โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกยูงอินเดียและเทือกเขาหิมาลัย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นกยูงอินเดียและเทือกเขาหิมาลัย

นกยูงอินเดีย vs. เทือกเขาหิมาลัย

นกยูงอินเดีย หรือ นกยูงสีน้ำเงิน (Indian peafowl, Blue peafowl) เป็นนกยูงชนิดหนึ่ง ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, บังกลาเทศ, ภูฏาน และศรีลังกา มีขนาดเล็กกว่านกยูงไทย (P. muticus) ซึ่งเป็นนกยูงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนจนถึงแหลมมลายูเล็กน้อย ขนหงอนจะมีลักษณะเป็นรูปพัดต่างจากนกยูงไทยที่เป็นกระจุก สีของผิวหนังบริเวณหน้าจะมีสีขาว และมีสีดำคาดบริเวณตา ขนบริเวณคอและอกมีสีน้ำเงิน ขนบริเวณปีกเป็นลายสีขาวสลับกับสีดำ ขนตามลำตัวจะมีสีเขียวอมน้ำเงิน ด้านหลังเป็นเกล็ดคล้ายใบไม้ ในตัวเมียนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาล ขนคอและหลังจะมีสีอ่อนกว่าตัวผู้ นกยูงอินเดียตัวผู้ตัวเต็มวัย เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูสืบพันธุ์จะมีขนคลุมหางที่ยาวออกมา ประมาณ 2 เท่าของลำตัวหรือประมาณ 150 เซนติเมตร ประกอบด้วยขน 2 ประเภทด้วยกัน คือ ขนที่มีวงกลม ซึ่งเรียกว่า "แววมยุรา" และขนที่อยู่บริเวณขอบ เรียกว่า "T Feathers" ซึ่งบริเวณนี้จะไม่มีแววมยุรา ขนคลุมหางของนกยูงหนึ่งตัวจะประกอบด้วยขนคลุมหางประมาณ 200 เส้น แบ่งเป็นขนที่มีแววมยุรา ประมาณ 170 เส้น และขนคลุมหางที่เป็นขอบหรือ T-feathers อีกประมาณ 30 เส้น ซึ่งขนคลุมหางนี้จะมีเพื่อการเกี้ยวพาราสีตัวเมียในฤดูสืบพันธุ์ ที่เรียกว่า "การรำแพน" นกยูงอินเดียวางไข่ ครั้งละ 5-8 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 28 วัน และในระยะที่เป็นวัยอ่อนนั้นจะมีความแตกต่างกับนกยูงที่ตัวโตเต็มวัยทั้งสีขนและขนาดของลำตัว ลูกนกยูงในวัยนี้จะไม่สามารถระบุเพศได้จากการสังเกตลักษณะและสีของขนจากภายนอก จนกว่าลูกนกจะมีอายุ 8 เดือน จึงจะสามารถระบุเพศด้วยจากการสังเกตลักษณะภายนอกและสีของขนได้ แต่ถ้ามองผิวเผินอาจจะเหมารวมได้ว่าเป็นลูกนกชนิดเดียวกันดังนั้นจะต้องสังเกตอย่างละเอียด โดยลูกของนกยูงไทยจะมีสีเขียวเป็นมันเหลือบบริเวณปลายขนแต่ละเส้นจะมีสีน้ำตาลแต้ม ขนบริเวณหัวและคอจะมีสีเขียวเป็นมันเหลือบและจะมีขนสีขาวแซมประปราย ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลทองและมีสีดำแต้มบ้าง ส่วนลูกนกยูงอินเดียจะมีลักษณะแตกต่างกันที่ขน บริเวณลำตัวและหลังจะมีลายสีน้ำตาลประทั้งเส้น ขนบริเวณคอจะมีสีขาวเทาและมีสีเขียวเป็นมันเหลือบแซมประปราย ส่วนขนบริเวณคอส่วนล่างและหน้าอกจะเริ่มเห็นสีน้ำเงินแซมเป็นจุด ๆ ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลลายดำ เมื่อมองโดยรวมก็จะพบว่าลูกนกยูงอินเดียจะมีสีที่อ่อนและหม่นกว่าลูกนกยูงไทย ตัวผู้ขณะยืนปกติ ตัวเมียและลูก ๆ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าดงดิบทึบ ตัวผู้ชอบทำลานเอาไว้รำแพนหาง และจะรักษาความสะอาดลานอย่างดี เป็นนกที่ระวังตัวมากและสายตาไวมาก ยากที่จะเข้าใกล้ตัวได้ จะบินหนีก่อน เป็นนกที่บินเก่ง ชอบนอนที่สูงและชอบร้องเวลาเช้าและเย็น เป็นนกที่จดจำที่อยู่ของตนได้เป็นอย่างดี นกยูงอินเดีย ถือเป็นสัตว์ประจำชาติของอินเดีย ในต้นปี.. วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นกยูงอินเดียและเทือกเขาหิมาลัย

นกยูงอินเดียและเทือกเขาหิมาลัย มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นกยูงอินเดียและเทือกเขาหิมาลัย

นกยูงอินเดีย มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทือกเขาหิมาลัย มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (11 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นกยูงอินเดียและเทือกเขาหิมาลัย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »