เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นาซกูลและอภินิหารแหวนครองพิภพ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นาซกูลและอภินิหารแหวนครองพิภพ

นาซกูล vs. อภินิหารแหวนครองพิภพ

นาซกูล หรือภูตม้าดำ นาซกูล (Nazgûl) เป็นชื่อของตัวละครกลุ่มหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า 'นาซกูล' เป็นคำภาษาแบล็กสปีช มาจากคำว่า 'นาซ' (nazg) หมายถึง "แหวน" และคำว่า 'กูล' (gûl) หมายถึง "ดวงวิญญาณ หรือภูต" บางครั้งเรียกนาซกูลว่า ภูตแหวน หรือ ภูตม้าดำ คำในภาษาเควนยาของนาซกูล คือ อูไลริ (Úlairi) ส่วนคำในภาษาซินดาริน คือ อูไลอาร์ (Ulaer) นาซกูลมีทั้งหมดเก้าตน หัวหน้าของพวกนาซกูลคือ ราชันขมังเวทย์ หรือ วิชคิง แต่เดิมพวกเขาเป็นกษัตริย์หรือผู้นำของพวกมนุษย์บนมิดเดิลเอิร์ธที่หลงในอำนาจยศศักดิ์ซึ่งเซารอนสัญญาว่าจะยกให้ จึงยินยอมรับ แหวนแห่งกษัตริย์ หรือแหวนแห่งอำนาจเก้าวง เมื่อเวลาผ่านไปดวงจิตของพวกเขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจของแหวนจนไม่สามารถถอนตัวคืนได้ และต้องกลายเป็นทาสรับใช้ของเซารอนและแหวนเอก นาซกูลออกรุกรานอาณาจักรของมนุษย์ครั้งแรก ในการบุกโจมตีอาณาจักรอาร์นอร์ และสามารถยึดอังก์มาร์ไปได้ ตั้งอาณาจักรแห่งอังก์มาร์ขึ้นเป็นอาณาจักรของตน (บางครั้งจึงเรียกหัวหน้าของพวกมันว่า 'วิชคิงแห่งอังก์มาร์') ต่อมาพวกนาซกูลเข้าโจมตีอาณาจักรกอนดอร์ และยึดเอาหอคอยมินัสอิธิลได้ เปลี่ยนหอคอยแห่งนั้นเป็น มินัสมอร์กูล เป็นฐานที่มั่นอีกแห่งหนึ่งของพวกตน การเข้ายึดมินัสอิธิลครั้งนั้นทำให้เซารอนได้ครอบครอง พาลันเทียร์ แห่งมินัสอิธิล ไปด้วย และได้ใช้พาลันเทียร์ดวงนี้ในการติดต่อกับซารูมาน และล่อลวงเดเนธอร์จนเสียสติ นาซกูลทั้งหมดถูกทำลายไปพร้อมกับการสิ้นสลายของแหวนเอก หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ de:Figuren in Tolkiens Welt#Nazgûl (Ringgeister) simple:Middle-earth characters#Nazgûl. อภินิหารแหวนครองพิภพ (The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring) เป็นภาพยนตร์ตอนแรกสุดของภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ กำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน และออกฉายครั้งแรกในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นาซกูลและอภินิหารแหวนครองพิภพ

นาซกูลและอภินิหารแหวนครองพิภพ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มิดเดิลเอิร์ธซารูมานเอกธำมรงค์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เซารอน

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

นาซกูลและมิดเดิลเอิร์ธ · มิดเดิลเอิร์ธและอภินิหารแหวนครองพิภพ · ดูเพิ่มเติม »

ซารูมาน

ซารูมาน (Saruman) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ ซารูมาน เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า คูรูเนียร์ ชื่อเดิมของเขาคือ คูรูโม เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด ซารูมานได้รับฉายาว่า พ่อมดขาว เป็นผู้มีพลังอำนาจสูงสุดในหมู่พ่อมดทั้งห้.

ซารูมานและนาซกูล · ซารูมานและอภินิหารแหวนครองพิภพ · ดูเพิ่มเติม »

เอกธำมรงค์

แหวนเอกธำมรงค์ (The One Ring) หรือชื่ออื่นๆ ว่า แหวนเอก แหวนประมุข แหวนแห่งอำนาจ หรือ ยมทูตแห่งอิซิลดูร์ เป็นแหวนวิเศษในจินตนาการจากนิยายไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นนิยายที่เล่าเรื่องราวของภารกิจการทำลายแหวนวิเศษวงนี้ ผู้สร้างแหวนนี้คือ เซารอน ผู้เป็นจอมมาร สร้างขึ้นในยุคที่สอง โดยใส่พลังของตัวเองลงไปด้วย แหวนจะคอยทดสอบจิตใจทุกคนที่มันเห็น ผู้ที่ชนะใจตัวเองไม่ได้แหวนจะนำไปสู่ความตาย และทำให้คนดีอ่อนแอ แต่หากเป็นกลางจะเปลี่ยนเป็นปีศาจชั่วคราวแล้วกลับเป็นปกติก็จะมีอำนาจต้านแหวนได้ เนื่องจากเป็นแหวนที่มีอำนาจมากที่สุดในแหวนแห่งอำนาจ หลังจากสงครามที่เซารอนพ่ายแพ้ครั้งแรก แหวนตกไปอยู่ในมือของอิซิลดูร์, กอลลัม, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ก่อนที่โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ผู้ถือแหวนคนสุดท้ายจะนำแหวนไปทำลายที่ภูเขามรณะ(แต่แท้จริงๆแล้วแซมไวส์ แกมจีเป็นผู้ถือแหวนคนสุดท้ายแต่อยู่ในระยะสั้นที่สุด เพราะหลังจากที่เข้าใจผิดว่าโฟรโดถูกแมงมุมยักษ์ชีล็อบฆ่าตาย แซมได้เอาแหวนเอกไปเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเซารอน ต่อมาเมื่อช่วยโฟรโดแล้วก็เอาแหวนเอกมาคืนให้แก่โฟรโดตามเดิม).

นาซกูลและเอกธำมรงค์ · อภินิหารแหวนครองพิภพและเอกธำมรงค์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

นาซกูลและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · อภินิหารแหวนครองพิภพและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

นาซกูลและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · อภินิหารแหวนครองพิภพและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซารอน

ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.

นาซกูลและเซารอน · อภินิหารแหวนครองพิภพและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นาซกูลและอภินิหารแหวนครองพิภพ

นาซกูล มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ อภินิหารแหวนครองพิภพ มี 58 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 8.00% = 6 / (17 + 58)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นาซกูลและอภินิหารแหวนครองพิภพ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: