โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นากหญ้าและสปีชีส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นากหญ้าและสปีชีส์

นากหญ้า vs. สปีชีส์

นากหญ้า (Coipú, Nutria) เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myocastor coypus อยู่ในวงศ์ Myocastoridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Myocastor และวงศ์นี้ ด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายนาก ซึ่งอยู่ในวงศ์ Lutrinae ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จึงได้ชื่อสามัญว่า "Nutria" ซึ่งในภาษาสเปนหมายถึง "นาก" และกลายมาเป็นชื่อสามัญในภาษาไทยด้วย นากหญ้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ทางตอนใต้ของบราซิล ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย จัดเป็นสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งเหมือนบีเวอร์หรือคาปิบารา เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้ 37-70 เซนติเมตร หางยาว 24-45 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 3.5-10 กิโลกรัม บางตัวอาจหนักได้ถึง 17 กิโลกรัม ตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย 3-5 เท่า มีหัวกลม ปากสั้น คอสั้น ใบหูกลมและเล็ก หนวดเป็นเส้นหนา เท้าหลังมีนิ้วทั้งหมด 4 นิ้ว พังผืดยึดระหว่างนิ้วเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ ยกเว้นนิ้วสุดท้าย ขณะที่เท้าหน้ามี 5 นิ้ว มีหางยาว ขนชั้นนอกยาวและหยาบ ขณะที่ขนชั้นในอ่อนนุ่ม ขนมีน้ำมันบาง ๆ เคลือบอยู่เป็นมันและไม่อุ้มน้ำขณะว่ายน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับขนของนาก ซึ่งสีขนอาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามฤดูกาล ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำแกมแดง ในขณะที่บางตัวอาจมีแต้มสีขาวบริเวณปาก มีพฤติกรรมความเป็นอยู่คล้ายกับนาก คือ จะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยขุดโพรงริมตลิ่งหรือสร้างรังบนกอพืชน้ำอยู่ แต่กินอาหารจำพวกหญ้าและพืชน้ำและหอยทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ในบางครั้งด้วย ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง โดยสามารถดำน้ำได้นานถึง 7 นาที เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4 เดือน ขณะที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 2-3 กิโลกรัม ตัวเมียมีวงรอบผสมพันธุ์ทุก ๆ 23-26 วัน ตลอดทั้งปี ออกลูกครั้งละ 2-7 ตัว โดยพบมากสุดถึง 13 ตัว ตั้งท้องนาน 123-150 วัน ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 225 กรัม โดยมีขนปกคลุมทั้งลำตัวและดวงตาปิด จะอาศัยอยู่กับแม่ไป 6-10 ปี ตัวเมียมีเต้านม 4-5 คู่ อยู่ด้านข้างลำตัวซึ่งเหมาะกับแก่การให้นมลูกขณะที่ว่ายน้ำไปด้วยได้ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 10 ปี นากหญ้า ถือเป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ และด้วยความที่มีขนที่มีลักษณะคล้ายขนของนาก จึงทำให้มีความต้องการขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์แทนนาก ที่ถูกล่าอย่างหนักจนถูกขึ้นชื่อไว้เป็นสัตว์อนุรักษ์ในหลายประเทศ จึงมีการเพาะเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจและมีการส่งออกจากทวีปอเมริกาใต้ไปยังหลายภูมิภาคของโลก เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา รวมถึงเอเชีย ซึ่งในหลายพื้นที่ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะกลายมาเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นในที่นั้น ๆ อีกทั้งยังเป็นพาหะของโรคกลัวน้ำอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยเอง ก็ประสบกับปัญหานี้ด้วยเช่นนี้ ได้มีการนำเข้านากหญ้าครั้งแรกมาจากแอฟริกา โดยชาวไต้หวัน โดยถูกเลี้ยงไว้ที่จังหวัดราชบุรี ต่อมาก็ถูกนำไปเลี้ยงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยทหารบกชั้นประทวนผู้หนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ก่อนที่จะแพร่หลายในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ แต่ทว่าเมื่อได้มีการเลี้ยงกันอย่างจริงจังแล้ว ปรากฏว่า ผลตอบรับกลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด จึงทำให้มีการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และกลายเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย เช่นเดียวกับ หอยเชอรี่ ปลาซัคเกอร์ หรือตะพาบไต้หวัน. ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นากหญ้าและสปีชีส์

นากหญ้าและสปีชีส์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชนิดย่อย

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ชนิดย่อยและนากหญ้า · ชนิดย่อยและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นากหญ้าและสปีชีส์

นากหญ้า มี 49 ความสัมพันธ์ขณะที่ สปีชีส์ มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.89% = 1 / (49 + 4)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นากหญ้าและสปีชีส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »