โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นาจาและหลี่จิ้ง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นาจาและหลี่จิ้ง

นาจา vs. หลี่จิ้ง

นาจา หรือ หน่าจา (จีน: 哪吒, พินอิน: Nézhā หรือ Núozhā) เทพเจ้าตามคติความเชื่อของจีน บางตำราเชื่อว่าเป็นบุตรของเจ้าแม่กวนอิมอีกด้วย นาจาประสูติเมื่อวันที9เดือน9(ตามปฎิทินจีน). หลี่จิ้ง หรือ ถักทะลีทีอ๋อง ("โลกบาลหลี่ผู้ถือเจดีย์", Pagoda-Bearing Heavenly King Li) เป็นหนึ่งในจตุโลกบาลจีนซึ่งตรงกับท้าวเวสสุวรรณ หลี่จิ้งมีบุตรสามคน คือ จินจา มูจา และนาจา เดิมหลี่จิ้นเป็นแม่ทัพสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนต้น ได้ออกมาล่าสัตว์กับองค์ฮ่องเต้ พระนามว่า จ้าวอ๋อง ทั้งคู่จะดักจับกวางหนุ่มตัวหนึ่ง ขณะนั้นนาจาเป็นเทพเจ้าเด็ก ชอบลงมาบนโลกมนุษย์มาเล่นกับสัตว์ในป่า เมื่อรู้ว่าจ้าวอ๋องผู้มีนิสัยโหดร้ายมาล่าสัตว์ จึงสั่งให้กวางตัวนี้หนีไป แต่กวางตัวนี้ไม่หนี นาจาจึงเอาตัวเข้ารับแทนธนูของแม่ทัพหลี่จิ้งแทน และไปเกิดใหม่ในครรภ์ของภรรยาหลี่จิ้ง เป็นบุตรชายคนที่สามชื่อว่า นาจา ภายหลังจากเสียชีวิต หลี่จิ้งได้รับการแต่งตั้งจากองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ได้เป็นขุนพลสวรรค์ มีอาวุธคู่กายคือ เจดีย์ 7 ชั้น ที่เคยจับซุนหงอคงขังเอาไว้ เจดีย์นี้สามารถกักขังได้ทั้งวิญญาณ ภูตผีปีศาจ หรือแม้แต่เทพเจ้า เมื่อหลี่จิ้งจะลงมาโปรดสัตว์โลกจะมีนาจาตามมาด้วยทุกครั้ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นาจาและหลี่จิ้ง

นาจาและหลี่จิ้ง มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ท้าวเวสวัณเง็กเซียนฮ่องเต้

ท้าวเวสวัณ

ตัวเหวินเทียนหวัง (ท้าวเวสวัณ) ศิลปะจีน ตราประจำจังหวัดอุดรธานี แสดงรูปท้าวเวสวัณ ท้าวเวสวัณ ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดโทได ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสวัณ (वैश्रवण Vaiśravaṇa ไวศฺรวณ; वेस्सवण Vessavaṇa เวสฺสวณ) เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตรว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวท้าวเวสวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสวัณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสวัณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" คนญี่ปุ่นเรียกว่า "พสมอน" ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง.

ท้าวเวสวัณและนาจา · ท้าวเวสวัณและหลี่จิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เง็กเซียนฮ่องเต้

ง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นเทพเจ้าสูงสุดของจีน เทวรูปและรูปวาดขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้จะทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับจักรพรรดิจีน คือมีพระมาลา ด้านหน้ามีเส้นร้อยไข่มุกเป็นแถวห้อยลงมาหน้าพระพักตร์ พระหัตถ์ทรงพระป้ายซือฮุดหน้าพระอุระ ด้านหลังมีพนักงานสองคนคอยโบกพัด ด้านหน้ามีองครักษ์สององค์ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น พระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าสูงสุดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นม.

นาจาและเง็กเซียนฮ่องเต้ · หลี่จิ้งและเง็กเซียนฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นาจาและหลี่จิ้ง

นาจา มี 52 ความสัมพันธ์ขณะที่ หลี่จิ้ง มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.51% = 2 / (52 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นาจาและหลี่จิ้ง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »