ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นางกาลอัคคีนาคราชและพระปารวตี
นางกาลอัคคีนาคราชและพระปารวตี มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระศิวะรามายณะเขาไกรลาส
พระศิวะ
ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.
นางกาลอัคคีนาคราชและพระศิวะ · พระปารวตีและพระศิวะ ·
รามายณะ
พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.
นางกาลอัคคีนาคราชและรามายณะ · พระปารวตีและรามายณะ ·
เขาไกรลาส
กรลาส แผนที่แสดงที่ตั้ง เขาไกรลาส (कैलास ไกลาส; ทิเบต: གངས་རིན་པོ་ཆེ; 冈仁波齐峰; พินอิน: Gāngrénbōqí fēng) เป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ มีความสูง 22,020 ฟุต จัดว่าเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย เป็นยอดเขาที่มีอายุกำเนิดมาจนถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี ในศาสนาฮินดูเชื่อว่าเขาไกรลาสเป็นที่ประทับของพระศิวะ ในศาสนาพุทธมีคัมภีร์สารัตถปกาสินีระบุว่าเขาไกรลาสเป็นเขาที่ประเสริฐสุดในบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์ และยังปรากฏในศาสนาเชนและศาสนาบอนด้วย ตามความเชื่อของศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ เขาไกรลาสเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และเชื่อว่า คือแห่งเดียวกันกับเขาพระสุเมรุ เชิงเขาไกรลาส เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสายของภูมิภาคแห่งนี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญ คือ "ทะเลสาบมานสโรวระ" หรือ "ทะเลสาบมานัสสะ" อยู่ทางเหนือของเขาไกรลาส ที่เชื่อกันว่า คือ "สระอโนดาต" ในป่าหิมพานต์ เชื่อกันว่าเป็นสถาน ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี ทะเลสาบมานัส ได้ถูกอ้างอิงถึงในรามายณะและมหาภารตะ ที่ระบุว่า "ทะเลสาบมานัสอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้แต่ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกายหรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ" เขาไกรลาส ปกติจะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งสีขาวโพลน จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ภูเขาสีเงิน" ("ไกรลาส" หรือ "ไกลาส" เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "สีเงินยวง") ทุกปีจะมีผู้จารึกแสวงบุญตามศาสนาต่าง ๆ เดินทางมาที่นี่ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาและได้อยู่ใกล้พระศิวะ โดยทำการประทักษิณให้ครบ 39 รอบ เป็นการเคารพบูชาอันสูง.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ นางกาลอัคคีนาคราชและพระปารวตี มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง นางกาลอัคคีนาคราชและพระปารวตี
การเปรียบเทียบระหว่าง นางกาลอัคคีนาคราชและพระปารวตี
นางกาลอัคคีนาคราช มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระปารวตี มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.12% = 3 / (31 + 18)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นางกาลอัคคีนาคราชและพระปารวตี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: