โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นางมณโฑ

ดัชนี นางมณโฑ

นางมณโฑ ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า มนโททรี (मंदोदरी มํโททรี) เป็นชายาของพาลี ทศกัณฐ์ หนุมาน และพิเภก โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิดนางสี.

14 ความสัมพันธ์: พระศิวะพระปารวตีพาลีพิเภกรามายณะรามเกียรติ์หนุมานอักษรไทยอินทรชิตองคตทศกัณฐ์นางสีดาเขาพระสุเมรุ

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: นางมณโฑและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระปารวตี

ปารวตี (पार्वती Pārvatī) หรือ อุมา (उमा Umā) เป็นเทวดาสตรีในศาสนาฮินดู เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses,, pp 245-246 ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของเทวีศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราวKeller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press,, pp 663 พระนาง พร้อมด้วยพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง และพระสรัสวดี เทวีแห่งความรู้ ประกอบกันเป็นองค์สาม (trinity) ของเทวีฮินดู เรียกว่า ตรีเทวี พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้ายEdward Balfour,, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153 พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางไมนาวติ ผู้เป็นพระชายาH.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin,, pp 11 พระนางทรงให้กำเนิดพระคเณศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระพี่นางหรือน้องนางของพระวิษณุ และของพระคงคาWilliam J. Wilkins,, Hindu Mythology - Vedic and Puranic, Thacker Spink London, pp 295 พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งไศวนิกาย หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง.

ใหม่!!: นางมณโฑและพระปารวตี · ดูเพิ่มเติม »

พาลี

ลี หรือ พญาพาลี เป็นลิงที่เป็นตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นลิงเจ้าเมืองขีดขิน ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตัวหนึ่ง มีกายสีเขียว เป็นโอรสของพระอินทร์ กับ นางกาลอัจนา เดิมชื่อ กากาศ ตอนเด็กโดนฤๅษีโคดมสาปให้กลายเป็นลิงเช่นเดียวกันกับสุครีพ ซึ่งเป็นน้องชาย เพราะรู้ว่าทั้ง 2 เป็นลูกชู้ ต่อมาพระอินทร์ผู้เป็นบิดา ได้สร้างเมืองชื่อ ขีดขินให้พาลีปกครอง และตั้งชื่อให้ใหม่ว่า พระยากากาศ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น พาลี เคยต่อสู้กับ ทรพี ควายที่ฆ่า ทรพา พ่อของตนเอง ที่มีเทวดาอารักขาขาทั้งสี่ข้างและสองเขา ซึ่งพาลีจะต้องเข้าไปสู้ในถ้ำสุรกานต์ ก่อนไปได้สั่งเสียสุครีพไว้ว่า ถ้าผ่านไปเจ็ดวันแล้ว ถ้าตนไม่กลับมา ให้ไปดูรอยเลือด ถ้าเลือดข้นนั้นคือ เลือดทรพี ถ้าเลือดใสนั้นคือเลือดตน ตอนที่พระอิศวรฝากนางดารามากับพาลีเพื่อให้กับสุครีพผู้เป็นน้อง พาลีได้ยึดนางดาราไว้เป็นภรรยาเสียเอง พาลีเคยแย่งนางมณโฑกับทศกัณฐ์เมื่อตอนที่เหาะผ่านเมืองขีดขินด้วย และมีบุตรกับนางมณโฑ คือ องคต สุดท้ายพาลีสิ้นชีวิตจากศรของพระราม ขณะที่พระรามแผลงศรใส่พาลี พาลีจับศรไว้ได้ พาลีจึงได้เห็นร่างที่แท้จริงของพระราม ว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร จึงได้สำนึกผิด และเรียกสุครีพมาสั่งสอน ซึ่งเรียกว่า "พาลีสอนน้อง" และฝากฝังเมืองขีดขินไว้ จากนั้นก็ปล่อยให้ศรปักอกตาย หลังจากที่พาลีตายได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรพาลีบนสวรรค์ ได้มีบทบาทตอนไปทำลายพิธีชุบหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ ในศาสนาฮินดูพาลีไม่ได้ยึดนางดาราภรรยาของสุครีพ และเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณธรรม เขาตายเนื่องจากพระรามลอบสังหารเขาในขณะต่อกรกับสุครีพ ในชาติต่อไปเขาไปเกิดเป็นนายพรานจาราและสังหารพระกฤษณะซึ่งเป็นพระรามในชาติก่อน.

ใหม่!!: นางมณโฑและพาลี · ดูเพิ่มเติม »

พิเภก

ก เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีเขียว ทรงมงกุฎน้ำเต้ากลม เป็นน้องของทศกัณฐ์ และกุมภกรรณ อดีตชาติ เป็นพระเวสสุญาณเทพบุตร พระอิศวรสั่งให้ไปจุติเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันกับทศกัณฐ์เพื่อเป็นไส้ศึกคอยบอกความลับต่าง ๆ ให้แก่พระราม พร้อมประทานแว่นวิเศษติดที่ดวงตาขวา มองเห็นได้ทั้งสามโลก แม้กระทั่งอดีตและอนาคต พิเภกโดนทศกัณฐ์ขับออกจากกรุงลงกา เพราะไปแนะให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม จึงเข้าร่วมกับฝ่ายพระราม ทำหน้าที่เป็นโหราจารย์ พิเภกมีส่วนช่วยในกองทัพพระรามเป็นอันมาก เป็นผู้บอกกลศึกและทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ของฝ่ายทศกัณฐ์ให้แก่พระราม เมื่อทศกัณฐ์ใกล้ตายเพราะถูกศรพรหมาศของพระราม ทศกัณฐ์สำนึกได้ จึงเรียกพิเภกเข้าไปสั่งสอน โดยมีใจความหลักว่า ให้ประพฤติตนเป็นธรรม อย่าเกเรเหมือนตน ซึ่งบทนี้ถูกเรียกว่า "ทศกัณฐ์สอนน้อง" จากนั้น พิเภกได้รับแต่งตั้งจากพระรามให้เป็น "ท้าวทศคิริวงศ์" ครองกรุงลงกาแทนทศกัณฐ์สืบไป ในรามายณะ มีชื่อว่า "วิภีษณะ".

ใหม่!!: นางมณโฑและพิเภก · ดูเพิ่มเติม »

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ใหม่!!: นางมณโฑและรามายณะ · ดูเพิ่มเติม »

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ใหม่!!: นางมณโฑและรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

หนุมาน

1.

ใหม่!!: นางมณโฑและหนุมาน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: นางมณโฑและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อินทรชิต

อินทรชิต (สันสกฤต: इन्‍द्र जीत, Indrajit อินฺทฺร ชีต) เดิมมีชื่อว่า รณพักตร์ เป็น บุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อ นางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก มีสีกายสีเขียว มีฤทธิ์เก่งกล้ามาก เมื่อโตขึ้นจึงทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อไปศึกษาวิชากับพระฤๅษีโคบุตรจนสำเร็จวิชามนต์มหากาลอัคคี จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญตบะ เมื่อบำเพ็ญจนเก่งกล้าแล้วจึงทำพิธีขออาวุธวิเศษต่อมหาเทพทั้ง 3 มหาเทพจึงประทานอาวุธวิเศษให้ คือ พระอิศวรประทานศรนาคบาศและพรสามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานศรพรหมาสตร์และพรไม่ให้ตายบนพื้นดินหากตายก็ให้ตายบนอากาศหากเศียรขาดตกลงพื้นก็ให้เกิดไฟไหม้ทั่วทั้งจักรวาลต้องนำพานแว่นฟ้าของพระพรหมเท่านั้นมารองรับเศียรจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษณุปานัม เมื่อได้รับพรและอาวุธวิเศษแล้วจึงเกิดความหึกเหิมบุกสวรรค์และท้าพระอินทร์รบ และชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์เมื่อทราบข่าวบุตรของตนมีชัยชนะก็ดีใจมากจึงเปลื่ยนชื่อใหม่เป็น อินทรชิต หมายถึง "ชนะพระอินทร์" แต่ด้วยไม่ตั้งตนอยู่ในธรรมและการประพฤติชั่วของตน ภายหลังถูกศรของพระลักษมณ์สิ้นใจต.

ใหม่!!: นางมณโฑและอินทรชิต · ดูเพิ่มเติม »

องคต

องคต (Angada จากअङ्गद องฺคท) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นลูกของพญาพาลี กับนางมณโฑ เป็นทหารเอกของพระรามมีอาวุธเป็นธนู ที่แม้แต่ใครก็ตามที่มาสู้กับองคตก็ต้องตายหมด องคตเกิดมาจาก เมื่อพาลีแย่งนางมณโฑมาจากทศกัณฐ์แล้ว นางต้องเป็นภรรยาของพาลีจนกระทั่งตั้งครรภ์ ทศกัณฐ์จึงไปฟ้องฤๅษีอังคัตผู้เป็นอาจารย์ของพาลีให้มาว่ากล่าวพาลี จนพาลียอมคืนนางมณโฑให้แต่ขอลูกเอาไว้ ฤๅษีอังคัตจึงทำพิธีเอาลูกออกจากท้องนางมณโฑไปใส่ในท้องแพะ เมื่อครบกำหนดคลอดพระฤๅษีก็ทำพิธีให้ออกจากท้องแพะให้ชื่อว่า องคต ทศกัณฐ์ยังผูกใจเจ็บ จึงแปลงกายเป็นปูยักษ์ คอยอยู่ก้นแม่น้ำเพื่อที่จะฆ่าองคตขณะทำพิธีลงสรง แต่ถูกพาลีจับได้ แล้วเอามาผูกไว้ให้ลูกลากเล่นอยู่เจ็ดวันจึงปล่อยไป เมื่อสุครีพขอให้พระรามมาช่วยปราบพาลี ก่อนที่พาลีจะสิ้นใจตาย ได้สำนึกว่าตนทำผิดต่อสุครีพ ทั้งไม่รักษาคำสัตย์สาบาน จึงได้ทูลฝากฝังสุครีพและองคตไว้กับพระราม องคตได้ช่วยทำศึกกับกองทัพของทศกัณฐ์อย่างเต็มความสามารถ พระรามเคยส่งองคตเป็นทูตไปเจรจากับทศกัณฐ์ เพื่อทวงนางสีดาคืนกลับมา แม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็ได้แสดงความเฉลียวฉลาดและความกล้าหาญ ให้ประจักษ์แก่ตาของทศกัณฐ์ องคตเป็นผู้ที่มีสัมมาวาจา สามารถพูดจาให้คนหลงเชื่อได้ ดังจะเห็นได้จากตอนที่พระรามให้องคตแปลงกายเป็นยักษ์พิจิตรไพรีไปทูลขอแว่นแก้วสุรกานต์จากพระพรหม.

ใหม่!!: นางมณโฑและองคต · ดูเพิ่มเติม »

ทศกัณฐ์

ระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ทศกัณฐ์ทรงศร ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท ทศกัณฐ์ (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละคร ราวณะ ในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณ.

ใหม่!!: นางมณโฑและทศกัณฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฑ (มณโฑ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 17 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฐ (ฐาน) และก่อนหน้า ฒ (ผู้เฒ่า) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฑ มณโฑ” (บางคนก็เรียกว่า ฑ นางมณโฑ) อักษร ฑ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ หรือ /d/ (ดูหัวข้อถัดไป) และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฑ อยู่น้อยคำ ได้แก่ ฑังส, ฑาก, ฑาหก, ฑาหะ นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต.

ใหม่!!: นางมณโฑและฑ · ดูเพิ่มเติม »

นางสีดา

นางสีดา จากการแสดง รามายณะ ที่ยอกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสีดาในรามายณะฉบับอินโดนีเซีย แต่งตัวด้วยการนำเอาใบหญ้ามาคลุมตัวหน้า 13 ประชาชื่น, ''''เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ"'' โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช. '''มติชน'''ปีที่ 40 ฉบับที่ 14318: วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 นางสีดา (Sita) เป็นตัวละครเอกจากเรื่องรามเกียรติ์ โดยเป็นบุตรสาวของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ และเป็นอัครมเหสีของพระราม แต่ในรามายณะของอินเดียหลายฉบับบอกว่านางสีดาเป็นธิดาของพระภูมิเทวีหรือพระแม่ธรณี.

ใหม่!!: นางมณโฑและนางสีดา · ดูเพิ่มเติม »

เขาพระสุเมรุ

ตรกรรมฝาผนัง เขาพระสุเมรุ เขาพระสุเมรุ ตามคติในศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน คือภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่าง ๆ ของสัตวโลก โดยมีปลาอานนท์หนุนอยู่ รอบๆ เขาพระสุเมรุ เขาพระสุเมรุตั้งอยู่เหนือน้ำ 84,000 โยชน์ มีภูเขารองรับ 3 ลูก โดยส่วนฐานคือ ตรีกูฏ (สามเส้าหรือสามยอด) มีภูเขาล้อมรอบ 7 ทิว เรียกว่าสัตบริภัณฑ์ คือ ยุคนธร กรวิก อิสินธร สุทัศ เนมินธร วินตกและอัสกัณ มีเทวดาจตุมหาราชิก และบริวารสถิตอยู่ ภายในจักรวาลมีภูเขาชื่อ หิมวา (หิมาลัย) ของจักรวาลทั้งหมด เป็นเทือกเขายาวติดกัน เป็นพืด เรียกว่าเขาจักรวาล โดยแต่ละจักรวาลมีพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวดึงส์ ยังมีมหาทวีปทั้ง 4 คือ.

ใหม่!!: นางมณโฑและเขาพระสุเมรุ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มณโฑ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »