เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ธรณีกาลและมหายุคพาลีโอโซอิก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ธรณีกาลและมหายุคพาลีโอโซอิก

ธรณีกาล vs. มหายุคพาลีโอโซอิก

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี. มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era; จากภาษากรีก palaio (παλαιο), "เก่าแก่" และ zoe (ζωη), "ชีวิต", หมายถึง "ชีวิตโบราณ")) เป็นมหายุคแรกสุดจาก 3 มหายุคในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ซึ่งเป็นยุคทางธรณีกาลของโลก ช่วงเวลาของมหายุคพาลีโอโซอิกอยู่ในช่วง 542-251 ล้านปีมาแล้ว และแบ่งย่อยออกเป็นหกยุคเรียงตามลำดับเก่า-ใหม่ ได้แก่ ยุคแคมเบรียน ยุคออร์โดวิเชียน ยุคไซลูเรียน ยุคดีโวเนียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส และ ยุคเพอร์เมียน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ธรณีกาลและมหายุคพาลีโอโซอิก

ธรณีกาลและมหายุคพาลีโอโซอิก มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บรมยุคฟาเนอโรโซอิกยุคออร์โดวิเชียนยุคดีโวเนียนยุคคาร์บอนิเฟอรัสยุคแคมเบรียนยุคไครโอเจเนียนยุคไซลูเรียนยุคเพอร์เมียนธรณีกาล

บรมยุคฟาเนอโรโซอิก

รมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic) เป็นมหายุคทางธรณีวิทยาในปัจจุบันทางธรณีกาล และเป็นหนึ่งในระหว่างสัตว์มีชีวิตที่มีอยู่มากมาย โดยปกคลุมตั้งแต่ประมาณ 542 ล้านปี และย้อนกลับไปในระยะเวลา เมื่อสัตว์เปลือกแข็งที่มีความหลากหลายปรากฏตัวครั้งแรก โดยชื่อนี้มาจากคำกรีกโบราณ φανερός และ ζωή หมายถึง ชีวิตที่มองเห็น เนื่องจากเป็นความเชื่อหลังจากที่ยุคแคมเบรียนกำเนิดขึ้น เป็นระยะแรกของยุคนี้ ระยะเวลาก่อนบรมยุคฟาเนอโรโซอิกเรียกว่า มหายุคพรีแคมเบรียน ซึ่งตอนนี้แบ่งออกเป็น บรมยุคฮาเดียน,บรมยุคอาร์เคียน และบรมยุคโพรเทอโรโซอิก ช่วงเวลาของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก รวมถึงการกำเนิดอย่างรวดเร็วของจำนวนสัตว์ไฟลัม วิวัฒนาการของไฟลัมเหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบ การกำเนิดขึ้นของพืช การพัฒนาการของพืชที่ซับซ้อน วิวัฒนาการของปลา การพัฒนาการของสัตว์บก และการพัฒนาการของสมัยฟัวนาส ในช่วงระยะเวลาที่ปกคลุมทวีปที่กำลังลอยเคว้งคว้าง ท้ายที่สุดการรวบรวมเข้าเป็นทวีปเดียวที่รู้จักกันดี คือ มหาทวีปแพนเจีย แล้วก็แยกตัวออกไปเป็นทวีปในปัจจุบัน.

ธรณีกาลและบรมยุคฟาเนอโรโซอิก · บรมยุคฟาเนอโรโซอิกและมหายุคพาลีโอโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคออร์โดวิเชียน

แคมเบรียน←ยุคออร์โดวิเชียน→ยุคไซลูเรียน ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) เป็นธรณีกาลยุคที่สองของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง 488.3±1.7 ล้านปีมาแล้ว ถึง 443.7±1.5 ล้านปีมาแล้ว และอยู่ระหว่างยุคแคมเบรียนและยุคไซลูเรียน.

ธรณีกาลและยุคออร์โดวิเชียน · มหายุคพาลีโอโซอิกและยุคออร์โดวิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคดีโวเนียน

ีโวเนียน (Devonian) เป็นยุคที่สี่ของมหายุคพาลีโอโซอิก ยุคนี้เริ่มนับตั้งแต่จุดสิ้นสุดของยุคไซลูเรียน เมื่อประมาณ 419.2±3.2 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดลงเมื่อก่อนเริ่มยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประมาณ 358.9±0.4 ล้านปีก่อน ยุคนี้ตั้งชื่อตามเดวอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการศึกษาหินของยุคนี้ นักธรณีวิทยาจัดว่ายุคดีโวเนียนนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตบนบก และพืชบกเริ่มกระจายเข้าสู่แผ่นดินส่วนใน ทำให้เริ่มมีการก่อตัวเป็นป่าซึ่งจะค่อยๆปกคลุมทวีป ช่วงกลางยุคดีโวเนียน พืชบางชนิดจะเริ่มวิวัฒนาการเป็นพืชมีใบและมีรากที่มั่นคง และปลาได้วิวัฒนาการมามากกว่าออสทราโคเดิร์มแล้ว และยุคนี้มีปลาชุกชุมจึงถูกเรียกว่า ยุคแห่งปลา (Age of Fish) ปลาหลายชนิดได้เริ่มวิวัฒนาการขึ้น ซึ่งภายหลังพวกมันเป็นต้นตระกูลของปลาขนาดใหญ่หลายชนิด ขณะที่ปลามีเกราะได้เริ่มลงจำนวนลงในแหล่งน้ำทุกๆ แห่ง บรรพบุรุษของสัตว์สี่ขาได้เริ่มขึ้นมาเดินอยู่บนบก ครีบของพวกมันได้วิวัฒนาการมาเป็นขา ส่วนในทะเล ฉลามดึกดำบรรพ์มีจำนวนมากขึ้นกว่าที่มีในยุคไซลูเรียนและปลายยุคออร์โดวิเชียน ปลายยุคดีโวเนียนได้เกิดการสูญพันธุ์ขึ้น เมื่อประมาณ 375 ล้านปีก่อน การสูญพันธุ์นี้ส่งผลกระทบกับสัตว์น้ำ ปลามีเกราะและไทรโลไบต์ทั้งหมดสูญพันธุ์ ทวีปในยุคนี้แบ่งเป็นมหาทวีปกอนด์วานา ทางตอนใต้ ทวีปไซบีเรีย ทางตอนเหนือ และเริ่มมีการก่อตัวของทวีปขนาดเล็กที่มีชื่อว่า ยูราเมริกา ในตำแหน่งระหว่างกลางของกอนด์วานาและไซบีเรี.

ธรณีกาลและยุคดีโวเนียน · มหายุคพาลีโอโซอิกและยุคดีโวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคคาร์บอนิเฟอรัส

ีโวเนียน←ยุคคาร์บอนิเฟอรัส→ยุคเพอร์เมียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) อยู่ในช่วง 354 – 295 ล้านปีก่อน เป็นยุคของป่าเฟินขนาดยักษ์ปกคลุมห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งกลายเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มมีวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน กำเนิดไม้ตระกูลสน ช่วงแรกเกิดต้นไม้โบราณขนาดใหญ่ และพื้นที่ลุ่มชื้นบนแผ่นดิน พบสัตว์มีกระดูกสันหลังบนแผ่นดินชนิดแรก และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เกิดปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีครีบพู่ (Rhizodontida) ในมหาสมุทรเกิดปลาฉลามยุคแรก และมีหลากหลายชนิดเกิดแมงป่องทะเล ไครนอยด์ ปะการัง โกเนียไทต์-แอมโมนอยด์ และแบรคิโอพอด พบได้ทั่วไป แต่ ไทรโลไบต์ และนอติลอยด์ พบชนิด และจำนวนน้อยลง น้ำแข็งปกคลุมด้านตะวันออกของกอนวานา แมลงมีปีกพบมาก และหลายชนิด แมลงบางชนิด มีขนาดใหญ่มาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พบทั่วไป และหลากหลาย พบสัตว์เลื้อยคลานเป็นครั้งแรก เกิดป่าที่ประกอบด้วย เฟิร์น ต้นคลับมอส ต้นหางม้าขนาดใหญ่ ในยุคนี้ระดับออกซิเจนในบรรยากาศมีค่าสูงสุด โกเนียไทต์ แบรคิโอพอด ไบรโอซัว และปะการัง พบได้ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทร.

ธรณีกาลและยุคคาร์บอนิเฟอรัส · มหายุคพาลีโอโซอิกและยุคคาร์บอนิเฟอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ยุคแคมเบรียน

อีดีแอคารัน←ยุคแคมเบรียน→ยุคออร์โดวิเชียน ยุคแคมเบรียน (Cambrian) เป็นธรณีกาลยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ในช่วง 542 ± 0.3 ล้านปีมาแล้วถึง 488.3 ± 1.7 ล้านปีมาแล้ว ก่อนจะเข้าสู่ยุคออร์โดวิเชียน คำว่าแคมเบรียนตั้งโดย อดัม ซิดก์วิค (Adam Sedgwick) เป็นชื่อโรมันของเวลส์ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบหินยุคแคมเบรียนดีที่สุดของอังกฤษ ยุคแคมเบรียนเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตบนโลก ก่อนยุคแคมเบรียน สิ่งมีชีวิตนั้นมีขนาดเล็กและเรียบง่าย ก่อนจะค่อยๆเป็นองค์ประกอบซับซ้อนในอีกล้านปีถัดมาก่อนหน้ายุคแคมเบรียนButterfield, N. J. (2007).

ธรณีกาลและยุคแคมเบรียน · มหายุคพาลีโอโซอิกและยุคแคมเบรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไครโอเจเนียน

รโอเจเนียน (Cryogenian) เป็นยุคที่สองแห่งมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่ระหว่าง 850 ล้านปีมาแล้วถึง 635 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้น้ำแข็งปกคลุมทั่วโลกตั้งแต่ขั้วโลกจนถึงเส้นศูนย์สูตร สิ่งมีชีวิตในยุคนี้ไม่ค่อยน่าสนใจมากนัก มีการเคลื่อนที่ของทวีปชื่อโรดิเนีย (Rodinia) นักธรณีวิทยาได้พิสูจน์ว่ามีคลื่นความเย็นจัด 2 ลูกมากระทบกัน จึงทำให้อณหภูมิโลกลดลงมาก โดยเราเรียกวิกฤตการณ์นี้ว่า โลกบอลหิมะ (Snowball Earth).

ธรณีกาลและยุคไครโอเจเนียน · มหายุคพาลีโอโซอิกและยุคไครโอเจเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไซลูเรียน

ออร์โดวิเชียน←ยุคไซลูเรียน→ยุคดีโวเนียน ยุคไซลูเรียน (Silurian) เป็นยุคที่สามของมหายุคพาลีโอโซอิกในธรณีกาล ยุคนี้เริ่มขึ้นหลังจากจุดสิ้นสุดของยุคออร์โดวิเชียน ประมาณ 443.8 ± 1.5 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดในช่วงก่อนเริ่มยุคดีโวเนียน ประมาณ 419.2 ± 0.2 ล้านปีก่อน นักธรณีวิทยาได้ใช้การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน เป็นตัวแบ่งยุคไซลูเรียนกับออร์โดวิเชียน ซึ่งจากการสูญพันธุ์นั้น ทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลกว่า 60 % หายไป ในยุคนี้พืชน้ำและสาหร่าย ได้ปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ โดยวิวัฒนาการมาเป็นพืชบก แต่พืชบกนี้พบได้แค่ตามชายทะเลเท่านั้น ในปลายยุคไซลูเรียนมีสัตว์บกเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดเล็ก แต่มันก็ยังมีจำนวนไม่มากและยังไม่ได้ขึ้นมาอาศัยบนบกทั้งหมด จนกระทั่งถึงยุคดีโวเนียน.

ธรณีกาลและยุคไซลูเรียน · มหายุคพาลีโอโซอิกและยุคไซลูเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเพอร์เมียน

ร์บอนิเฟอรัส←ยุคเพอร์เมียน→ยุคไทรแอสซิก ยุคเพอร์เมียน(permian)เป็นยุคสุดท้ายในมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง299±0.5ล้านปีมาแล้วถึง251±0.16ล้านปีมาแล้วมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่มากมาย พืชตระกูลสน เฟิร์นมีมากในช่วงนี้ สัตว์เลื้อยคลานในช่วงนี้คล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ แต่เกิดการสูญพันธ์ช่วงปลายยุค ซึ่งเป็นการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ที่สุดที่พบบนโลก สิ่งมีชีวิตบนโลกได้สูญพันธ์ไปถึง 96-97%.

ธรณีกาลและยุคเพอร์เมียน · มหายุคพาลีโอโซอิกและยุคเพอร์เมียน · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีกาล

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี.

ธรณีกาลและธรณีกาล · ธรณีกาลและมหายุคพาลีโอโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ธรณีกาลและมหายุคพาลีโอโซอิก

ธรณีกาล มี 47 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหายุคพาลีโอโซอิก มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 14.06% = 9 / (47 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ธรณีกาลและมหายุคพาลีโอโซอิก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: