โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกเค้าและพระวิษณุ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นกเค้าและพระวิษณุ

นกเค้า vs. พระวิษณุ

นกเค้า หรือ นกเค้าแมว หรือ นกฮูก (Owl) เป็นนกที่อยู่ในอันดับ Strigiformes มีรูปใบหน้าคล้ายแมว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ จับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร เช่น หนู, งู หรือสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเล็ก ๆ ในขณะที่บางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจจับปลา หรือปูกินได้ด้วย จัดเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่งเหมือนเหยี่ยว, อินทรี และแร้ง ที่หากินในเวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นมักหากินในเวลากลางคืน ทำให้มีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน เหตุที่หากินในเวลากลางคืน เป็นเพราะนกเค้าแมวเป็นนกที่ไม่อาจสู้กับนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน อย่าง เหยี่ยวหรืออินทรีได้ อีกทั้งบางครั้งยังถูกนกที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง นกเอี้ยงหรือนกกิ้งโครงไล่จิกตีอีกต่างหาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่าโดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง. ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นกเค้าและพระวิษณุ

นกเค้าและพระวิษณุ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระลักษมีศาสนาฮินดูตรีมูรติ

พระลักษมี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่ลักษมีประดับเทวสถานมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา เทวรูปพระลักษมีสำริด ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้ พระลักษมี (ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร น้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก.

นกเค้าและพระลักษมี · พระลักษมีและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

นกเค้าและศาสนาฮินดู · พระวิษณุและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ตรีมูรติ

ทวรูปตรีมูรติในศาลเคารพ บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ตรีมูรติ เมื่อแยกออกเป็น 3 (จากซ้าย พระพรหม, พระวิษณุ, พระศิวะ) ตรีมูรติ (Trimurati, Trinity; त्रिमूर्ति) คือ การอวตารรวมของพระเป็นเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ (ผู้ปกป้องรักษา) และ พระศิวะ (ผู้ทำลาย) คำว่า ตรีมูรติ มาจากภาษาสันสกฤต ตรี หมายถึง สาม มูรติ หมายถึง รูปแบบ ตรีมูรติ หมายถึง รูปแบบทั้งสามหรือรูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ อันประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหลักสำคัญในศาสนาฮินดู หากมองตามหลักปรัชญาสามารถหมายถึง พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย หรือสามารถเปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น คงอยู่ และ ดับไป.

ตรีมูรติและนกเค้า · ตรีมูรติและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นกเค้าและพระวิษณุ

นกเค้า มี 75 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระวิษณุ มี 76 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 1.99% = 3 / (75 + 76)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นกเค้าและพระวิษณุ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »