โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกนางแอ่นแม่น้ำและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นกนางแอ่นแม่น้ำและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกนางแอ่นแม่น้ำ vs. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกนางแอ่นแม่น้ำ หรือ นกนางแอ่นเทียม (river martins) เป็นสกุลนกนางแอ่นในวงศ์ย่อย Pseudochelidoninae ที่อยู่ในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) ประกอบไปด้วย 2 สปีชีส์คือ นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (Pseudochelidon eurystomina) ที่พบในสาธารณรัฐคองโกและประเทศกาบอง และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) ที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีขนส่วนใหญ่เป็นสีดำ บินจับแมลงกินเป็นอาหาร พวกมันดูเหมือนจะใช้ชีวิตอยู่บนพื้นมากกว่านกนางแอ่นชนิดอื่น อาจเดินมากกว่าเกาะคอน และนกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจหากินในเวลากลางคืน นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาทำรังบนตลิ่งทรายริมแม่น้ำโดยการขุดโพรงลงไป ส่วนแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังไม่ทราบ เมื่อมีการค้นพบนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กุสทัฟ ฮาร์ทเลาบ์ (Gustav Hartlaub) คิดว่ามันเป็นนกตะขาบและผู้แต่งหลังจากนั้นก็จัดวางมันอยู่ในวงศ์ของตนเองหรืออยู่ในวงศ์นกแอ่นพง จากการศึกษาทางกายวิภาคพบว่ามันเป็นญาติใกล้ชิดกับนกในวงศ์นกนางแอ่น แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างคือมีขาและเท้าแข็งแรงและมีปากอวบ สิ่งเหล่านี้แสดงว่าควรแยกมันออกเป็นวงศ์ย่อยต่างหาก นกนางแอ่นแม่น้ำทั้งสองชนิดจัดอยู่ในสกุลเดียวกันคือสกุล Pseudochelidon เพราะทั้งสองมีโครงสร้างที่คล้ายกัน แต่ บรูก เสนอว่านกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรควรแยกออกเป็นสกุล Eurochelidon นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกามีการกระจายพันธุ์ในวงแคบในหลายพื้นที่แต่สถานะภาพที่แท้จริงยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่วนนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรค้นพบในปี.. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง (White-eyed River-Martin, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นกนางแอ่นแม่น้ำและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกนางแอ่นแม่น้ำและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร มี 21 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บึงบอระเพ็ดกิตติ ทองลงยาภาษากรีกวิวัฒนาการสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับด้วงอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อ้อยประเทศพม่าประเทศกัมพูชานกนางแอ่นนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกานกเกาะคอนแมลงแม่น้ำยมแม่น้ำวังแม่น้ำคองโกแม่น้ำน่าน

บึงบอระเพ็ด

ึงบอระเพ็ด บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ อยู่ในท้องที่สามอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ กลางบึงมีตำหนักแพที่สร้างขึ้นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน เดิมบึงบอระเพ็ดแห่งนี้มีชื่อว่า "ทะเลเหนือ" หรือ "จอมบึง" เนื่องจากมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจระเข้ จากการสำรวจพบว่ามีสัตว์อาศัยอยู่ประมาณ 148 ชนิด พืช 44 ชนิด มีพันธุ์สัตว์ที่หายากได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (พบครั้งแรกที่บึงบอระเพ็ด) ปลาเสือตอ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมจะมีนกเป็ดน้ำอพยพมาที่บึงแห่งนี้เป็นจำนวนมาก พื้นที่บางส่วนได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป.

นกนางแอ่นแม่น้ำและบึงบอระเพ็ด · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและบึงบอระเพ็ด · ดูเพิ่มเติม »

กิตติ ทองลงยา

กิตติ ทองลงยา (Kitti Thonglongya) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2471-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517) เป็นนักสัตววิทยาชาวไทย เชี่ยวชาญด้านนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีชื่อเสียงจากการค้นพบสัตว์ใกล้สูญพันธุ์สองชน.

กิตติ ทองลงยาและนกนางแอ่นแม่น้ำ · กิตติ ทองลงยาและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

นกนางแอ่นแม่น้ำและภาษากรีก · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

นกนางแอ่นแม่น้ำและวิวัฒนาการ · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

นกนางแอ่นแม่น้ำและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

นกนางแอ่นแม่น้ำและสัตว์ · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

นกนางแอ่นแม่น้ำและสัตว์มีแกนสันหลัง · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

นกนางแอ่นแม่น้ำและสัตว์ปีก · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

นกนางแอ่นแม่น้ำและอันดับด้วง · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและอันดับด้วง · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

ัญลักษณ์ไซเตส อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม..

นกนางแอ่นแม่น้ำและอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

อ้อย

อ้อย (อังกฤษ: Sugar-cane; ชื่อวิทยาศาสตร์: Saccharum officinarum  L.) เป็นพืชวงศ์ POACEAE วงศ์เดียวกับ ไผ่ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพด และ ข้าวบาร์เลย์ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในลำต้นอ้อยที่นำมาใช้ทำน้ำตาลมีปริมาณซูโครสประมาณ 17-35% ชานอ้อย (bagasse) ที่ถูกบีบเอาน้ำอ้อยออกไปแล้ว สามารถนำมาใช้ทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ ส่วนกากน้ำตาล (molasses) ที่แยกออกจากน้ำตาลในระหว่างการผลิต สามารถนำไปหมักเป็นเหล้ารัม (rum) ได้อีกด้วย อ้อยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเมื่อพิจารณาในแง่ของผลผลิต เพราะอ้อยสามารถใช้ปัจจัยสำหรับการเจริญเติบโต เช่น แสงแดด น้ำ อากาศ และธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้อ้อยยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย และเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้ว สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง อ้อยชอบอากาศร้อนและชุ่มชื้น ดังนั้นประเทศที่ปลูกอ้อย ซึ่งมีประมาณ 70 ประเทศจึงอยู่ในแถบร้อนและชุ่มชื้นในระหว่างเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้ ประเทศผู้ปลูกอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล คิวบา อินเดี.

นกนางแอ่นแม่น้ำและอ้อย · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและอ้อย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

นกนางแอ่นแม่น้ำและประเทศพม่า · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

นกนางแอ่นแม่น้ำและประเทศกัมพูชา · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

นกนางแอ่น

ำหรับนกที่มีขนาดเล็กกว่า ที่อยู่ในวงศ์ Apodidae หรือ "นกแอ่น" ดูที่: นกแอ่น นกนางแอ่น หรือ นกอีแอ่นบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

นกนางแอ่นและนกนางแอ่นแม่น้ำ · นกนางแอ่นและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร · ดูเพิ่มเติม »

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา หรือ นกนางแอ่นเทียมคองโก (African River Martin) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของวงศ์ย่อยนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) เป็นนกขนาดกลาง มีขนสีดำ ตาสีแดง ปากอวบกว้างสีส้ม-แดง หางเหลี่ยม โครงสร้างต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่นคือ มีเท้าและขาแข็งแรง มีการเสนอให้แยกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่พบในเอเชียที่เป็นนกสกุลเดียวกันออกเป็นอีกวงศ์ย่อย มีการกระจายพันธุ์ตามแม่น้ำคองโกและสาขารวมถึงแม่น้ำอูบองชี (Ubangi) ด้วย มันทำรังในโพรงบนตลิ่งทราย มีการกระจายพันธุ์ในวงจำกัดแม้จะถูกจับไปเป็นอาหารโดยคนในพื้นที่ มันเป็นนกอพยพ ในฤดูหนาวจะอพยพไปที่ราบชายฝั่งทางใต้ของประเทศกาบองและสาธารณรัฐคองโก แต่นกหลายตัวก็ยังคงผสมพันธุ์วางไข่ในเขตหนาวเย็น นกนางแอ่นชนิดนี้บินจับแมลงกินเป็นอาหาร และเดินบนพื้นมากกว่าจะเกาะคอน สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติจัดสถานะการอนุรักษ์เป็นยังไม่มีข้อมูล (DD) เพราะไม่มีข้อมูลของจำนวนประชากร.

นกนางแอ่นแม่น้ำและนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา · นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร · ดูเพิ่มเติม »

นกเกาะคอน

นกเกาะคอน หรือ นกจับคอน (Passerine, Perching bird) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ในกลุ่มนกขากรรไกรแบบใหม่ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passeriformes (โดยมีที่มาจาก Passer domesticus ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกใหญ่ และนกในสกุล Passer ที่เป็นนกขนาดเล็กที่ใกล้เคียงกัน) นกในอันดับนี้มีลักษณะทั่วไปทางกายภาค คือ เป็นนกที่มีวิวัฒนาการเพื่ออาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก นิ้วตีนมีทั้งหมด 4 นิ้ว ทุกนิ้วเจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ในป่าประเภทต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อเมื่อลงดินจะได้วิธีก้าวกระโดด โดยมากแล้วจะเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ปัจจุบัน นักปักษีวิทยาได้แบ่งอันดับนี้เป็นอันดับย่อย 3 อันดับ (ดูในตาราง-บางข้อมูลจัดให้มี 2) โดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อควบคุมกล่องเสียงที่อยู่ในลำคอ โดยบางอันดับย่อยจะมีกล้ามเนื้อนี้เพียง 2 คู่ ซึ่งยังเป็นลักษณะของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงร้องไม่ไพเราะนัก แต่บางอันดับย่อยมีมากกว่า คือมี 4 คู่ ทำให้มีเสียงร้องที่ไพเราะกว่า นกในอันดับนี้มีมากกว่า 100 วงศ์ (ราว 110 วงศ์) ประมาณ 5,400 ชนิด ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยที่มีการค้นพบนกแล้วราว 1,000 ชนิด แบ่งเป็นนกในอันดับต่าง ๆ 16 อันดับ ใน 70 วงศ์ นกที่อยู่ในอันดับนี้นับว่ามากกว่าครึ่ง ได้แก.

นกนางแอ่นแม่น้ำและนกเกาะคอน · นกเกาะคอนและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

นกนางแอ่นแม่น้ำและแมลง · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำยม

แม่น้ำยมในจังหวัดแพร่ แม่น้ำยม (20px) เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบสูงชันสลับซับซ้อนบนเทือกเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ซึ่งอยู่ในเขต พะเยา และแพร่ โดยมีแม่น้ำงิม และ แม่น้ำควร ไหลมาบรรจบกันที่บ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีความยาวประมาณ 735 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูงของอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย สภาพโครงสร้างทางน้ำของแม่น้ำยมมีลักษณะแบบกิ่งไม้ ประกอบด้วยลำน้ำสาขา 77 สาย ระดับน้ำสูงสุดในฤดูฝน ลดลงเมื่อถึงฤดูหนาว และต่ำสุดในฤดูร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ.

นกนางแอ่นแม่น้ำและแม่น้ำยม · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแม่น้ำยม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำวัง

แม่น้ำวัง (ᨶᩣᩴ᩶ᩅᩢ᩠ᨦ) เป็นแม่น้ำอยู่ในภาคเหนือของไทย เกิดในเทือกเขาผีปันน้ำในเขตจังหวัดเชียงราย มีความยาว 382 กิโลเมตร ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนจะไหลไปที่แม่น้ำเจ้าพร.

นกนางแอ่นแม่น้ำและแม่น้ำวัง · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแม่น้ำวัง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำคองโก

แม่น้ำคองโก บริเวณมาลูกู แม่น้ำคองโก (Congo River) หรือแม่น้ำซาอีร์ (Zaire River) เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันออกกลางของแอฟริกา มีความยาวรวม 4,700 กม.

นกนางแอ่นแม่น้ำและแม่น้ำคองโก · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแม่น้ำคองโก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำน่าน

แม่น้ำน่าน (30px) มีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง จังหวัดน่าน มีความยาวตลอดลำน้ำ 740 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน นับเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักในภาคเหนือและภาคกลางของไทย โดยได้ไหลย้อนขึ้นไปท่วมจังหวัดเชียงใหม่อยู่เสมอ.

นกนางแอ่นแม่น้ำและแม่น้ำน่าน · นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและแม่น้ำน่าน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นกนางแอ่นแม่น้ำและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกนางแอ่นแม่น้ำ มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร มี 45 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 21, ดัชนี Jaccard คือ 27.63% = 21 / (31 + 45)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นกนางแอ่นแม่น้ำและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »