ธิงโกลและโอโรเม
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ธิงโกลและโอโรเม
ธิงโกล vs. โอโรเม
อลู ธิงโกล (เควนยา) หรือ เอลเว ซิงโกลโล (ซินดาริน) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในวรรณกรรมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์ที่สูงใหญ่และมีพลังอำนาจมากที่สุด เป็นรองแต่เพียงเฟอานอร์เท่านั้น ธิงโกลเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวเทเลริ เป็นตัวแทนผู้ได้รับเลือกจากเทพโอโรเมไปยังแผ่นดินอมตะเพื่อยลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ พร้อมกันกับอิงเว และฟินเว หลังจากนั้นผู้นำเอลฟ์ทั้งสามจึงกลับมาชักชวนพลเมืองของตนให้เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนไปยังแผ่นดินอมตะ โดยที่ชาวเทเลริเดินทางอยู่ท้ายสุด เมื่อไปใกล้จะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ธิงโกลได้ล่วงหน้าออกจากกลุ่มเพื่อไปเยี่ยมฟินเว กษัตริย์โนลดอร์ สหายของตน ระหว่างทางเขาได้พบกับเทพีเมลิอันในป่า แล้วทั้งสองตกอยู่ใต้มนตร์เสน่หาที่นั้น พลเมืองของธิงโกลค้นหาเขาไม่พบ จนไม่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรใหญ่ไปกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ได้ หลังจากนั้น ชาวเทเลริที่ตกค้างอยู่จึงตั้งถิ่นฐานที่ริมมหาสมุทรใหญ่ ในแผ่นดินเบเลริอันด์ เอลฟ์กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า ชาวซินดาร์ มีธิงโกลและเมลิอัน เป็นราชาและราชินี อาณาจักรของพวกเขาเรียกว่า โดริอัธ ธิงโกลกับเมลิอันมีธิดาด้วยกันหนึ่งองค์ คือ ลูธิเอน. โอโรเม (Oromë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยเป็นหนึ่งในเทพวาลาร์ ชื่อในภาษาเควนยา มีความหมายว่า "ผู้เป่าแตรอันกึกก้อง" พระองค์มีแตรเขาสัตว์ประจำพระองค์ชื่อว่า วาลาโรมา (Valaróma) เทพโอโรเมเป็นเทพแห่งป่า ทรงมีชื่อในภาษาอื่นๆ และฉายามากมาย เช่น อะราว (Araw - ภาษาซินดาริน), อัลดารอน (Aldaron), อะรัม (Arum), เบมา (Béma), เทารอน (Tauron), อาราเม (Arāmē) พระองค์ได้รับสมัญญาว่าเป็น นายพรานแห่งเหล่าวาลาร์, นักขี่ม้าผู้ยิ่งใหญ่ และ เจ้าแห่งพนาไพร พระองค์เป็นเชษฐาของเทพีเนสซา และทรงอภิเษกกับเทพีวานา เทพโอโรเมมีม้าทรงสีขาวปลอดนามว่า นาฮาร์ (Nahar) ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเอลฟ์เรียกตามเสียงร้องของมัน ในระหว่างยุคแห่งพฤกษาซึ่งเหล่าวาลาร์พากันไปประทับอยู่ที่วาลินอร์บนทวีปอามัน แต่เทพโอโรไมไม่ทรงละทิ้งมิดเดิ้ลเอิร์ธ พระองค์มักทรงม้าไปตามผืนแผ่นดินเพื่อกำราบเหล่ามาร พละกำลังของพระองค์เป็นรองเพียงแต่เทพทุลคัส แต่มีพระโทสะรุนแรงเหลือคณานับ การที่พระองค์ยังคงเที่ยวท่องอยู่บนมิดเดิ้ลเอิร์ธ จึงทรงเป็นวาลาองค์แรกที่ได้พบพวกเอลฟ์ตื่นขึ้นที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน และทรงตั้งชื่อให้แก่พวกนั้นว่า เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งหมายถึง ผองชนแห่งแสงดาว (เพราะเวลานั้นบนท้องฟ้าของมิดเดิ้ลเอิร์ธมีแต่แสงดาวส่องสว่าง ส่วนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น) เมื่อโอโรเมทรงนำข่าวนี้กลับไปแจ้งเหล่าวาลาร์ ก็ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เกลี้ยกล่อมพวกเอลฟ์ให้เดินทางไปยังทวีปอามัน ทรงเป็นผู้นำพาพวกเอลฟ์ในการเดินทางครั้งใหญ่ของพวกเขา หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน en:Vala (Middle-earth)#Oromë ja:ヴァラ#オロメ la:Ainur#Valar pl:Valar#Oromë ru:Валар#Оромэ sv:Valar (Tolkien)#Oromë.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ธิงโกลและโอโรเม
ธิงโกลและโอโรเม มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาเควนยาเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.
ธิงโกลและภาษาเควนยา · ภาษาเควนยาและโอโรเม · ดูเพิ่มเติม »
. อาร.
ธิงโกลและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและโอโรเม · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ธิงโกลและโอโรเม มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ธิงโกลและโอโรเม
การเปรียบเทียบระหว่าง ธิงโกลและโอโรเม
ธิงโกล มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ โอโรเม มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 8.00% = 2 / (17 + 8)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ธิงโกลและโอโรเม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: