัทธิศักติ) ตามโบสถ์พราหมณ์ต่าง ๆ บางกลุ่มเน้นการถือพรตฝึกโยคะเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะที่เป็นอาตมันภายในตนเอง.

ใหม่!!: นิกายและลัทธิไศวะ · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: นิกายและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: นิกายและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: นิกายและศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ (Oriental Orthodoxy) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ตะวันออกที่ยอมรับมติสภาสังคายนาสากลเฉพาะ 3 ครั้ง ได้แก่ สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง สังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง และสังคายนาแห่งเอเฟซัส และไม่ยอมรับมติของสภาสังคายนาแห่งแคลซีดัน ดังนั้นกลุ่มคริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จึงมีอีกชื่อว่าคริสตจักรออเรียนทัลเก่า คริสตจักรไมอาฟิไซต์ หรือคริสตจักรนอน-แคลซีโดเนียน ฝ่ายคริสตจักรตะวันตกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรียกว่าคริสตจักรกลุ่มนี้ว่าพวก "เอกธรรมชาตินิยม" (Monophysitism) คริสตจักรในนิกายนี้ไม่ได้ร่วมสามัคคีธรรมกับคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์แต่อยู่ระหว่างการเสวนาเพื่อกลับไปรวมกันเป็นเอกภาพ คนมักเข้าใจสับสนระหว่าง ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ กับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เพราะคำว่า Oriental และ Eastern มีความหมายเหมือนกันว่า "ตะวันออก" แต่ในความจริงเป็นคนละกลุ่มกัน ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ คอปติกออร์ทอดอกซ์ เอธิโอเปียนออร์ทอดอกซ์ เอริเทรียนออร์ทอดอกซ์ ซีเรียกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียน ห้าคริสตจักรนี้แม้จะรวมอยู่ในคอมมิวเนียนเดียวกันแต่ก็มีระบบการปกครองแยกกันเป็นเอกเทศ คริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์แยกออกมาจากคริสตจักรอื่น ๆ เพราะมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการใช้ศัพท์บางคำอธิบายลักษณะของพระคริสต์ (เรียกว่าปัญหาทางศัพทวิทยาทางคริสตวิทยา) สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง มีมติว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้า กล่าวคือพระคริสต์ผู้เป็นพระบุตรมีสาระเดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา และสังคายนาแห่งเอเฟซัส มีมติว่าพระเยซูผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ทรงมีภาวะเดียว ต่อมาอีก 20 ปี สังคายนาแคลซีดันได้มีมติว่าพระเยซูทรงมีทั้งธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ในตัวบุคคลเดียว หลายคนไม่ยอมรับเพราะเห็นว่ามตินี้เป็นคำสอนนอกรีตแแบบเดียวกับลัทธิเนสทอเรียสซึ่งถูกประณามไปแล้วที่เอเฟซัสเพราะเห็นว่าพระคริสต์มีของสองภาวะแตกต่างกัน ภาวะหนึ่งคือพระเจ้า อีกภาวะคือมนุษ.

ใหม่!!: นิกายและออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: นิกายและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมยุติกนิกาย

ตราคณะธรรมยุต ธรรมยุติกนิกาย หรือ คณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ได้มีการประชุมและมีมติให้เรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ว่า "มหานิกาย".

ใหม่!!: นิกายและธรรมยุติกนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรปฏิรูป

ริสตจักรปฏิรูปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 415-6 (Reformed churches) เป็นกลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสต์ในนิกายโปรเตสแตนต์ที่มีปรัชญาคล้ายคลึงกับลัทธิคาลวิน ที่มีต้นตอที่เกี่ยวข้องกับลัทธิที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะคริสตจักรปฏิรูปสวิสเซอร์แลนด์ที่นำโดยฮุลดริช ซวิงลี (Huldrych Zwingli) และหลังจากนั้นไม่นานนักก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันกลาง แต่ละชาติที่ระบบปฏิรูปเผยแพร่เข้าไปต่างก็ก่อตั้งระบบการปกครองลัทธิของตนเองขึ้น ลัทธิบางลัทธิก็ขยายตัวไปทั่วโลกและบางลัทธิก็แบ่งย่อยต่อไปอีก การสั่งสอนปรัชญาคาลวินก็คงติดตามลัทธิเหล่านี้ไปด้วยที่สะท้อนให้เห็นจากปรัชญาของแต่ละลัทธิ แต่ในบางกรณีก็มีได้เป็นปรัชญาหลักของลัทธิอีกต่อไป จากการสำรวจในปี..

ใหม่!!: นิกายและคริสตจักรปฏิรูป · ดูเพิ่มเติม »

คอปติกออร์ทอดอกซ์

วิหารของศาสนาคริสต์คอปติกในอียิปต์ พระเยซูในศิลปะคอปติก คริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรีย (คอปติก: Ϯⲉⲕ̀ⲕⲗⲏⲥⲓⲁ ̀ⲛⲣⲉⲙ̀ⲛⲭⲏⲙⲓ ̀ⲛⲟⲣⲑⲟⲇⲟⲝⲟⲥ ti.eklyseya en.remenkimi en.orthodoxos ente alexandhrias; Coptic Orthodox Church of Alexandria) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอียิปต์และภูมิภาคตะวันออกกลาง เป็นส่วนหนึ่งของนิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ซึ่งแยกออกมาจากนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์หลังการสังคายนาแห่งแคลซีดันในปี..

ใหม่!!: นิกายและคอปติกออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คาทอลิก

ทอลิก (Catholic มาจากภาษากรีกคำว่า καθολικός) แปลว่า สากล ทั่วไป เป็นรูปแบบหนึ่งในศาสนาคริสต์ ที่มีแนวศรัทธา เทววิทยา หลักความเชื่อ พิธีกรรม จริยศาสตร์ จิตวิญญาณ พฤติกรรม เป็นลักษณะเฉพาะของตน ตลอดจนประชากรในนิกายนั้น คำว่าคาทอลิก มีความหมายโดยสรุปได้ 3 อย่าง คือ.

ใหม่!!: นิกายและคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ซุนนี

ซุนนี (سُنِّي) คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วะอัลญะมาอะฮ์ (أهل السنة والجماعة, นิยมอ่านว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกซะละฟี.

ใหม่!!: นิกายและซุนนี · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: นิกายและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

นามธารี

นามธารี (Namdhari) เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาซิกข์ (Sikh) ศาสนาซิกข์นั้นเป็นศาสนาซึ่งมีชื่อตามลักษณะคำสอนของศาสนา เพราะคำว่า “ซิกข์” (Sikh) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “สิข” เป็นภาษาปัญจาบีซึ่งเป็นภาษาหลักของศาสนา ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า “สิกขา” หรือในภาษาสันสกฤตตรงกับคำว่า “ศิษย์” ซึ่งหมายถึง ผู้ศึกษา ผู้ใฝ่เรียน ลูกศิษย์หรือสาวก ดังนั้น ทุกคนจึงเป็นศิษย์ของครู หรือ “คุรุ” (Guru) ซึ่งหมายถึงองค์พระศาสดา และการเข้าถึงหลักการของศาสนาจะต้องผ่านทาง “คุรุ” หรือครูเท่านั้น จึงทำให้ต้องมี “คุรุ” สืบต่อมาโดยตลอดไม่ขาดช่วงจนถึงปัจจุบัน นามธารี แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) จึงกล่าวได้ว่า ชาวซิกข์-นามธารี คือผู้ที่มีความรัก เชื่อถือศรัทธา และยึดมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อฟังคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาผู้ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ เสมือนอาจารย์ผู้สั่งสอนศิษย์ เพราะชาวซิกข์-นามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “คุรุ” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น.

ใหม่!!: นิกายและนามธารี · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: นิกายและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แบปทิสต์

นิกายแบปทิสต์ (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ แบ๊บติสต์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Baptists) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชื่อของนิกายนี้มาจากหลักปฏิบัติที่ปฏิเสธการทำพิธีบัพติศมาแก่ทารก แต่ยอมรับเฉพาะพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเท่านั้น คณะแบปทิสต์กำเนิดขึ้นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในประเทศอังกฤษราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วยุโรปเหนือ และทวีปอื่น ๆ ตามลำดับ ในปี..

ใหม่!!: นิกายและแบปทิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: นิกายและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: นิกายและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: นิกายและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เพรสไบทีเรียน

็อง กาลแว็ง นิกายเพรสไบทีเรียนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 431 (Presbyterianism) เป็นหนึ่งในนิกายในศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีต้นกำเนิดที่สกอตแลนด์ ยึดถือแนวคิดทางเทววิทยาแบบลัทธิคาลวิน และมีการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน หลักเทววิทยาแบบเพรสไบทีเรียนเน้นเรื่องอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า สิทธิอำนาจของคัมภีร์ไบเบิล และการรับพระคุณจากพระเจ้าได้โดยการศรัทธาในพระเยซูเท่านั้น ในสกอตแลนด์วิธีการปกครองคริสตจักรของเพรสไบทีเรียนได้รับการรับประกันตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 นิกายเพรสไบทีเรียนสมัยใหม่สืบเค้าไปได้ถึงการปฏิรูปศาสนาในสกอตแลนด์ คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งปกครองโดยคณะธรรมกิจซึ่งมาจากตัวแทนของคริสตจักรนั้น ในทางทฤษฎีนิกายนี้ไม่มีการแต่งตั้งบิชอป แต่มีการสถาปนาโดยการเลือกตั้งคณะผู้ปกครองขึ้นเพื่อทำหน้าที่อภิบาลคริสต์ศาสนิกชนหรือสมาชิกคริสตจักร รวมไปถึงการตัดสินใจต่าง ๆ ในคริสตจักร มีมัคนายกทำหน้าที่ดูแลสมาชิกและครอบครัวและส่วนมากดูแลเรื่องการเงินของคริสตจักร ผู้ปกครองและมัคนายกจะมีวาระการประจำการ วาระละ 2-3 ปี แล้วแต่คริสตจักรนั้น ๆ จะกำหนด ตำแหน่งผู้ปกครองเมื่อได้รับการสถาปนาแล้วจะอยู่ในศาสนศักดิ์นั้นตลอดชีพ นิกายเพรสไบทีเรียนมีต้นกำเนิดมาจากการปฏิรูปศาสนาในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีฌ็อง กาลแว็งเป็นหนึ่งในนักปฏิรูปคนสำคัญ คริสตจักรปฏิรูปส่วนมากสืบมีวิธีการปกครองที่สามารถสืบย้อนไปได้ทั้งแบบเพรสไบทีเรียนและคองกรีเกชันแนล ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสตจักรเพรสไบทีเรียนหลายแห่งเริ่มมีบทบาทในขบวนการคริสต์ศาสนสัมพันธ์ เช่น การตั้งสภาคริสตจักรสากล บางคริสตจักรในนิกายนี้ยังเริ่มหันมาทำงานร่วมกับคริสตจักรปฏิรูปกลุ่มอื่น ๆ บ้างก็เข้าร่วมกลุ่มกับนิกายอื่นเลย เช่น คริสตจักรคองกรีเกชันแนล ลูเทอแรน แองกลิคัน และเมทอดิสต.

ใหม่!!: นิกายและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: นิกายและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์

ริสตจักรเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ (Seventh-day Adventist Church) เป็นคริสตจักรและนิกายหนึ่งในขบวนการแอดเวนทิสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ ที่ถือวันเสาร์เป็นวันสะบาโต และรอรับเสด็จพระเยซูที่จะเสด็จมาอีกครั้ง นิกายนี้มีพัฒนาการมาจากขบวนการมิลเลไรต์ในสหรัฐอเมริกาช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี..

ใหม่!!: นิกายและเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »