เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกเค้าจุดและสัตว์ปีก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นกเค้าจุดและสัตว์ปีก

นกเค้าจุด vs. สัตว์ปีก

นกเค้าจุด (อังกฤษ: Spotted owlet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Athene brama) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีลักษณะส่วนหัวกลมไม่มีขนชี้ขึ้นไปเหมือนหูอย่างนกเค้ากู่ (Otus lempiji) มีจุดสังเกตอยู่ที่ขนคิ้วสีขาวที่เห็นได้เด่นชัด หัวค่อนข้างแบน บริเวณหัวจนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วไป บริเวณตัวด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลก็มีจุด แต่จะมีขนาดใหญ่และกระจายมากกว่าบริเวณหัว บางทีใหญ่และเรียงตัวกันดูคล้ายบั้งมากกว่าจุด โดยเฉพาะด้านหลังคอที่จะเรียงตัวต่อกันคล้ายปลอกคอ ด้านล่างของลำตัวสีขาว แต่มีลายจุดสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน โตเต็มที่มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 20 เซนติเมตร จัดว่าเป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ออกหากินในเวลากลางคืน โดยเริ่มออกจากรังตั้งแต่เวลาโพล้เพล้ เป็นนกที่บินได้เงียบมาก อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงปีกแข็ง, หนูขนาดเล็กหรือนกขนาดเล็กชนิดอื่นที่นอนหลับบนต้นไม้ เมื่อเห็นเหยื่อจะพุ่งตัวกางกรงเล็บอันแข็งแรงและแหลมคมออกจับเหยื่อ ถ้าเหยื่อตัวเล็กจะกินเลยทันที ถ้าตัวใหญ่ก็นำกลับมาที่รังก่อนแล้วใช้กรงเล็บจับเหยื่อขึ้นมาฉีกกินจนหมด นกเค้าจุดที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านอาจมีพฤติกรรมไล่จับแมลงที่มาเล่นไฟที่หลอดนีออน มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อนุทวีปอินเดีย สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ที่พม่า, ไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 400 เมตร จนถึงทะเลทราย ทั้งยังปรับตัวให้อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ได้อีกด้วย โดยสามารถพบได้ตามที่ ๆ มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นหรือตามสวนสาธารณะ เป็นนกที่ปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้ดีมากชนิดหนึ่งและไม่ค่อยกลัวมนุษย์ มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง) ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน โดยรังวางไข่ของนกเค้าจุด จะใช้โพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ หรือรอยแตกรอยแยกในตึก, เจดีย์, ซอกหลังคาตามอาคารเป็นรัง อาจหาหญ้าหรือขนนกมารองพื้นรัง แต่ส่วนมากจะวางไข่กับพื้นเปล่าเลย วางไข่ครั้งละ3-5ฟอง ไข่มีลักษณะกลม ขนาด 37x27 มิลลิเมตร เปลือกไข่สีขาวเป็นมันเล็กน้อย นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ เช่นเดียวกับนกเค้าแมวชนิดอื่น ๆ นกเค้าจุดจะกกไข่ทันทีตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกในรังจึงมีขนาดแตกต่างกันมาก เพราะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยงลูกนกประมาณ 35-40วัน ลูกนกจะสามารถออกมานอกรังได้ ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อน โดยจะออกหากินในเวลากลางวัน ถ้าเหยื่อเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะส่งให้ลูกทั้งตัว ถ้าขนาดใหญ่ก็จะฉีกเป็นชิ้นเล็กให้ ลูกนกที่โตพอสมควรแล้วจะยังคงอยู่กับพ่อแม่อีกนาน บางครั้งอาจพบนกเค้าจุด 2-3ตัว อยู่บนต้นไม้เดียวกัน หรือเกาะกิ่งเบียดใกล้ชิดกันเสมอ ๆ โดยในตอนกลางวันจะเกาะกิ่งหลับอยู่บนต้นไม้ใบหนา หรือถ้ามีโพรงก็จะมุดเข้าไปหลบในโพรงเพื่อความปลอดภัย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็เป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง. ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นกเค้าจุดและสัตว์ปีก

นกเค้าจุดและสัตว์ปีก มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริเวณแห้งแล้งสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์แมลง

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

นกเค้าจุดและบริเวณแห้งแล้ง · บริเวณแห้งแล้งและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

นกเค้าจุดและสัตว์ · สัตว์และสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

นกเค้าจุดและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์ปีกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

นกเค้าจุดและสัตว์ปีก · สัตว์ปีกและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

นกเค้าจุดและสปีชีส์ · สปีชีส์และสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

นกเค้าจุดและแมลง · สัตว์ปีกและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นกเค้าจุดและสัตว์ปีก

นกเค้าจุด มี 54 ความสัมพันธ์ขณะที่ สัตว์ปีก มี 78 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 4.55% = 6 / (54 + 78)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นกเค้าจุดและสัตว์ปีก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: