โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม)และวิทยาสัตว์ลึกลับ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม)และวิทยาสัตว์ลึกลับ

ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม) vs. วิทยาสัตว์ลึกลับ

อินเดียนแดง ธันเดอร์เบิร์ด (Thunderbird) เป็นชื่อนกยักษ์ในตำนานของอินเดียนแดง ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของอเมริกาเหนือ เชื่อกันว่า ธันเดอร์เบิร์ด มีความกว้างของปีกทั้งสองข้างยาวถึง 8 เมตร และแรงกระพือของปีกเวลาบินก่อให้เกิดทอร์นาโดและฟ้าร้อง และปรากฏการณ์ฟ้าแลบนั้น เชื่อว่าเกิดจากแสงสะท้อนของแสงอาทิตย์กระทบกับตาของธันเดอร์เบิร์ด ธันเดอร์เบิร์ดเป็นนกที่ชาวอินเดียนแดงให้ความนับถือเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขามและศักดิ์สิทธิ์ดุจเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า โดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดเสาอินเดียนแดงธันเดอร์เบิร์ดมีคนเขาบอกกันว่ามันคือ เทอโรซอร์ ที่ยังไม่สูญพันธ์ สันนิษฐานว่าความเชื่อเรื่องธันเดอร์เบิร์ด อาจจะมาจากนกจำพวกแร้งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ คือ แร้งแคลิฟอร์เนีย (Gymnogyps californianus) ซึ่งในอดีตเคยมีอยู่มากมาย แต่สถานะในปัจจุบันเป็นสัตว์ที่อยู่ในขั้นใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตแล้ว อย่างไรก็ดี ความเชื่อเรื่องธันเดอร์เบิร์ดได้กลายมาเป็นเรื่องเล่าลือเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดในหลายที่ของสหรัฐอเมริกา เช่น ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ หรือที่รัฐเพนซิลเวเนีย โดยมีรายงานการพบเห็นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1840 จนถึงปัจจุบัน (ก่อนหน้านั้นมีการเล่าลือโดยชาวอินเดียนแดงมานับเป็นร้อย ๆ ปี) โดยลักษณะของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นธันเดอร์เบิร์ด เป็นนกที่มีขนาดประมาณเครื่องบินขนาดเล็กหนึ่งลำ มีรูปร่างเหมือนนกอินทรีขนาดใหญ่ มีดวงตาสีดำขนาดใหญ่และมีจะงอยปากแข็งแรงมาก ขนทั้งตัวมีสีดำหรือสีเทาหรือสีน้ำตาล มีขาหนาและกรงเล็บใหญ่กว่าขนาดมือของมนุษย์เสียอีก โดยพยานผู้พบเห็นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 มักกล่าวตรงกันว่า เมื่อแรกเห็นพวกเขาเห็นเป็นเพียงเงาบินผาดผ่าน แต่เมื่อมองขึ้นไปแล้วเห็นเป็นสิ่งว่าเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก แต่เมื่อพิจารณาอย่างชัด ๆ ขึ้นไปแล้ว พบว่าเป็นนกคล้ายนกอินทรีหรืออีแร้งขนาดใหญ่ มีขนสีดำ บินได้สูงและสง่างามโดยไม่ได้กระพือปีก แต่เมื่อกระพือแล้วก็ทำให้สูงขึ้นไปอีก ยิ่งโดยเฉพาะในปี ค.ศ. 2001 มีชายคนหนึ่งอ้างว่า ได้พบเห็นมันอย่างน้อย 20 นาที และเห็นรูปร่างของมันอย่างเต็มที่ มีความกว้างของปีกทั้งสองประมาณ 15 ฟุต และความยาวลำตัวถึง 5 ฟุต โดยเขากล่าวว่ามันเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เขาเคยเห็นมา จากเรื่องเล่าลือนี้ ทำให้ในปี ค.ศ. 2009 ทางช่องแอนิมอลแพลนเน็ต ได้ผลิตเป็นสารคดีทางโทรทัศน์ในชื่อ Lost Tapes ความยาวชุดละประมาณ 20 นาที เกี่ยวกับสัตว์ประหลาดชนิดต่าง ๆ ที่โจมตีใส่มนุษย์ ก็มีตอนของธันเดอร์เบิร์ดนี่ด้วย (เข้าฉายในประเทศไทยในกลางปีเดียวกันทางช่องทรูวิชันส์ โดยใช้ชื่อตอนว่า Thunderbird). วิทยาสัตว์ลึกลับ หรือ วิทยาสัตว์ประหลาด (Cryptozoology; มาจากภาษากรีก κρυπτός, (kryptos), "ซ่อนเร้น" รวมกับคำว่า สัตววิทยา อันหมายถึง "การศึกษาสัตว์ที่ซ่อนเร้น") เป็นศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ หรือสัตว์ประหลาด อาทิ บิ๊กฟุต, ชูปาคาบรา ศาสตร์แขนงนี้ได้ถูกบัญญัติขึ้นโดย แบร์นาร์ด อูเวลมงส์ นักชีววิทยาชาวเบลเยียม จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิทยาสัตว์ลึกลับ" วิทยาสัตว์ลึกลับ ได้มีผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้อย่างจริงจัง มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ อาทิ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, รอย แมคคัล และลอเรน โคลแมน ชาวอเมริกัน เป็นต้น จนมีการก่อตั้งขึ้นเป็น สมาคมวิทยาสัตว์ลึกลับนานาชาติ (International society of Cryptozoology, ตัวย่อ: ISC) ขึ้นในปี ค.ศ. 1982 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองทูซอน รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยทุกปีสมาคมจัดการประชุมใหญ่เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความรู้และยังมีการจัดส่งคณะออกสำรวจค้นหาสัตว์ลึกลับจากทั่วโลกเป็นประจำ เช่น การทดสอบดีเอ็นเอของเยติ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ได้มีการวิจารณ์ว่า วิทยาสัตว์ลึกลับเป็นศาสตร์ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และไม่ยอมรับให้เป็นแขนงหนึ่งของสัตววิทยา โดยถือเป็นวิทยาศาสตร์เทียม ด้วยหลายอย่างมิได้ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่สำหรับผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้กลับมีความเชื่อมั่น ด้วยมีการค้นพบสัตว์หลายชนิดที่โลกไม่รู้จักหรือคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วหลายอย่าง เช่น ปลาซีลาแคนท์ ที่แอฟริกา, ซาวลา ที่เวียดนาม เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม)และวิทยาสัตว์ลึกลับ

ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม)และวิทยาสัตว์ลึกลับ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สหรัฐสัตว์ประหลาด

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม)และสหรัฐ · วิทยาสัตว์ลึกลับและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ประหลาด

รา หนึ่งในสัตว์ประหลาดของเทพปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย (Monster, Cryptid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผิดแปลกจากสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสัตว์ที่มนุษย์ไม่เป็นที่รู้จัก สัตว์ประหลาดถูกกล่าวถึงในตำนานหรือนิทานของชนชาติต่าง ๆ มาแต่อดีตแล้ว โดยคำว่า Monster ที่หมายถึง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า Monstrum ซึ่งหมายถึง การเกิดสิ่งผิดปกติทางชีววิทยามักจะที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ว่าสิ่งที่ถูกต้องภายในเพื่อธรรมชาติ ความหมายของคำว่า Monster ไม่เหมือนกับปีศาจ ซึ่งหมายถึง ความชั่วร้าย โดยปกติแล้ว Monster หรือ สัตว์ประหลาด จะหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจหรือผิดศีลธรรม หรือความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจอย่างน่าเกลียด หรือความวิปริตทางธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังนำมาใช้เปรียบเปรยกับผู้ที่มีลักษณะโลภโมโทสันหรือบุคคลที่แลดูน่ากลัวด้วย นอกจากนี้แล้ว สัตว์ประหลาดยังปรากฏตัวในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งการ์ตูน ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ประหลาดมักมีลักษณะน่ากลัวและดุร้าย แต่ในสื่อสารมวลชนยุคใหม่ก็มีสัตว์ประหลาดที่มีบทบาทในลักษณะของอสูรกายที่เป็นมิตรหรือถูกเข้าใจผิด เช่น คิงคอง หรือ อสูรกายของแฟรงเกนสไตน์ เป็นต้น ในภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย อาทิ Godzilla ของฮอลลีวู้ดในปี ค.ศ. 1998 ที่ดัดแปลงมาจากตัวละครเอกคือ ก็อตซิลล่า ของญี่ปุ่น, The Mist ในปี ค.ศ. 2008 หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ไทย เช่น มันมากับความมืด ในปี ค.ศ. 1971 จากการกำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, มาห์ ในปี ค.ศ. 1991 หรือ ปักษาวายุ ในปี ค.ศ. 2004 เป็นต้น ในวัฒนธรรมไทย ก็มีสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย ตามคติจักรวาลวิทยาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือพุทธศาสนา มีป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์อยู่เชิงเขาไกรลาศ มีสัตว์ประหลาดมากมาย เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ ซึ่งมักปรากฏภาพเป็นจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการ มีศาสตร์แขนงหนึ่งของสัตววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดโดยเฉพาะ เรียกว่า สัตว์ประหลาดวิทยา หรือ สัตว์ลึกลับวิทยา (Cryptozoology) ซึ่งคำว่า Cryptozoology มาจากภาษากรีกคำว่า Kρυπτός (Kryptos) หมายถึง "ซ่อนอยู่" ผสมกับ Zoology ก็คือ สัตววิทยา นั่นเอง โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ประเภทนี้ เรียกว่า นักสัตว์ประหลาดวิทยา นักสัตว์ประหลาดวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, เบอร์นาร์ด ฮูเวลมานส์ ชาวเบลเยียม ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศาสตร์แขนงนี้และเป็นผู้ตั้งศาสตร์แขนงนี้ด้ว.

ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม)และสัตว์ประหลาด · วิทยาสัตว์ลึกลับและสัตว์ประหลาด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม)และวิทยาสัตว์ลึกลับ

ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม) มี 37 ความสัมพันธ์ขณะที่ วิทยาสัตว์ลึกลับ มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.12% = 2 / (37 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ธันเดอร์เบิร์ด (เทพปกรณัม)และวิทยาสัตว์ลึกลับ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »