เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกแสกทุ่งหญ้าและวงศ์นกแสก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นกแสกทุ่งหญ้าและวงศ์นกแสก

นกแสกทุ่งหญ้า vs. วงศ์นกแสก

นกแสกทุ่งหญ้า (Grass owl, African grass owl) เป็นนกล่าเหยื่อในเวลากลางคืนชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกแสก (Tytonidae) เป็นนกแสกขนาดกลาง โดยเฉลี่ยมีความใหญ่กว่านกแสก (T. alba) เล็กน้อย มีความยาวจากจะงอยปากจรดปลายหาง 35-38 เซนติเมตร มีความยาวของขายาวกว่า ทำให้เวลาบิน ขาและกรงเล็บของนกแสกทุ่งหญ้าจะโผล่มาให้เห็นพ้นหาง ขณะที่นกแสกจะไม่พ้นหาง มีลักษณะขนแตกต่างกัน โดยที่นกแสกทุ่งหญ้ามีขนที่ใบหน้าสีขาวปลอด และรูปใบหน้ายาวรีกว่า ขนโดยรวมสีเข้มกว่านกแสก กระหม่อมมีสีน้ำตาลเข้มแบบสีช็อคโกแล็ต บริเวณอกกว้างมีสีน้ำตาลอ่อนตัดกับพื้นสีขาว ประด้วยจุดสีดำ ขนคลุมใต้ปีกสีขาวประด้วยจุดสีดำเหมือนพื้นท้อง ปลายปีกโดยเฉพาะขนปลายปีกชั้นนอกมีแถบสีดำ บนปีกและบนหางมีแถบสีดำขวางตัดกับสีน้ำตาลอ่อนของเส้นขน ขนคลุมบนปีกสีน้ำตาลเข้ม พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออกและเกาะไต้หวัน จนถึงทวีปออสเตรเลีย สามารถแบ่งออกได้ชนิดย่อยอีก 6 ชนิด (ดูในตาราง) มีนิเวศวิทยาโดยปกติจะสร้างรังในทุ่งหญ้าเพื่อวางไข่ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ โดยภายในรังไม่มีวัสดุปูพื้น มีเพียงหญ้าแห้งสานทับกันเท่านั้น ลักษณะรังเป็นอุโมงค์มีทางเข้าออกโพรงหลายทาง ซ่อนตัวอยู่ในทุ่งหญ้าคาและหญ้าไซ สูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร กินหนูเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับนกแสก ในอดีตไม่เคยปรากฏการพบในประเทศไทย จนกระทั่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 มีผู้ถ่ายรูปนกแสกทุ่งหญ้าได้ 1 ตัวที่ทุ่งหญ้าแบบพรุน้ำท่วม ที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และจากการศึกษาที่มากขึ้น ทำให้ในปัจจุบันได้ถูกยอมรับว่าเป็นนกประจำถิ่นอีกชนิดหนึ่งของไทย โดยคาดว่ามีฤดูวางไข่ประมาณเดือนธันวาคมถึงมีนาคม โดยที่มีชื่อเรียกโดยคนท้องถิ่นว่า "นกเก๊าจ๊าง". วงศ์นกแสก (Barn-owl, วงศ์: Tytonidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับนกเค้าแมว (Strigiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tytonidae นับเป็นวงศ์ของนกเค้าแมววงศ์หนึ่ง นอกเหนือจากวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนาดใหญ่กว่านกในวงศ์นกเค้าแมว ใบหน้ากลมแบน มีขนสีขาวเต็มหน้า ทำให้คล้ายรูปหัวใจ ตามีสีดำ อยู่ด้านหน้า และมีขนาดเล็กกว่าวงศ์นกเค้าแมว ปากเป็นจะงอยงุ้ม สีเหลืองเทา ชมพู หลังและปีกสีน้ำตาลอ่อน มีสีน้ำตาลเทาเป็นส่วน ๆ คอ อก ท้อง สีขาว ขาวนวล มีจุดสีน้ำตาลเข้มทั่วไป ปีกยาว หางสั้น ขนปีกและหางมีลายขวางสีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน ขาใหญ่ มีขนคลุมขา ตีนสีชมพู นิ้วมีเล็บยาว รูปร่างลักษณะตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกัน โดยตัวเมียจะโตกว่าเล็กน้อย ลำตัวตั้งตรง มีพฤติกรรมการหากินและเป็นอยู่คล้ายกับนกในวงศ์นกเค้าแมว โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 16 ชนิด และยังมีอีก 4 สกุล ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ในหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย พบได้ 3 ชนิด คือ นกแสก (Tyto alba) นกแสกทุ่งหญ้า (Tyto capensis) และนกแสกแดง (Phodilus badius) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และพบได้เฉพาะในป่าเท่านั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นกแสกทุ่งหญ้าและวงศ์นกแสก

นกแสกทุ่งหญ้าและวงศ์นกแสก มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกประเทศไทยนกล่าเหยื่อนกแสกนกแสก (สกุล)นกเค้าโมง

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

นกแสกทุ่งหญ้าและสัตว์ · วงศ์นกแสกและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

นกแสกทุ่งหญ้าและสัตว์มีแกนสันหลัง · วงศ์นกแสกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

นกแสกทุ่งหญ้าและสัตว์ปีก · วงศ์นกแสกและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

นกแสกทุ่งหญ้าและประเทศไทย · ประเทศไทยและวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

นกล่าเหยื่อและนกแสกทุ่งหญ้า · นกล่าเหยื่อและวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกแสก

นกแสก หรือ นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง (Barn owl, Common barn owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในวงศ์นกแสก (Tytonidae) วงศ์ย่อย Tytoninae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tyto alba จัดเป็น 1 ชนิดในจำนวน 19 ชนิดของนกในอันดับนกเค้าแมวที่พบได้ในประเทศไทย และนับเป็นนกแสกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 1 ชนิดนั้นคือ นกแสกแดง).

นกแสกและนกแสกทุ่งหญ้า · นกแสกและวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกแสก (สกุล)

นกแสก (Barn-owl, Masked owl) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อกลุ่มหนึ่งในหากินในเวลากลางคืน ใช้ชื่อสกุลว่า Tyto (มาจากภาษากรีกคำว่า τυτο หมายถึง "นกเค้าแมว") ในวงศ์ย่อย Tytoninae ในวงศ์ใหญ่ Tytonidae เป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดของวงศ์นี้ มักมีขนสีเข้มด้านหลังมากกว่าด้านหน้า โดยจะเป็นสีส้มและสีน้ำตาล ขนด้านหน้าสีซีดกว่าจากด้านหลังและมีจุดด่างดำซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด มีลักษณะเด่น คือ มีใบหน้าที่เรียบแบนรูปหัวใจ และไม่มีกระจุกขนที่เหนือตาเหมือนใบหูเหมือนนกเค้าแมวจำพวกอื่น ๆ อีกทั้งยังมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าด้วย เป็นนกเค้าแมวที่มีการวิวัฒนาการและปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้ในหลากหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าและชุมชนเมือง พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นบริเวณขั้วโลก ในบางพื้นที่ เช่น บนเกาะมีบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และชนิดที่พบในบางพื้นที่ เช่น เมดิเตอร์เรเนียนและแคริบเบียนจะมีขนาดใหญ่กว.

นกแสก (สกุล)และนกแสกทุ่งหญ้า · นกแสก (สกุล)และวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าโมง

นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว (Asian barred owlet) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว มีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ด้านใต้ของลำตัวเป็นสีขาวและมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวขึ้นมาที่บริเวณอกอย่างไม่เป็นระเบียบ มีม่านตาสีเหลือง ในวัยเล็กจะมีลวดลายบนหัวเป็นจุดคล้ายกับนกเค้าแคระ (G. brodiei) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกันและเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่เล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย นกเค้าโมง มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก มีชนิดย่อยทั้งสิ้น 8 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งป่าทึบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,980 เมตร จนถึงสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ บางครั้งอาจจะพบได้ในเวลากลางวันได้อีกด้วย จึงนับเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นตัวได้บ่อยรองมาจากนกแสก (Tyto alba) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่างและภาคกลางตอนล่าง มีพฤติกรรมร้องได้หลายเสียง หลายทำนอง ในเวลากลางคืนจะร้องเป็นครั้งคราวคล้ายกับจะบอกโมงยาม จึงได้ชื่อว่า "นกเค้าโมง" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 แต่จากความที่เป็นนกขนาดเล็ก จึงทำให้นกเค้าโมงเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกับนกเค้าแคร.

นกเค้าโมงและนกแสกทุ่งหญ้า · นกเค้าโมงและวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นกแสกทุ่งหญ้าและวงศ์นกแสก

นกแสกทุ่งหญ้า มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์นกแสก มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 15.09% = 8 / (27 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นกแสกทุ่งหญ้าและวงศ์นกแสก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: