เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

นกตีทองและนกโพระดกคอสีฟ้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นกตีทองและนกโพระดกคอสีฟ้า

นกตีทอง vs. นกโพระดกคอสีฟ้า

นกตีทอง (coppersmith barbet, crimson-breasted barbet, coppersmith) เป็นนกโพระดก (Megalaimidae) ที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกและหน้าผากแดง ขอบตาเหลือง มักเกาะบนต้นไม้สูง รู้จักกันดีเพราะร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอเหมือนกับช่างตีทอง (ฝรั่งว่าเหมือนกับช่างตีทองแดง) เป็นนกประจำถิ่นของเอเชียใต้ และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ ทำรังโดยเจาะโพรงไม้เหมือนกับนกโพระดกประเภทอื่น ๆ โดยมากกินผลไม้ เช่น ลูกไทร แต่บางครั้งก็กินแมลงอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะแมลงเม่า (ปลวกมีปีก) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก. นกโพระดกคอสีฟ้า (Blue-throated barbet) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกโพระดก (Megalaimidae) มีความยาวจากจะงอยปากจรดหางประมาณ 22-23 เซนติเมตร ขนปกคลุมลำตัวส่วนใหญ่สีเขียว บริเวณคาง ใต้คอ คอด้านข้าง และบริเวณหน้ามีสีฟ้า หน้าผากและตอนท้ายกระหม่อมเป็นสีแดง กลางกระหม่อมมีสีแถบสีดำพาดกลางและยาวลงมาทางด้านหน้าของหน้า ใต้คอตอนล่างที่เป็นสีฟ้ามีแต้มสีแดง นกทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายคลึงกัน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย โดยไม่พบในประเทศไทยเพียงแค่ชนิดเดียว ซึ่งแตกต่างกันไปตามแถบสีดำส่วนหัว (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่ในสถานที่ ๆ อาหารอุดมสมบูรณ์อาจอยู่เป็นฝูงใหญ่ เป็นนกที่กินผลไม้และลูกไม้ป่า เช่น ไทร, มะเดื่อฝรั่ง เป็นอาหารหลัก ในยามที่อาหารขาดแคลนก็อาจกินหนอนหรือแมลง เป็นอาหารได้ เป็นนกที่ร้องเก่ง เสียงดัง โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์จะร้องบ่อยทั้งในตอนเช้าและตอนเย็น เวลาร้องจะหมุนคอไปรอบทิศทาง ทำให้จับทิศทางของเสียงได้ยาก ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นกตีทองและนกโพระดกคอสีฟ้า

นกตีทองและนกโพระดกคอสีฟ้า มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์นกโพระดกสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับนกหัวขวานและนกโพระดกประเทศไทยแมลงไทรย้อยใบแหลมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วงศ์นกโพระดก

นกโพระดก เป็นนกขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ Megalaimidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Ramphastidae หรือนกทูแคน ที่พบในอเมริกาใต้ โดยจัดให้เป็นวงศ์ย่อย Megalaiminae) จัดอยู่ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) มีลักษณะจะงอยปากหนาใหญ่ และมีขนที่โคนปาก ร้องเสียงดัง ได้ยินไปไกล ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม มีทั้งหมด 26 ชนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ทิเบต จนถึงอินโดนีเซีย พบมากในคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา ทำรังในโพรงไม้ ด้วยการเจาะไม้ให้เป็นรูเหมือนกับนกหัวขวาน ซึ่งเป็นนกในอันดับเดียวกัน แต่โพรงของนกโพระดกจะมีขนาดพอดีตัวทำให้การเข้าออกรังบางทีทำได้ไม่คล่องเท่านกหัวขวาน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 13-15 วัน เป็นนกที่กินผลไม้เช่น ลูกโพ, ลูกมะเดื่อฝรั่ง และแมลง เป็นอาหาร สำหรับนกในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่Short, L. L. Horne J. F. M. (2002) "วงศ์ Capitonidae (barbets)" in del Hoyo J., Elliott A. & Christie D.A. (2004) Handbook of the Birds of the World.

นกตีทองและวงศ์นกโพระดก · นกโพระดกคอสีฟ้าและวงศ์นกโพระดก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

นกตีทองและสัตว์ · นกโพระดกคอสีฟ้าและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

นกตีทองและสัตว์มีแกนสันหลัง · นกโพระดกคอสีฟ้าและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

นกตีทองและสัตว์ปีก · นกโพระดกคอสีฟ้าและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกหัวขวานและนกโพระดก

อันดับนกหัวขวานและนกโพระดก เป็นอันดับของนกขากรรไกรแบบใหม่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Piciformes โดยลักษณะทั่วไปของนกในอันดับนี้ คือ เป็นนกขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง (16-60 เซนติเมตร) มีลักษณะเด่น คือ รูจมูกทะลุไม่ถึงกันเพราะมีผนังกั้น ตัวเต็มวัยไม่มีขนอุย ขนแต่ละเส้นมีแกนขนรอง ขนปลายปีกมี 9-10 เส้น มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 10-12 เส้น ขาสั้น การจัดเรียงนิ้วเป็นแบบนิ้วคู่สลับ ทำรังตามโพรงไม้หรือโพรงดิน ไข่มีรูปร่างกลม สีขาว ลูกนกแรกเกิดมีสภาพช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยนกในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ นกหัวขวาน (Picidae) และนกโพระดก (Megalaimidae) เป็นต้น ในประเทศไทย พบนกในอันดับนี้ 3 วงศ์ ได้แก่ นกหัวขวาน (Picidae), นกโพระดก (Megalaimidae) และนกพรานผึ้ง (Indicatoridae) รวมกันแล้วประมาณ 52 ชนิด ขณะที่ทั่วโลกพบมากกว่า 400 ชนิด ใน 67 สกุล.

นกตีทองและอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก · นกโพระดกคอสีฟ้าและอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

นกตีทองและประเทศไทย · นกโพระดกคอสีฟ้าและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

นกตีทองและแมลง · นกโพระดกคอสีฟ้าและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

ไทรย้อยใบแหลม

ทรย้อยใบแหลม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไทร (Weeping fig, Ficus tree) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามชนิดย่อ.

นกตีทองและไทรย้อยใบแหลม · นกโพระดกคอสีฟ้าและไทรย้อยใบแหลม · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

นกตีทองและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · นกโพระดกคอสีฟ้าและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นกตีทองและนกโพระดกคอสีฟ้า

นกตีทอง มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ นกโพระดกคอสีฟ้า มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 16.07% = 9 / (30 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นกตีทองและนกโพระดกคอสีฟ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: