โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นักวิทยาศาสตร์และพ็อลเทอร์ไกสท์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นักวิทยาศาสตร์และพ็อลเทอร์ไกสท์

นักวิทยาศาสตร์ vs. พ็อลเทอร์ไกสท์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์". หน้าปกนิตยสาร ''La Vie Mysterieuse'' ของ ฝรั่งเศสฉบับเดือนเมษายน ค.ศ. 1911 หน้าปกเป็นรูปปรากฏการณ์พ็อลเทอร์ไกสท์ พ็อลเทอร์ไกสท์ (Poltergeist) เป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์ชนิดหนึ่ง ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน คำว่า "พ็อลเทอร์ไกสท์" มาจากภาษาเยอรมันคำว่า "Poltern" หมายถึง "ก่อความรำคาญหรือเอะอะมะเทิ่ง" และคำว่า "Geist" หมายถึง "ผี" เมื่อรวมความแล้ว คำว่า "พ็อลเทอร์ไกสท์" พอจะแปลความหมายได้ว่า "ผีที่น่ารำคาญหรือส่งเสียงดัง" ปรากฏการณ์พ็อลเทอร์ไกสท์จะแสดงออกด้วยการเคลื่อนข้าวของภายในบ้าน โดยที่ไม่มีใครไปเคลื่อนย้าย ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้จะปรากฏในบ้านของโลกตะวันตก จึงมีความเชื่อกันว่าเป็นการกระทำของผี ซึ่งจะไม่ถึงขั้นหลอกหลอนมนุษย์จนขวัญผวา เพียงแค่ทำให้ตกใจเล่นเท่านั้น แต่ในบางกรณีก็อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ข้าวของเสียหายหรือเกิดเป็นรอยข่วน รอยกัดตามร่างกายมนุษย์ก็มี บางครั้งปรากฏการณ์พ็อลเทอร์ไกสท์อาจเกิดติดต่อกันเป็นวัน ๆ แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า พ็อลเทอร์ไกสท์ เป็นการกระทำที่เกิดจากมนุษย์เอง โดยเกิดจากความกดดัน โดยเฉพาะในวัยรุ่น เชื่อว่าเป็นลักษณะของการใช้พลังจิตแบบที่เคลื่อนย้ายสิ่งของ ที่เรียกว่าไซโคคิเนซิส (Psychokinesis) นั่นเอง โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัว ขณะที่นักวิชาการชาวญี่ปุ่น โอทสึ โยะชิฮิโกะ แห่งมหาวิทยาลัยวะเซะดะ ที่ศึกษาเรื่องเหนือธรรมชาติต่าง ๆ เห็นว่า พ็อลเทอร์ไกสท์เป็นปรากฏการณ์ของพลาสมา คือ ไฟฟ้าสถิตที่ไหลวนอยู่ในอากาศ ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้เป็นปรากฏการณ์เดียวกับการเกิด "ลูกไฟวิญญาณ" หรือ "ฮิโตะดะมะ" (ญี่ปุ่น: 人魂) ตามความเชื่อของชาวจีนและชาวญี่ปุ่นนั่นเอง พ็อลเทอร์ไกสท์ได้ถูกอ้างอิงในวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยมีการเขียนเป็นนวนิยายในชื่อเดียวกันนี้ (ฉบับแปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า "โพลเทอร์ไกสท์ผีเกเร") โดย เจมส์ คาห์น นักเขียนชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1982 ซึ่งต่อมาทางฮอลลีวูดก็ได้สร้างภาพยนตร์จากนวนิยายเรื่องนี้ด้วยในชื่อเดียวกัน อำนวยการแสดงโดยสตีเวน สปีลเบิร์ก ในปีเดียวกัน ซึ่งภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนต้องมีการสร้างต่อมาอีก 3 ภาค และสร้างเป็นซีรีส์ (ในชื่อภาษาไทยใช้ชื่อว่า "ผีหลอกวิญญาณหลอน") ซึ่งทำให้ทั้งโลกได้รู้จักกับปรากฏการณ์พ็อลเทอร์ไกสท์มากขึ้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นักวิทยาศาสตร์และพ็อลเทอร์ไกสท์

นักวิทยาศาสตร์และพ็อลเทอร์ไกสท์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

นักวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ · พ็อลเทอร์ไกสท์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นักวิทยาศาสตร์และพ็อลเทอร์ไกสท์

นักวิทยาศาสตร์ มี 44 ความสัมพันธ์ขณะที่ พ็อลเทอร์ไกสท์ มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.41% = 1 / (44 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นักวิทยาศาสตร์และพ็อลเทอร์ไกสท์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »