โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นาดทาโทรซาบลีซกา

ดัชนี นาดทาโทรซาบลีซกา

ลงชาติสาธารณรัฐสโลวัก หรือประเทศสโลวาเกีย มีชื่อว่า "นาดทาโทรซาบลีซกา" (สโลวัก: Nad Tatrou sa blýska) อันมีความหมายว่า "สายฟ้าเหนือเขาทาทราส" ทำนองเพลงมาจากเพลงพื้นเมืองของสโลวาเกีย ส่วนเนื้อร้องประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1844 (พ.ศ. 2387) โดยยานโก มาตุสกา (Janko Matúška) เพลงนี้มีต้นกำเนิดมาจากอิทธิพลความคิดโรแมนติค (จินตนิยม) และชาตินิยมในแถบยุโรปตอนกลางในเวลานั้น ซึ่งเพลงนี้ต่อมาได้รับความนิยมจากชาวสโลวาเกียทั่วไปในเหตุการณ์การปฏิวัติปี ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391) เนื้อหาของเพลงโดยรวมเป็นการนำเอาภาพของสายฟ้าเหนือภูเขาทาทราสมาเปรียบเทียบกับภยันตรายที่สโลวาเกียต้องเผชิญและความปรารถนาที่จะฟันฝ่าปัญหาเหล่านั้นไปให้จงได้ ในยุคที่สโลวาเกียยังคงรวมอยู่ในประเทศเชโกสโลวาเกียนั้น ปรากฏว่ามีธรรมเนียมการบรรเลงเพลงนี้ในเวลา 12 นาฬิกาทุกวัน ในเมืองของชาวสโลวัก ต่อมาธรรมเนียมนี้ได้เลิกไปเมื่อมีการแยกตัวเป็น 2 ประเทศ ปัจจุบันนี้ เพลง "นาดทาโทรซาบลีซกา" ใช้บรรเลงเนื่องในวาระพิเศษต่างๆ เช่น การแข่งขันกีฬา เป็นต้น.

24 ความสัมพันธ์: บราติสลาวาชาตินิยมพ.ศ. 2387พ.ศ. 2391พ.ศ. 2461พ.ศ. 2536กแดโดโมฟมูยภาษาสโลวักราชวงศ์ฮาพส์บวร์คราชอาณาจักรฮังการีวิกิพีเดียภาษาอังกฤษศิลปะจินตนิยมจักรวรรดิออสเตรียจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีทวีปยุโรปตราแผ่นดินของสโลวาเกียตราแผ่นดินของฮังการีประเทศสโลวาเกียประเทศเชโกสโลวาเกียประเทศเช็กเกียนิกายลูเทอแรนเพลงชาติเฮ สลาฟ13 ธันวาคม

บราติสลาวา

ราติสลาวา (Bratislava) คือเมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรประมาณ 427,000 คน บราติสลาวาตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสโลวาเกียบน 2 ฝั่งของแม่น้ำดานูบ มีอาณาเขตติดกับประเทศออสเตรียและประเทศฮังการี จึงเป็นเมืองหลวงแห่งเดียวในโลกที่มีอาณาเขตติดต่อกับ 2 ประเทศ เมืองนี้และเวียนนายังเป็นเมืองหลวง 2 แห่งที่ตั้งอยู่ใกล้กันมากที่สุดในยุโรป โดยตั้งอยู่ห่างกันไม่ถึง 60 กิโลเมตร บราติสลาวาเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของสโลวาเกีย เป็นที่ตั้งของทำเนียบประธานาธิบดี รัฐสภา และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ และยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์ โรงละคร หอศิลป์ และสถาบันอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา รวมทั้งสำนักงานใหญ่ของสถาบันทางธุรกิจและการเงินขนาดใหญ่ของสโลวาเกียจำนวนมาก ประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ได้รับอิทธิพลจากหลายเผ่าพันธุ์ ได้แก่ ออสเตรีย เช็ก เยอรมัน ฮังการี ยิว และสโลวัก โดยในอดีตเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาเยอรมันว่า Pressburg เคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรฮังการีภายใต้ Habsburg monarchy ระหว่าง พ.ศ. 2079-2326 และเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ Slovak National Movement เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาวสโลวัก ฮังกาเรียน และเยอรมันหลายแห่ง.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและบราติสลาวา · ดูเพิ่มเติม »

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและชาตินิยม · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2387

ทธศักราช 2387 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและพ.ศ. 2387 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2391

ทธศักราช 2391 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและพ.ศ. 2391 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2461

ทธศักราช 2461 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1918 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและพ.ศ. 2461 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

กแดโดโมฟมูย

กแดโดโมฟมูย? (Kde domov můj?) บ้านของฉันนั้นคือที่ใด? เป็นเพลงชาติเชโกสโลวาเกียและเช็กเกีย ผลงานประพันธ์โดย František Škroup เรียบเรียงทำนองโดย Josef Kajetán Tyl.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและกแดโดโมฟมูย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสโลวัก

ภาษาสโลวัก (slovenčina, slovenský jazyk) เป็นภาษากลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก (กลุ่มเดียวกับภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ และภาษาซอร์เบีย) ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาสโลวักมีความใกล้ชิดกับภาษาเช็กเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ภาษาสโลวักและภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาสลาฟสมัยใหม่สองภาษาเท่านั้นที่ชื่อท้องถิ่นของตนเองมีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า "สลาวิก (Slavic) " (ชาวสโลวาเกีย: slovenčina และชาวสโลวีเนีย: slovenščina) (ส่วน slověnskii เป็นภาษาสลาโวนิกเก่า) ภาษาสโลวักพูดในประเทศสโลวาเกีย (ประมาณ 5 ล้านคน) สหรัฐอเมริกา (500,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศเช็กเกีย (320,000 คน เนื่องมาจากอดีตเชโกสโลวาเกีย) ประเทศฮังการี (20,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โบราณ) ประเทศเซอร์เบีย-วอยวอดีนาภาคเหนือ (60,000 คน ผู้สืบเชื้อสายจากผู้ตั้งถิ่นฐานรุ่นแรก ๆ ในช่วงที่อยู่ภานใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) ประเทศโรมาเนีย (22,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เก่าแก่) ประเทศโปแลนด์ (20,000 คน) ประเทศแคนาดา (20,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรเลีย (เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรีย ประเทศยูเครน ประเทศบัลแกเรีย ประเทศโครเอเชีย (5,000 คน) และประเทศอื่น ๆ บางประเทศ สโลวัก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสโลวาเกีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาในประเทศแคนาดา หมวดหมู่:ภาษาในสาธารณรัฐเช็ก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศเซอร์เบีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศโรมาเนีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศฮังการี.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและภาษาสโลวัก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (Haus de Habsburg) (House of Habsburg, บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รั.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฮังการี

ราชอาณาจักรฮังการี หรือเรียกสั้นๆ ว่า ฮังการี (Kingdom of Hungary, Magyar Királyság) มีชื่อเต็มว่า “ราชอาณาจักรแห่งพระมหามงกุฎอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์สตีเฟน” (A magyar Szent Korona országai) เริ่มก่อตั้งราชอาณาจักรขึ้นราว..

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและราชอาณาจักรฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาอังกฤษ เริ่มสร้างเมื่อ 15 มกราคม..

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะจินตนิยม

''Wanderer above the Sea of Fog'' ภาพวาดของ แคสเปอร์ เดวิด ฟรีดดริก ในปี 1818 ศิลปะจินตนิยม (Romanticism) เริ่มต้นขึ้นในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในยุโรปตะวันตก เป็นการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดทางปรัชญา วรรณกรรม และศิลปกรรม อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป กำเนิดของศิลปะจินตนิยมมีส่วนมาจากการต่อต้านแนวคิดทางสังคมและการเมืองแบบเก่าของยุคแสงสว่าง รวมถึงปฏิกิริยาต่อต้านการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมากแนวคิดของศิลปะในยุคนี้จะสะท้อนออกมาในงานศิลปะแบบภาพวาด ดนตรี และวรรณกรรม ตัวอย่างศิลปินผู้มีชื่อเสียงในยุคจินตนิยม ได้แก่ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน, เฟรเดริก ชอแป็ง, วิลเลียม เบลก เป็นต้น.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและศิลปะจินตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและจักรวรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสโลวาเกีย

ตราแผ่นดินของสโลวาเกีย เริ่มใช้เมื่อวันที่13 มิถุนายน..

