เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ธรณีวิทยาและเทอโรซอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ธรณีวิทยาและเทอโรซอร์

ธรณีวิทยา vs. เทอโรซอร์

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร. ทอโรซอร์ (Pterosaur; จากภาษากรีก "πτερόσαυρος", "pterosauros", หมายถึง "กิ้งก่ามีปีก") เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่ง ที่ชีวิตและอาศัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ มีลักษณะพิเศษคือ สามารถบินได้ โดยใช้ปีกขนาดใหญ่ที่มีพังผืดเหมือนค้างคาวเป็นอวัยวะสำคัญ ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วพร้อมกับไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ จัดอยู่ในอันดับ Pterosauria โดยมักจะถูกเรียกว่า "ไดโนเสาร์บินได้" แต่ทั้งนี้เทอโรซอร์มิได้จัดว่าเป็นไดโนเสาร์แต่อย่างใด เหมือนกับ เพลสิโอซอร์, โมซาซอร์ หรืออิกทิโอซอรัส ที่พบในทะเลและมหาสมุทร นอกจากนี้แล้วเทอโรซอร์ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง คือ เทอโรแดกทิล โดยคำว่าเทอโรแดกทิลนั้นหมายถึงเทอโรซอร์ในระยะหลังที่มีขนาดใหญ่ และไม่มีฟัน และในทางเทคนิคจะหมายถึงเทอโรซอร์ในสกุล เทอโรแดกทิลัส เทอโรซอร์มีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก สืบทอดเผ่าพันธุ์และครองโลกมาอย่างยาวนานถึง 162 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปทั้งหมดในช่วงยุคครีเตเชียสตอนปลายเช่นเดียวกับไดโนเสาร์ ปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาได้จำแนกความหลากหลายของเทอโรซอร์ออกได้มากกว่า 200 ชนิด มีความแตกต่างหลากหลายกันออกไปในแต่ละชนิดหรือแต่ละวงศ์ เทอโรซอร์ถูกค้นพบครั้งแรกในรูปแบบซากดึกดำบรรพ์ในยุคศตวรรษที่ 19 ซากดึกดำบรรพ์ของเทอโรซอร์พบได้ในทั่วทุกภูมิภาคของโลก เทอโรซอร์ที่เก่าแก่ที่สุดถือกำเนิดในยุคไทรแอสซิกเมื่อ 228 ล้านปีก่อน โดยบรรพบุรุษของเทอโรซอร์นั้นมีรูปร่างเล็กมาก โดยมีขนาดพอ ๆ กับนกกระจอกในยุคปัจจุบัน เช่น พรีออยแดกกิลุส บัฟฟารีนีโอ ที่มีความกว้างของปีกแค่ 0.5 เมตร เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในป่าทึบกินแมลง เช่น แมลงปอ เป็นอาหาร หรือแครีเรมัส เซซาพลาเนนซิส ที่มีความกว้างของปีก 1 เมตร เทอโรซอร์ในยุคแรกจะมีขนาดลำตัวเล็ก บางจำพวกมีหางยาว เช่น ดิมอร์โฟดอน แมโครนิกซ์ ที่มีความกว้างของปีก 1.2 เมตร น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม มีหางยาวที่แข็ง คอสั้น หัวมีขนาดใหญ่ มีฟันแหลมคม และกระดูกกลวงบางส่วน ทั้งนี่้เชื่อว่าเทอโรซอร์วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ๆ ที่กระโดดหรือใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้เป็นหลักด้วยการหากินและหลบหลีกศัตรู เทอโรซอร์ ได้วิวัฒนาการมาเป็นลำดับขั้นตามยุคสมัยไปเรื่อย ๆ เช่น ยุคจูแรสซิก จนกระทั่งถึงยุคครีเตเชียส เทอโรซอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เคตซัลโคแอตลัส นอร์โทรพี มีความสูงเท่า ๆ กับยีราฟ มีความกว้างของปีก 10.5 เมตร พอ ๆ กับเครื่องบินรบเอฟ-16 น้ำหนักตัวถึง 200 กิโลกรัม เฉพาะส่วนหัวรวมถึงจะงอยปากด้วยก็ยาวถึง 3 เมตรแล้ว จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่บินได้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา และเชื่อว่าชอบที่จะกินลูกโดโนเสาร์เป็นอาหาร ตามหลักฐานจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์ในยุคหลังนั้นมีขนปกคลุมลำตัวบาง ๆ ด้วย จึงเชื่อกันว่าน่าจะเป็นสัตว์เลือดอุ่น ทั้งนี้มีไว้เพื่อเป็นเสมือนฉนวนกักความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น เจโฮลอปเทอรัส ที่พบในจีน ซึ่งมีลักษณะปากกว้างคล้ายกบ เป็นต้น เทอโรซอร์ใช้ลักษณะการบินแบบเดียวกับค้างคาว เมื่ออยู่กับพื้นจะใช้วิธีการทะยานตัวออกไปจากท่ายืนสี่เท้าโดยรยางค์ของร่างกาย มีตีนขนาดเล็กเพื่อช่วยลดแรงต้าน เมื่อบินสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางการบินได้เล็กน้อย เช่น การหดกล้ามเนื้อปีก หรือขยับข้อเท้าเข้าและออก การเปลี่ยนมุมกระดูกข้อปีก เป็นต้น เมื่อเทียบกับนกแล้ว เทอโรซอร์ยังมีกล้ามเนื้อสำหรับการบินมากกว่า และมีสัดส่วนของน้ำหนักร่างกายมากกว่า แม้แต่สมองก็ดูเหมือนจะวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อการบิน โดยมีกลีบสมองขยายใหญ่ขึ้นเพื่อประมวลผลข้อมูลประสาทรับความรู้สึกที่ซับซ้อนจากเยื่อปีก เทอโรซอร์มีไหล่ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และลักษณะปีกของเทอโรซอร์ประกอบด้วยเยื่อที่ยึดติดกับสีข้างจากไหล่ไล่ลงไปจนถึงข้อเท้าแต่ละข้าง และเหยียดออกโดยนิ้วที่สี่ที่ยืดยาวไปอย่างน่าทึ่งไปตามขอบหน้าของปีก เยื่อปีกร้อยรัดไปด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเลือด และเสริมความแข็งแกร่งด้วยพังผืด ลักษณะของเทอโรซอร์นั้นมีความแตกต่างหลากหลายกันมาก บางจำพวกมีหงอนด้วย สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับดึงดูดเพศตรงข้าม โดยว่ามีลักษณะที่แตกต่างหลากหลายกันออกไป เช่น ทูนแพนแดกทิอุส แนวีแกนส์ ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในยุคแรก ๆ และ ทาเลสไซโครมีอุส เซที ที่มีช่วงปีกกว้าง 4 เมตร เชื่อว่ามีหงอนที่มีสีสันที่สดใส จะงอยปากก็มีความหลากหลายแตกต่างออกไปตามแต่ลักษณะการใช้หาอาหาร เช่น บางชนิดมีฟันแหลมคมเต็มปากเห็นได้ชัดเจนใช้สำหรับการจับปลาในน้ำ เช่น แอนเฮงรา พิสเคเตอร์ หรือ ซันแกริปเทอรัส ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่มีจะงอยปากยาวและงอนขึ้นใช้สำหรับสำรวจและช้อนเอาสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่มีกระดูกสันหลังหรือครัสเตเชียนกินเป็นอาหาร หรือบางจำพวก หากินโดยการใช้วิธีการยืนในแหล่งน้ำเค็มตื้น ๆ แล้วใช้การกรองกินสัตว์ขนาดเล็ก ๆ จำพวกครัสเตเชียน เหมือนกับวิธีการกินของนกฟลามิงโกในยุคปัจจุบัน หรือบางสกุล เช่น นิกโตซอรัส ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในทะเลลักษณะคล้ายนกอัลบาทรอสที่มีระยะระหว่างปลายปีกสองข้างกว้างเกือบ 3 เมตร มีอัตราส่วนการร่อน หรือระยะทางที่เคลื่อนไปข้างหน้าได้ต่อการลดระดับลงทุกหนึ่งเมตร จัดเป็นนักร่อนชั้นดี และจากการพบลักษณะของซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์บางกลุ่มก็อาศัยอยู่รวมกันเป็นนิคมหรือคอโลนีเหมือนกับนกทะเลหลายชนิดในปัจจุบัน คือ ไคยัวฮารา โครบรัสกิอี โดยพบหลักฐานว่า ตายพร้อมกันถึง 47 ตัว หน้า 26-45, เทอโรซอร์ ปีกพิศวงสุดแสนพิศดาร โดย ริชาร์ด คอนนิฟฟ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ธรณีวิทยาและเทอโรซอร์

ธรณีวิทยาและเทอโรซอร์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บรรพชีวินวิทยามหายุคมีโซโซอิกซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

ธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยา · บรรพชีวินวิทยาและเทอโรซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคมีโซโซอิก

มหายุคมีโซโซอิก (อังกฤษ: Mesozoic Era) เป็นมหายุคที่สองจาก 3 มหายุคทางธรณีกาลของโลกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก โดยอยู่ถัดจากมหายุคพาลีโอโซอิกและอยู่ก่อนหน้ามหายุคซีโนโซอิก มหายุคมีโซโซอิกมีช่วงอายุตั้งแต่ 251-65 ล้านปีมาแล้ว อยู่ในช่วงเวลาที่มีการแยกตัวออกจากกันของแผ่นดินพันเจีย ทำให้เกิดผืนแผ่นดินลอเรเซียและผืนแผ่นดินกอนด์วานา คั่นกลางด้วยมหาสมุทรเททิส จากนั้นจึงเกิดการแยกตัวขึ้นอีกภายในผืนแผ่นดินทั้งสองทำให้เกิดทวีปต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มหายุคมีโซโซอิกเป็นมหายุคที่เรียกได้ว่าสัตว์เลื้อยคลานครองโลก.

ธรณีวิทยาและมหายุคมีโซโซอิก · มหายุคมีโซโซอิกและเทอโรซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยา · ซากดึกดำบรรพ์และเทอโรซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ธรณีวิทยาและไดโนเสาร์ · เทอโรซอร์และไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ธรณีวิทยาและเทอโรซอร์

ธรณีวิทยา มี 88 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทอโรซอร์ มี 43 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.05% = 4 / (88 + 43)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ธรณีวิทยาและเทอโรซอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: