เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

ดัชนี นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง (White-eyed River-Martin, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี..

สารบัญ

  1. 45 ความสัมพันธ์: บาท (สกุลเงิน)บึงบอระเพ็ดพ.ศ. 2511พิพิธภัณฑ์บริติชการลอกคราบการตั้งชื่อทวินามกิตติ ทองลงยาภาษากรีกภาษาอังกฤษมรสุมวิวัฒนาการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสัตว์ป่าสงวนสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยสถาบันสมิธโซเนียนสนุ่นอันดับด้วงอำเภอเมืองนครสวรรค์อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อ้อยจังหวัดนครสวรรค์ทวีปแอฟริกาทองคำตัวอย่างต้นแบบแรกประเทศพม่าประเทศกัมพูชาประเทศลาวประเทศจีนประเทศไทยนกจาบนกนางแอ่นนกนางแอ่นแม่น้ำนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกานกแซวสวรรค์นกเกาะคอนแมลงแม่น้ำยมแม่น้ำวังแม่น้ำคองโกแม่น้ำน่านแสตมป์

  2. นกที่พบในประเทศไทย

บาท (สกุลเงิน)

งินบาท (ตัวละติน: Baht; สัญลักษณ์: ฿; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ 15,000 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 15,000 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ ตามข้อมูลของสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) สกุลเงินบาทได้รับการอันดับเป็นสกุลเงินอันดับที่ 10 ของโลกที่ใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ (most frequently used currencies in World Payments).

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและบาท (สกุลเงิน)

บึงบอระเพ็ด

ึงบอระเพ็ด บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ อยู่ในท้องที่สามอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ กลางบึงมีตำหนักแพที่สร้างขึ้นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน เดิมบึงบอระเพ็ดแห่งนี้มีชื่อว่า "ทะเลเหนือ" หรือ "จอมบึง" เนื่องจากมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจระเข้ จากการสำรวจพบว่ามีสัตว์อาศัยอยู่ประมาณ 148 ชนิด พืช 44 ชนิด มีพันธุ์สัตว์ที่หายากได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (พบครั้งแรกที่บึงบอระเพ็ด) ปลาเสือตอ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมจะมีนกเป็ดน้ำอพยพมาที่บึงแห่งนี้เป็นจำนวนมาก พื้นที่บางส่วนได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและบึงบอระเพ็ด

พ.ศ. 2511

ทธศักราช 2511 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1968 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและพ.ศ. 2511

พิพิธภัณฑ์บริติช

้านหน้าของ '''บริติช มิวเซียม''' ใจกลางของพิพิธภัณฑ์มีการรื้อพัฒนาใหม่ใน ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ให้เป็นมหาราชสำนักของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ล้อมรอบห้องอ่านหนังสือเดิม ห้องสมุดอันโด่งดังภายในบริติชมิวเซียม บริติชมิวเซียม หรือที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของมนุษยที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก มีการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและพิพิธภัณฑ์บริติช

การลอกคราบ

ักจั่นลอกคราบ ลอกคราบ หรือ สลัดขน (spelling differences.) เป็นศัพท์ทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นกับสัตว์บางสปีชีส์ - ecdysis ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสัตว์ลอกส่วนของร่างกายที่มักจะเป็นเปลือกนอก (แต่ก็ไม่เสมอไป) ออกไป หรือเปลี่ยนส่วนที่ปกคลุมภายนอกเช่นขนใหม่ การลอกคราบหรือสลัดขนอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปี หรืออาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของสัตว์ก็ได้ การลอกคราบ หรือ การสลัดขนเป็นการเปลี่ยนหนังหนังกำพร้า (Epidermis), ขนสัตว์ (pelage) หรือเปลือกนอกของร่างกายที่มีลักษณะอื่น ในบางสปีชีส์บางส่วนของร่างกายอาจจะถูกสลัดตามไปด้วยเช่นปีกของแมลงบางสปีชีส์ ตัวอย่างของการลอกคราบ หรือ การสลัดขนก็ได้แก่การสลัดขนของนก หรือ การสลัดขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะสุนัข หรือ หมาจิ้งจอก) หรือการลอกคราบของสัตว์เลื้อยคลาน หรือการเปลี่ยนทั่งร่างสัตว์ขาปล้อง.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและการลอกคราบ

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและการตั้งชื่อทวินาม

กิตติ ทองลงยา

กิตติ ทองลงยา (Kitti Thonglongya) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2471-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517) เป็นนักสัตววิทยาชาวไทย เชี่ยวชาญด้านนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีชื่อเสียงจากการค้นพบสัตว์ใกล้สูญพันธุ์สองชน.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและกิตติ ทองลงยา

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและภาษากรีก

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและภาษาอังกฤษ

มรสุม

กลุ่มเมฆและฝนที่เกิดจากมรสุม ภาพแสดงกลุ่มเมฆมรสุม มรสุม เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือ ลมประจำฤดู เป็นลมแน่ทิศและสม่ำเสมอ สาเหตุใหญ่ ๆ เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลในชั้นบรรยากาศ และวัฎจักรของฝน เนื่องจากความไม่เท่ากันของการรับและคายความร้อนของพื้นดินและน้ำ โดยทั่วไปแล้วเป็นคำที่ใช้บรรยายช่วงฤดูกาลเปลี่ยนแปลงที่มีฝนตก ในระดับโลกสามารถที่จะจำแนกมรสุมได้เป็น มรสุมแอฟริกันตะวันตก และ มรสุมเอเชียออสเตรเลีย คำว่า “มรสุม” ถูกใช้เป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษ ในอินเดียของบริเตน (ปัจจุบันคือ อินเดีย บังกลาเทศ และ ปากีสถาน) เพื่อสื่อถึงลมประจำฤดูกาลที่พัดจากอ่าวเบงกอล และทะเลอาหรับนำพาฝนคะนองเข้าไปสู่บริเวณอินเดียของบริเตน คำว่า "มรสุม" หรือ monsoon ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า موسم ในภาษาอารบิก แปลว่า ฤดูกาล.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและมรสุม

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและวิวัฒนาการ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสัตว์มีแกนสันหลัง

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสัตว์ปีก

สัตว์ป่าสงวน

กวางผาจีน (''Nemorhaedus griseus'') 1 ใน 15 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสัตว์ป่าสงวน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นสถาบันวิจัยของรัฐที่มุ่งเน้นผลิตเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ ก่อตั้งเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

สถาบันสมิธโซเนียน

อาคารสถาบันวิจัยสมิธโซเนียน หรือ "The Castle" เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบัน สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) เป็นสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และพิพิธภัณฑ์ ที่บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่ายออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสถาบันสมิธโซเนียน

สนุ่น

นุ่นหรือตะไคร้บก เป็นพืชวงศ์สนุ่นเพียงชนิดเดียวที่เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศไทย เป็นไม้ผลัดใบระยะสั้น ลำต้นอ้วน สั้น บิดงอ กิ่งชูขึ้น ปลายลู่ลงเล็กน้อย ยอดอ่อนมีขนสีเงิน ขอบใบเป็นซี่ ดอกเป็นช่อห้อยลง สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ดอกตัวเมียมีต่อมน้ำหวาน 1 ต่อม ผลขนาดเล็ก แตกได้ ปลายข้างหนึ่งมีขนสีขาว ช่วยให้ปลิวตามลมได้ดี พบทั่วไปตามบริเวณธารน้ำ พบในอินเดีย คาบสมุทรอินโดจีน ฟิลิปปินส์ เนื้อไม้เบาใช้ทำฟืน เปลือกมีแทนนินมาก ใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจ แก้ไข้ ใบสดใช้รักษางูสวัด นิยมปลูกริมน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ตลิ่งพัง ในรัฐมณีปุระ ดอกอ่อนของสนุ่นเรียก ঊযুম (Ooyum) นำมารับประทานได้ เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแดง.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสนุ่น

อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและอันดับด้วง

อำเภอเมืองนครสวรรค์

มืองนครสวรรค์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรร.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและอำเภอเมืองนครสวรรค์

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

ัญลักษณ์ไซเตส อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม..

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

อ้อย

อ้อย (อังกฤษ: Sugar-cane; ชื่อวิทยาศาสตร์: Saccharum officinarum  L.) เป็นพืชวงศ์ POACEAE วงศ์เดียวกับ ไผ่ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพด และ ข้าวบาร์เลย์ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในลำต้นอ้อยที่นำมาใช้ทำน้ำตาลมีปริมาณซูโครสประมาณ 17-35% ชานอ้อย (bagasse) ที่ถูกบีบเอาน้ำอ้อยออกไปแล้ว สามารถนำมาใช้ทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ ส่วนกากน้ำตาล (molasses) ที่แยกออกจากน้ำตาลในระหว่างการผลิต สามารถนำไปหมักเป็นเหล้ารัม (rum) ได้อีกด้วย อ้อยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเมื่อพิจารณาในแง่ของผลผลิต เพราะอ้อยสามารถใช้ปัจจัยสำหรับการเจริญเติบโต เช่น แสงแดด น้ำ อากาศ และธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้อ้อยยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย และเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้ว สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง อ้อยชอบอากาศร้อนและชุ่มชื้น ดังนั้นประเทศที่ปลูกอ้อย ซึ่งมีประมาณ 70 ประเทศจึงอยู่ในแถบร้อนและชุ่มชื้นในระหว่างเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้ ประเทศผู้ปลูกอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล คิวบา อินเดี.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและอ้อย

จังหวัดนครสวรรค์

ังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและจังหวัดนครสวรรค์

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและทวีปแอฟริกา

ทองคำ

ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและทองคำ

ตัวอย่างต้นแบบแรก

ตัวอย่างต้นแบบแรก ''Marocaster coronatus'' ตัวอย่างต้นแบบแรก (Holotype) เป็นตัวแทนตัวอย่าง (หรือ ภาพวาด) ของสิ่งมีชีวิตเพียงตัวอย่างเดียว คัดเลือกมาจากตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง โดยเลือกตัวอย่างที่มีลักษณะมาตรฐานของชนิดนั้นๆ อย่างชัดเจน ถือเป็นตัวอย่างต้นแบบที่มีความสำคัญที่สุด เช่น ตัวอย่างต้นแบบแรกของผีเสื้อ Lycaeides idas longinus ที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หมวดหมู่:ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและตัวอย่างต้นแบบแรก

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและประเทศพม่า

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและประเทศกัมพูชา

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและประเทศลาว

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและประเทศจีน

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและประเทศไทย

นกจาบ

ลักษณะรังของนกจาบธรรมดา ซึ่งปากทางเข้าอยู่ด้านล่าง นกจาบอกลาย (''P. manyar'') นกจาบ หรือ นกกระจาบ เป็นนกขนาดเล็กในสกุล Ploceus ในวงศ์นกจาบ (Ploceidae) พบทั้งในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา อาศัยอยูตามปาโปรง หรือทุงโลง ไมมีชนิดใดที่อยูในสภาวะที่เสี่ยงตอการสูญพัน.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและนกจาบ

นกนางแอ่น

ำหรับนกที่มีขนาดเล็กกว่า ที่อยู่ในวงศ์ Apodidae หรือ "นกแอ่น" ดูที่: นกแอ่น นกนางแอ่น หรือ นกอีแอ่นบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและนกนางแอ่น

นกนางแอ่นแม่น้ำ

นกนางแอ่นแม่น้ำ หรือ นกนางแอ่นเทียม (river martins) เป็นสกุลนกนางแอ่นในวงศ์ย่อย Pseudochelidoninae ที่อยู่ในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) ประกอบไปด้วย 2 สปีชีส์คือ นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (Pseudochelidon eurystomina) ที่พบในสาธารณรัฐคองโกและประเทศกาบอง และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) ที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีขนส่วนใหญ่เป็นสีดำ บินจับแมลงกินเป็นอาหาร พวกมันดูเหมือนจะใช้ชีวิตอยู่บนพื้นมากกว่านกนางแอ่นชนิดอื่น อาจเดินมากกว่าเกาะคอน และนกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจหากินในเวลากลางคืน นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาทำรังบนตลิ่งทรายริมแม่น้ำโดยการขุดโพรงลงไป ส่วนแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังไม่ทราบ เมื่อมีการค้นพบนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กุสทัฟ ฮาร์ทเลาบ์ (Gustav Hartlaub) คิดว่ามันเป็นนกตะขาบและผู้แต่งหลังจากนั้นก็จัดวางมันอยู่ในวงศ์ของตนเองหรืออยู่ในวงศ์นกแอ่นพง จากการศึกษาทางกายวิภาคพบว่ามันเป็นญาติใกล้ชิดกับนกในวงศ์นกนางแอ่น แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างคือมีขาและเท้าแข็งแรงและมีปากอวบ สิ่งเหล่านี้แสดงว่าควรแยกมันออกเป็นวงศ์ย่อยต่างหาก นกนางแอ่นแม่น้ำทั้งสองชนิดจัดอยู่ในสกุลเดียวกันคือสกุล Pseudochelidon เพราะทั้งสองมีโครงสร้างที่คล้ายกัน แต่ บรูก เสนอว่านกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรควรแยกออกเป็นสกุล Eurochelidon นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกามีการกระจายพันธุ์ในวงแคบในหลายพื้นที่แต่สถานะภาพที่แท้จริงยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่วนนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรค้นพบในปี..

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและนกนางแอ่นแม่น้ำ

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา หรือ นกนางแอ่นเทียมคองโก (African River Martin) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของวงศ์ย่อยนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) เป็นนกขนาดกลาง มีขนสีดำ ตาสีแดง ปากอวบกว้างสีส้ม-แดง หางเหลี่ยม โครงสร้างต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่นคือ มีเท้าและขาแข็งแรง มีการเสนอให้แยกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่พบในเอเชียที่เป็นนกสกุลเดียวกันออกเป็นอีกวงศ์ย่อย มีการกระจายพันธุ์ตามแม่น้ำคองโกและสาขารวมถึงแม่น้ำอูบองชี (Ubangi) ด้วย มันทำรังในโพรงบนตลิ่งทราย มีการกระจายพันธุ์ในวงจำกัดแม้จะถูกจับไปเป็นอาหารโดยคนในพื้นที่ มันเป็นนกอพยพ ในฤดูหนาวจะอพยพไปที่ราบชายฝั่งทางใต้ของประเทศกาบองและสาธารณรัฐคองโก แต่นกหลายตัวก็ยังคงผสมพันธุ์วางไข่ในเขตหนาวเย็น นกนางแอ่นชนิดนี้บินจับแมลงกินเป็นอาหาร และเดินบนพื้นมากกว่าจะเกาะคอน สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติจัดสถานะการอนุรักษ์เป็นยังไม่มีข้อมูล (DD) เพราะไม่มีข้อมูลของจำนวนประชากร.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา

นกแซวสวรรค์

นกแซวสวรรค์ (Asian Paradise Flycatcher) เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทย พบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ เป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ซึ่งจะพบได้ในภาคตะวันตกและภาคใต้ ชอบอาศัยในป่าดงดิบ ป่าทุติยภูมิ ป่าเบญจพรรณ อาจพบตามป่าชายเลนหรือในสวนได้ในช่วงอพยพ พบได้ในพื้นราบจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและนกแซวสวรรค์

นกเกาะคอน

นกเกาะคอน หรือ นกจับคอน (Passerine, Perching bird) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ในกลุ่มนกขากรรไกรแบบใหม่ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passeriformes (โดยมีที่มาจาก Passer domesticus ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกใหญ่ และนกในสกุล Passer ที่เป็นนกขนาดเล็กที่ใกล้เคียงกัน) นกในอันดับนี้มีลักษณะทั่วไปทางกายภาค คือ เป็นนกที่มีวิวัฒนาการเพื่ออาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก นิ้วตีนมีทั้งหมด 4 นิ้ว ทุกนิ้วเจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ในป่าประเภทต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อเมื่อลงดินจะได้วิธีก้าวกระโดด โดยมากแล้วจะเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ปัจจุบัน นักปักษีวิทยาได้แบ่งอันดับนี้เป็นอันดับย่อย 3 อันดับ (ดูในตาราง-บางข้อมูลจัดให้มี 2) โดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อควบคุมกล่องเสียงที่อยู่ในลำคอ โดยบางอันดับย่อยจะมีกล้ามเนื้อนี้เพียง 2 คู่ ซึ่งยังเป็นลักษณะของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงร้องไม่ไพเราะนัก แต่บางอันดับย่อยมีมากกว่า คือมี 4 คู่ ทำให้มีเสียงร้องที่ไพเราะกว่า นกในอันดับนี้มีมากกว่า 100 วงศ์ (ราว 110 วงศ์) ประมาณ 5,400 ชนิด ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยที่มีการค้นพบนกแล้วราว 1,000 ชนิด แบ่งเป็นนกในอันดับต่าง ๆ 16 อันดับ ใน 70 วงศ์ นกที่อยู่ในอันดับนี้นับว่ามากกว่าครึ่ง ได้แก.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและนกเกาะคอน

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแมลง

แม่น้ำยม

แม่น้ำยมในจังหวัดแพร่ แม่น้ำยม (20px) เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบสูงชันสลับซับซ้อนบนเทือกเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ซึ่งอยู่ในเขต พะเยา และแพร่ โดยมีแม่น้ำงิม และ แม่น้ำควร ไหลมาบรรจบกันที่บ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีความยาวประมาณ 735 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูงของอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย สภาพโครงสร้างทางน้ำของแม่น้ำยมมีลักษณะแบบกิ่งไม้ ประกอบด้วยลำน้ำสาขา 77 สาย ระดับน้ำสูงสุดในฤดูฝน ลดลงเมื่อถึงฤดูหนาว และต่ำสุดในฤดูร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแม่น้ำยม

แม่น้ำวัง

แม่น้ำวัง (ᨶᩣᩴ᩶ᩅᩢ᩠ᨦ) เป็นแม่น้ำอยู่ในภาคเหนือของไทย เกิดในเทือกเขาผีปันน้ำในเขตจังหวัดเชียงราย มีความยาว 382 กิโลเมตร ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนจะไหลไปที่แม่น้ำเจ้าพร.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแม่น้ำวัง

แม่น้ำคองโก

แม่น้ำคองโก บริเวณมาลูกู แม่น้ำคองโก (Congo River) หรือแม่น้ำซาอีร์ (Zaire River) เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันออกกลางของแอฟริกา มีความยาวรวม 4,700 กม.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแม่น้ำคองโก

แม่น้ำน่าน

แม่น้ำน่าน (30px) มีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง จังหวัดน่าน มีความยาวตลอดลำน้ำ 740 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน นับเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักในภาคเหนือและภาคกลางของไทย โดยได้ไหลย้อนขึ้นไปท่วมจังหวัดเชียงใหม่อยู่เสมอ.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแม่น้ำน่าน

แสตมป์

แสตมป์ฝรั่งเศส ที่ใช้ในจักรวรรดิออตโตมัน ช่วงปี พ.ศ. 2445-2463 แสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร (Postage stamp หรือ Stamp) เป็นหลักฐานการชำระค่าบริการไปรษณีย์ มักเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมเพื่อติดบนซองจดหมาย แสตมป์ที่มีรูปร่างหรือทำจากวัสดุอื่นก็มีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง แสตมป์มักพิมพ์ออกเป็นแผ่น ประกอบด้วยแสตมป์หลายดวง ปกติอยู่ระหว่าง 20 ถึง 120 ดวง มีการปรุรู รอบดวงแสตมป์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการฉีก รอยฉีกที่ได้เรียกว่า ฟันแสตมป์ ด้านหลังแสตมป์มีกาวเคลือบอยู่ กระดาษที่ใช้พิมพ์มักมีสิ่งพิเศษไว้เพื่อป้องกันการปลอมแปลง เช่น ลายน้ำ (watermark) หรือ ด้ายสี หากติดแสตมป์เพื่อใช้งานบนซองแล้ว ต้องมีการประทับตราทุกครั้ง เพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก การสะสมแสตมป์เป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก.

ดู นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแสตมป์

ดูเพิ่มเติม

นกที่พบในประเทศไทย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Eurochelidon sirintaraePseudochelidon sirintaraeSeudochelidon sirintaraeนกตาพองนกนางแอ่นตาพอง