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและตราแผ่นดินของสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของฮังการี

ตราแผ่นดินของฮังการี (Coat of arms of Hungary) เป็นตราอาร์มของประเทศฮังการีที่ได้รับการอนุมัติให้ในการเป็นตราประจำชาติใช้ได้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 หลังจากการปกครองระบบคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลง ตราแผ่นดินเป็นตราที่เคยใช้มาก่อนทั้งที่มีและไม่มีมงกุฎศักดิ์สิทธิ์แห่งฮังการี หรือ มงกุฎเซนต์สตีเฟน บางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของตราอาร์มที่ใหญ่กว่าและซับซ้อนกว่า และองค์ประกอบหลายอย่างบนตราก็มาจากสัญลักษณ์ที่มาจากยุคกลาง เมื่อไม่นานมานี้ประเทศในยุโรปตะวันออกหลายประเทศแม้จะเป็นสาธารณรัฐหันมาใช้มงกุฎในตราแผ่นดินเพื่อแสดงว่ามีประวัติศาสตร์ที่สืบมาจากการปกครองโดยกษัตริย์ ซึ่งตามกฎมุทราศาสตร์ (Heraldry) แล้วเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่ารัสเซียและโปแลนด์ต่างก็นำตราอาร์มที่มีมงกุฎกลับมาใช้ หรือออสเตรียและฟินแลนด์ที่ใช้ติดต่อกันมา มงกุฎเหล่านี้อยู่ภายในโล่ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการใช้สัญลักษณ์ตามหลักมุทราศาสตร์ ตามกฎแล้วประเทศที่เป็นสาธารณรัฐควรจะใช้มงกุฎเชิงเทิน (Mural crown) ซึ่งมีลักษณะเหมือนหยักเชิงเทินเช่นที่ใช้กันในมอลตาหรือสาธารณรัฐสเปน.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและตราแผ่นดินของฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวาเกีย

ลวาเกีย (Slovakia; Slovensko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic; Slovenská republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเช็กเกีย ทางเหนือติดต่อกับโปแลนด์ ทางตะวันออกติดต่อกับยูเครน ทางใต้ติดต่อกับฮังการี และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับออสเตรีย เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคือเมืองหลวงบราติสลาวา ปัจจุบันสโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหภาพยุโรป และได้เปลี่ยนสกุลเงินของประเทศจากกอรูนาสโลวักมาเป็นยูโรเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและประเทศสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเชโกสโลวาเกีย

right right เชโกสโลวาเกีย เป็นอดีตประเทศในยุโรปกลาง ปัจจุบันแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกี.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและประเทศเชโกสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเช็กเกีย

็กเกีย (Czechia; Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic; Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม นับตั้งแต่การยุบเลิกประเทศเชโกสโลวาเกียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเช็กได้สนับสนุนให้ใช้ชื่อประเทศแบบสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "เช็กเกีย" (Czechia) แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อ "เช็กเกีย" เป็นชื่อเรียกประเทศแบบสั้นอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและประเทศเช็กเกีย · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติ

ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ มักมีการใช้ภาพประกอบเพลงที่แสดงถึงความฮึกเหิมและปลุกใจให้รักชาติ (ตัวอย่างในที่นี้ เป็นภาพยนตร์เพลงชาติสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487) เพลงชาติ (National anthem) หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน ในหนังสือ "เพลงชาติ" โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและเพลงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เฮ สลาฟ

ลาฟ แปลได้ว่า "เรา ชาวสลาฟ" เป็นเพลงปลุกใจของชาวสลาฟ ประพันธ์คำร้องครั้งแรก พ.ศ. 2377 เพลงนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่นดังนี้ เฮ สโลวัก (Hej, Slováci) โดย ซามูเอล โทมาสิค และตั้งแต่นั้นมาใช้เพลงนี้เป็นเพลงของกลุ่มอุดมการณ์ร่วมสลาฟ โดยเพลงนี้ใช้เป็นเพลงชาติของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวีย และเซอร์เบียและมอนเตเนโกร รวมทั้งเป็นเพลงชาติของชาวสโลวักอย่างไม่เป็นทางการ เพลงนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเพลงชาติโปแลนด์ "มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 โดยเพลงเฮ สลาฟมีท่วงทำนองบรรเลงที่ช้ากว่าเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ ในภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย มีความแตกต่างกันในการใช้อักษรลาติน และอักษรซีริลริก องเพลง เฮ สลาฟ ดังนี้.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและเฮ สลาฟ · ดูเพิ่มเติม »

13 ธันวาคม

วันที่ 13 ธันวาคม เป็นวันที่ 347 ของปี (วันที่ 348 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 18 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นาดทาโทรซาบลีซกาและ13 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Nad Tatrou sa blýskaนาด ทราโทร ซา บลีซกา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »