เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และนกปักษาสวรรค์โกลดี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และนกปักษาสวรรค์โกลดี

นกปักษาสวรรค์ (สกุล) vs. นกปักษาสวรรค์โกลดี

นกปักษาสวรรค์ หรือ นกการเวก เป็นสกุลของนกในสกุล Paradisaea (/พา-รา-ดิ-เซีย/) ในวงศ์นกปักษาสวรรค์ (Paradisaeidae) โดยถือว่าเป็นสกุลของนกปักษาสวรรค์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เนื่องจากตัวผู้มีชุดขนที่สวยงาม และมีสีสันฉูดฉาดสดใส จึงเป็นที่ต้องการทำมาทำเป็นเครื่องประดับของชาวพื้นเมืองนิวกินี ตลอดจนเป็นสินค้าส่งออกในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 อีกทั้งยังเป็นสกุลที่ปรากฏบนธงชาติของนิวกินีอีกด้วย โดยคำว่า Paradisaea นั้นมาจากภาษาละตินที่หมายถึง "สวรรค์" และภาษาท้องถิ่นในอินโดนีเซีย คำว่า "Cenderawasih" หมายถึง "ของขวัญแห่งรัก" นกปักษาสวรรค์ กระจายพันธุ์ในป่าที่ราบสูงเหนือระดับน้ำทะเล จนถึงป่าบนภูเขาสูงในหมู่เกาะอูรู, หมู่เกาะดอนเตรแคสโต และหมู่เกาะปาปัวตะวันตก เป็นนกที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักส่งเสียงร้องดังเพื่อสื่อสารกันรวมถึงการหาคู่ นกตัวผู้จะเป็นฝ่ายเกี้ยวพาตัวเมียด้วยการอวดขน กางปีก กางหางบนต้นไม้ ตัวเมียจะเป็นฝ่ายเลือกตัวผู้ด้วยตัวเอง การผสมพันธุ์เกิดขึ้นสั้น ๆ เพียงไม่กี่วินาที แต่นกตัวผู้อาจจะผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวเดิม ๆ หรือเปลี่ยนตัวเมียไปเรื่อย ๆ ก็ได้ ในปี.. นกปักษาสวรรค์โกลดี (Goldie's bird-of-paradise) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกปักษาสวรรค์ (Paradisaeidae) จัดเป็นนกชนิดหนึ่งที่อยู่ในสกุล Paradisaea ซึ่งเป็นสกุลนกปักษาสวรรค์ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากมีชุดขนที่โดดเด่น และมีความต้องการขนมากที่สุด นกปักษาสวรรค์โกลดี ได้ชื่อมาจากนักสำรวจและสะสมชาวสกอตต์ แอนดรูว์ โกลดี ซึ่งเป็นผู้ค้นพบนกชนิดนี้ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และนกปักษาสวรรค์โกลดี

นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และนกปักษาสวรรค์โกลดี มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์นกปักษาสวรรค์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกหมู่เกาะดอนเตรแคสโตนกเกาะคอน

วงศ์นกปักษาสวรรค์

นกปักษาสวรรค์ หรือ นกการเวก หรือ นกวายุภักษ์ (Bird-of-paradise) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Paradisaeidae เป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก โดยเฉพาะในตัวผู้จะมีขนตามตัวสีสันฉูดฉาดสวยงาม ขนหางเหยียดยาวเป็นเส้นโค้งอ่อนช้อย หรือม้วนเป็นรูปร่างแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิด จุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดตัวเมียที่มีความงามด้อยกว่า หรือบางกรณีก็เกิดพึงพอใจในตัวเมียต่างชนิดให้เข้ามาผสมพันธุ์ด้วย ขณะที่ตัวผู้บางชนิดจะเต้นไปบนพื้นดินเพื่อเกี้ยวพาราสีตัวเมีย นกปักษาสวรรค์กินลูกไม้ หรือแมลงบริเวณแหล่งอาศัยเป็นอาหาร นกปักษาสวรรค์ไม่ได้เป็นนกที่อยู่รวมกันเป็นฝูง หากแต่มักจะอยู่ตามลำพังตัวเดียว แต่ตัวผู้ทุกชนิดจะสนใจแต่เรื่องหาคู่ โดยจะเกี้ยวพาราสีตัวเมียเสมอ ๆ ตัวผู้จะมีพฤติกรรมผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวเดิมตลอดช่วงของการเกี้ยวพาราสี หรือจะผสมพันธุ์ฺกับตัวเมียหลายตัว หรืออาจจะเป็นตัวเมียตัวเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกในช่วงเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ขณะที่ตัวเมียจะไม่มีปัญหา เนื่องจากตัวเมียจะเป็นฝ่ายที่เลือกตัวผู้จากลีลาการเต้นเกี้ยวพาราสี โดยจะใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันเพื่อมองเฟ้นหาตัวผู้ที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นการคัดเลือกทางเพศที่มีมาตั้งแต่อดีต อีกทั้งยังมีการผสมข้ามสายพันธุ์จนได้เป็นนกพันทางอีกด้วย นกปักษาสวรรค์ กระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นของนิวกินี, หมู่เกาะโมลุกกะในอินโดนีเซีย และบางส่วนของออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 14 สกุล ประมาณ 40 ชนิด โดยกว่าครึ่งอยู่ในนิวกินี (บางข้อมูลจัดให้มี 15 สกุล) การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่านกปักษาสวรรค์มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองมานานกว่า 24 ล้านปี จนมีความหลากหลายและความงามอย่างในปัจจุบัน วิวัฒนาการดังกล่าวเป็นการเดินทางทางชีววิทยาอันยาวนานกว่าจะแยกออกจากนกในวงศ์ใกล้เคียงกันที่สุด คือ อีกา (Corvidae) ซึ่งเป็นนกที่รู้จักเป็นอย่างดีว่าไม่สวย ในอดีต ขนของนกปักษาสวรรค์ถือเป็นเครื่องบรรณาการหรือสินค้ามีค่ามานานกว่า 2,000 ปี ขนนกใช้แทนเงินได้ การล่าจึงเกิดขึ้นอาจนับตั้งแต่การเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในถิ่นที่อยู่ของนกในวงศ์นี้ และได้กลายมาเป็นที่ต้องการของนักสะสมชาวยุโรป ภายหลังนกปักษาสวรรค์ตัวแรกเดินทางจากดินแดนหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกไปพร้อมกับกองเรือของเฟอร์ดินันท์ แมกเจลเลน และเทียบท่าสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1522 มีซากนกปักษาสวรรค์ที่ได้รับมอบเป็นบรรณาการกลับไปด้วย เมื่อชาวพื้นเมืองจับนกได้มักตัดขาทิ้ง ขณะนั้นชาวยุโรปยังไม่มีใครเคยเห็นนกปักษาสวรรค์ที่มีชีวิต จึงเล่าลือกันว่านกชนิดนี้ไม่มีขา คงต้องบินลงมาจากสวรรค์ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกสามัญ ในยุคที่ตลาดค้านกปักษาสวรรค์เฟื่องฟู เพราะความต้องการขนของนกปักษาสวรรค์มาประดับตกแต่งหมวกสตรีชาวยุโรป ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ที่นิวกินีมียอดส่งออกนกชนิดนี้ถึงปีละ 80,000 ตัวต่อปี จนท้ายที่สุดมีกระแสอนุรักษ์ก็เกิดขึ้น มีการออกมาต่อต้านของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งอีกหลายประเทศในยุโรปห้ามซื้อขาย ต่อมามีการออกกฎหมายห้ามล่า เมื่อจักรวรรดิอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมของนิวกินีในปี ค.ศ. 1908 ปัจจุบันรัฐบาลนิวกินีเองก็ได้ออกกฎหมายห้ามล่า ห้ามนำนกออกจากเกาะยกเว้นเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ หรือเพื่อการเฉลิมฉลองในพิธีกรรมของชาวพื้นเมืองเท่านั้นและนกปักษาสวรรค์ยังได้ปรากฏบนมุมธงชาตินิวกินีและตราแผ่นดินของนิวกินีด้ว.

นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และวงศ์นกปักษาสวรรค์ · นกปักษาสวรรค์โกลดีและวงศ์นกปักษาสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และสัตว์ · นกปักษาสวรรค์โกลดีและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และสัตว์มีแกนสันหลัง · นกปักษาสวรรค์โกลดีและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และสัตว์ปีก · นกปักษาสวรรค์โกลดีและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะดอนเตรแคสโต

หมู่เกาะดอนเตรแคสโต หมู่เกาะดอนเตรแคสโต (D'Entrecasteaux Islands) เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในประเทศปาปัวนิวกินี ในทะเลโซโลมอน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก นอกฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะนิวกีนี หมู่เกาะมีช่วงความยาวราว 160 กม.

นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และหมู่เกาะดอนเตรแคสโต · นกปักษาสวรรค์โกลดีและหมู่เกาะดอนเตรแคสโต · ดูเพิ่มเติม »

นกเกาะคอน

นกเกาะคอน หรือ นกจับคอน (Passerine, Perching bird) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ในกลุ่มนกขากรรไกรแบบใหม่ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passeriformes (โดยมีที่มาจาก Passer domesticus ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกใหญ่ และนกในสกุล Passer ที่เป็นนกขนาดเล็กที่ใกล้เคียงกัน) นกในอันดับนี้มีลักษณะทั่วไปทางกายภาค คือ เป็นนกที่มีวิวัฒนาการเพื่ออาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก นิ้วตีนมีทั้งหมด 4 นิ้ว ทุกนิ้วเจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ในป่าประเภทต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อเมื่อลงดินจะได้วิธีก้าวกระโดด โดยมากแล้วจะเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ปัจจุบัน นักปักษีวิทยาได้แบ่งอันดับนี้เป็นอันดับย่อย 3 อันดับ (ดูในตาราง-บางข้อมูลจัดให้มี 2) โดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อควบคุมกล่องเสียงที่อยู่ในลำคอ โดยบางอันดับย่อยจะมีกล้ามเนื้อนี้เพียง 2 คู่ ซึ่งยังเป็นลักษณะของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงร้องไม่ไพเราะนัก แต่บางอันดับย่อยมีมากกว่า คือมี 4 คู่ ทำให้มีเสียงร้องที่ไพเราะกว่า นกในอันดับนี้มีมากกว่า 100 วงศ์ (ราว 110 วงศ์) ประมาณ 5,400 ชนิด ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยที่มีการค้นพบนกแล้วราว 1,000 ชนิด แบ่งเป็นนกในอันดับต่าง ๆ 16 อันดับ ใน 70 วงศ์ นกที่อยู่ในอันดับนี้นับว่ามากกว่าครึ่ง ได้แก.

นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และนกเกาะคอน · นกปักษาสวรรค์โกลดีและนกเกาะคอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และนกปักษาสวรรค์โกลดี

นกปักษาสวรรค์ (สกุล) มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ นกปักษาสวรรค์โกลดี มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 30.00% = 6 / (11 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นกปักษาสวรรค์ (สกุล)และนกปักษาสวรรค์โกลดี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: