โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกกระเต็นและวงศ์นกกระเต็นปักหลัก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นกกระเต็นและวงศ์นกกระเต็นปักหลัก

นกกระเต็น vs. วงศ์นกกระเต็นปักหลัก

นกกระเต็น หรือ นกกะเต็น เป็นนกที่อยู่ในอันดับย่อย Alcedines ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) จัดเป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 13-16 เซนติเมตร (ในชนิดที่ใหญ่อาจยาวได้ถึง 41 เซนติเมตร) ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะทั่วไปคือ มีส่วนหัวโต คอสั้น จะงอยปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสดสะดุดตา เมื่อเวลาบินจะบินได้อย่างคล่องแคล่ว มักพบในแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เป็นนกที่หากินด้วยวิธีการพุ่งลงไปในน้ำด้วยความเร็วและแรง (มีการศึกษาพบว่าเร็วถึง 1/50 วินาที) และใช้จะงอยปากที่แข็งแรงแหลมคมจับปลาหรือสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร ด้วยการจ้องมองจากบนกิ่งไม้ริมน้ำ ซึ่งสามารถอยู่นิ่ง ๆ แบบนั้นได้เป็นระยะเวลานาน โดยมักจะจับปลาในช่วงเช้าจนถึงสาย ๆ และอีกครั้งในช่วงบ่าย เมื่อเกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำ จะพยายามหันหลังให้ดวงอาทิตย์ เพื่อให้ปลาเมื่อมองขึ้นมาจะต้องมองย้อนแสง ทำให้สังเกตไม่เห็นตัวนก ในบางชนิดอาจจะบินอยู่กับที่กลางอากาศ ก่อนที่จะพุ่งลงไปจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้ว จะจับปลาฟาดกับกิ่งไม้เพื่อให้ปลาตาย ก่อนที่จะกลืนลงไปโดยเอาส่วนหัวลงไปก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่กินปลาย้อนเกล็ด ซึ่งอาจโดนเงี่ยงหรือเกล็ดทิ่มแทงทำให้นกได้รับบาดเจ็บได้ โดยปกติเป็นนกที่อยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ การทำรังวางไข่ นกกระเต็นมักใช้จะงอยปากขุดรูริมฝั่งน้ำ และหาหญ้ามารองเป็นพื้น วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง บางชนิดอาจขุดรูไว้มากถึง 2-3 รู เพื่อหลอกสัตว์ผู้ล่า ขณะที่บางชนิดอาจจะใช้โพรงไม้หรือโพรงไม้เก่าของนกอื่นที่ทิ้งร้างไว้เป็นที่วางไข่ โดยมากจะวางไข่ในช่วงฤดูหนาว นกกะเต็นแดง ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สามารถจำแนกออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 3 วงศ์ (ดูในตาราง; บางข้อมูลยกให้เป็นวงศ์ย่อย) แบ่งออกได้เป็นชนิดทั้งหมด 85 ชนิด (บางข้อมูลจัดให้มี 93 ชนิด) พบกระจายพันธุ์อยู่แทบทุกภูมิภาคทั่วโลก พบในประเทศไทยราว 16 ชนิดFry, C. Hilary; Fry, Kathie and Harris, Alan (1992). วงศ์นกกระเต็นปักหลัก หรือ วงศ์นกกระเต็นขาวดำ (Water kingfishers, Cerylid kingfishers) เป็นวงศ์ของนกกระเต็นวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cerylidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) นกกระเต็นวงศนี้มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง (30 – 48 เซนติเมตร) มีลักษณะทั่วไป คือ ปากยาว แบนขางคอนขางมาก ลำตัวมีสีขาวสลับดำ แทบไมมีสีอื่นปน พบทั่วโลก 3 สกุล 9 ชนิด ส่วนใหญ่พบในพื้นที่โลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ สำหรับในทวีปเอเชีย ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นกกระเต็นและวงศ์นกกระเต็นปักหลัก

นกกระเต็นและวงศ์นกกระเต็นปักหลัก มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับนกตะขาบนกกระเต็นขาวดำใหญ่นกกระเต็นปักหลัก

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

นกกระเต็นและสัตว์ · วงศ์นกกระเต็นปักหลักและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

นกกระเต็นและสัตว์มีแกนสันหลัง · วงศ์นกกระเต็นปักหลักและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

นกกระเต็นและสัตว์ปีก · วงศ์นกกระเต็นปักหลักและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกตะขาบ

อันดับนกตะขาบ เป็นอันดับของนกขากรรไกรแบบใหม่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Coraciiformes โดยที่คำว่า "Coraciiformes" นั้น หมายถึง "เหมือนนกเรเวน" หรืออีกบริบทคือ "อีกา" (อีกาจัดเป็นนกเกาะคอน) โดยมาจากคำว่า "Corax" ในภาษาละติน มีความหมาย "อีกา" และคำว่า "Forma" หมายถึง "รูปแบบ" ซึ่งเป็นคำลงท้ายในการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นนกที่มีลักษณะคล้ายกับอีกา เป็นนกที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะโดยร่วมกัน คือ จะงอยปากมีหลายรูปแบบ คือ ปากตรง ปากแบนข้าง ปากโค้ง ปากเป็นรูปขอ รูจมูกไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น หางยาวปานกลางจนถึงยาวมาก ปลายหางมนหรือเป็นหางตัด ปีกยาวปานกลางจนถึงยาวมาก ปลายปีกมักแหลม ขนปลายปีกมี 10-11 เส้น มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ยกเว้นในบางชนิด ขายาวปานกลางหรือขาสั้น แข้งสั้น หน้าแข้งด้านหน้าปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดใหญ่แบบเกล็ดซ้อน โดยเกล็ดแต่ละชิ้นมีขนาดไม่เท่ากัน นิ้วหลังสั้นกว่านิ้วหน้า โคนนิ้วเป็นแบบนิ้วติด ยกเว้นในบางวงศ์ แกนขนรองมีขนาดเล็กหรือไม่มี หัวอาจมีหงอนหรือมีขนก็ได้ มีพฤติกรรมทำรังตามโพรงไม้หรือโพรงดินตามริมฝั่งแม่น้ำ ไข่มีเปลือกสีขาวหรือสีน้ำเงิน วางไข่ครั้งละ 2-8 ฟอง ลูกนกแรกเกิดไม่สามารถที่จะเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยสัตว์ขนาดเล็ก ๆ เช่น หนู หรือกิ้งก่า และแมลงต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์อยู่แทบทุกภูมิภาคของโลก ยกเว้นเกาะฮาวาย ประกอบไปด้วยวงศ์ทั้งหมด 11 วงศ์ โดยนกที่เป็นที่รู้จักกันดีในอันดับนี้ ได้แก่ นกเงือก (Bucerotidae) ซึ่งเป็นนกที่มีหงอนบนหัวและมีขนาดใหญ่, นกตะขาบ (Coraciidae), นกกะรางหัวขวาน (Upupidae), นกกระเต็น (Alcedinidae) เป็นต้น (แต่ในบางข้อมูลจะจัดนกเงือก, นกกระเต็น และนกกะรางหัวขวาน แยกออกเป็นอันดับต่างหาก) ในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 5 วงศ์ ประมาณ 38 ชน.

นกกระเต็นและอันดับนกตะขาบ · วงศ์นกกระเต็นปักหลักและอันดับนกตะขาบ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเต็นขาวดำใหญ่

นกกระเต็นขาวดำใหญ่ (Crested kingfisher) เป็นนกกระเต็นชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นปักหลัก (Cerylidae) นกกระเต็นขาวดำใหญ่ เป็นนกกระเต็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ เพราะมีความยาวถึง 43 เซนติเมตร นับว่าเป็นนกระเต็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย และจัดเป็นนกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง ด้วยที่เป็นนกที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ตามแถบเทือกเขาหิมาลัย เช่น ภูฐาน และกระจายไปจนถึงภาคใต้ของจีน, คาบสมุทรเกาหลี และญี่ปุ่น สำหรับในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จะพบได้ในประเทศไทย, ลาว และเวียดนาม ประเทศไทยจะพบได้เฉพาะผืนป่าตะวันตก เช่น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร อาศัยตามลำธารน้ำกลางป่าซึ่งเป็นแหล่งหากิน นกกระเต็นขาวดำใหญ่ มีเสียงร้องว่า "แอ๊ก-แอ๊ก-แอ๊ก".

นกกระเต็นและนกกระเต็นขาวดำใหญ่ · นกกระเต็นขาวดำใหญ่และวงศ์นกกระเต็นปักหลัก · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเต็นปักหลัก

นกกระเต็นปักหลัก (Pied kingfisher) นกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระเต็นปักหลัก (Cerylidae) ถือเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ceryle มีลักษณะทั่วไป คือ จะงอยปากยาวสีดำ หน้าและคางสีขาว มีแถบดำลากจากโคนปากผ่านตามาถึงท้ายทอย กระหม่อมสีดำมีขนยาวบริเวณหัวเป็นพู่เล็ก ๆ มีขนปกคลุมลำตัวสีขาว มีแถบดำ บริเวณเหนือหน้าอกและมีเส้นสีดำ ที่ใต้แถบสีดำ ปีกสีดำ ขอบและปลายขนปีกเป็นสีขาวคล้ายเกล็ดยาวสีขาว มีแถบดำใหญ่ก่อนถึงปลายหาง ขามีสีดำ ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ตัวผู้มีแถบดำที่หน้าอก 2 แถบ ขณะที่ตัวเมียแถบดังกล่าวมีแค่ 1 แถบและไม่ต่อเนื่อง (แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮาราและเอเชียใต้ ตั้งแต่ตุรกีถึงอินเดียและจีน ในประเทศไทยถือเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปตามริมแม่น้ำ, คลอง หรือทะเลสาบ โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือ นกกระเต็นปักหลักส่งเสียงร้องสั้น ๆ ว่า "ชิชิริ-ชิชิริ" มีความสามารถกระพือปีกบินอยู่กับที่ในอากาศก่อนที่จะพุ่งตัวลงน้ำลงไปจับปลาได้ ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

นกกระเต็นและนกกระเต็นปักหลัก · นกกระเต็นปักหลักและวงศ์นกกระเต็นปักหลัก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นกกระเต็นและวงศ์นกกระเต็นปักหลัก

นกกระเต็น มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์นกกระเต็นปักหลัก มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 20.69% = 6 / (20 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นกกระเต็นและวงศ์นกกระเต็นปักหลัก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »