โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นอร์มันและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นอร์มันและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน

นอร์มัน vs. อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน

ีแดงเป็นบริเวณที่นอร์มันได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นก็ยังได้รับชัยชนะต่อหมู่เกาะมอลตีส และบางส่วนของตูนิเซีย และลิเบีย นอร์มัน (Normans) คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี. แองโกล-นอร์มัน (Anglo-Norman) คือผู้สืบเชื้อสายจากชาวนอร์มันผู้ปกครองอังกฤษหลังจากที่ได้รับชัยชนะในการรุกรานอังกฤษโดยดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1066 แม้ว่าจะมีนอร์มันมาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้างก่อนหน้านั้นแล้ว หลังจากยุทธการเฮสติงส์ผู้รุกรานชาวนอร์มันและลูกหลานก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานในฐานะกลุ่มชนที่แตกต่างจากกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วในอังกฤษ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานเหล่านี้ต่อมาก็กลืนไปกับผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อยู่แต่เดิมและมาใช้ภาษาพูดที่เรียกว่าภาษาแองโกล-นอร์มัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นอร์มันและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน

นอร์มันและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาวไวกิงพ.ศ. 1609การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันวารันเจียนสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ประเทศไอร์แลนด์ประเทศเวลส์

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ชาวไวกิงและนอร์มัน · ชาวไวกิงและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1609

ทธศักราช 1609 ใกล้เคียงกั.

นอร์มันและพ.ศ. 1609 · พ.ศ. 1609และอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน

ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพักๆ ร่วมพันปี.

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและนอร์มัน · การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

วารันเจียน

ผู้พิทักษ์ชาววารันเจียนในภาพจากบันทึกพงศาวดารจากคริสต์ศตวรรษที่ 11 วารันเจียน (Væringjar, ภาษากรีกยุคกลาง: Βάραγγοι, Βαριάγοι, Варяги, Varangians หรือ Varyags) คือชนไวกิง และ ชาวนอร์ส ที่เดินทางไปทางตะวันออกและทางใต้ไปยังบริเวณที่ในปัจจุบันคือรัสเซีย, เบลารุส และ ยูเครน ส่วนใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 10 แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่าคำว่า “วารังเจียน” หมายถึงชนชาติพันธุ์ก็ได้ที่เป็นนักเดินทะเล พ่อค้า หรือโจรสลัด คำนี้ใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับไวกิงและกองทหารสลาฟที่เดินทางระหว่างเมืองสำคัญทางการค้าและมักจะเข้าทำสงครามเมื่อมีโอกาส คำที่คล้ายคลึงกันในภาษารัสเซีย “เนเม็ต” (немец) ใช้สำหรับชาวต่างประเทศจากประเทศในยุโรปแต่ส่วนใหญ่หมายถึงเยอรมัน ในภาษารัสเซียสมัยใหม่คำนี้หมายถึงคนเยอรมัน ตามหลักฐานบันทึกพงศาวดารของเคียฟรุสที่รวบรวมราว..

นอร์มันและวารันเจียน · วารันเจียนและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

นอร์มันและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

นอร์มันและประเทศไอร์แลนด์ · ประเทศไอร์แลนด์และอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

นอร์มันและประเทศเวลส์ · ประเทศเวลส์และอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นอร์มันและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน

นอร์มัน มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 17.07% = 7 / (20 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นอร์มันและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »