เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ธงชาติไซปรัสและรายชื่อธงชาติในทวีปยุโรป

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ธงชาติไซปรัสและรายชื่อธงชาติในทวีปยุโรป

ธงชาติไซปรัส vs. รายชื่อธงชาติในทวีปยุโรป

งชาติไซปรัส (ΣημαίατηςΚύπρου; Kıbrıs bayrağı) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1960 ตามข้อตกลงซูริคและลอนดอน ซึ่งกำหนดให้ไซปรัสมีสถานะเป็นรัฐเอกราชและมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง ลักษณะของธงชาติไซปรัสเป็นรูปแผนที่ของเกาะไซปรัสทั้งหมด รองรับด้วยช่อมะกอกสองช่อบนพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ส่วนช่อมะกอกคู่นอกจากจะหมายถึงสันติภาพโดยทั่วไปแล้ว ยังมีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงสันติภาพระหว่างชาวเติร์กและชาวกรีก ซึ่งเป็นประชากรสองกลุ่มใหญ่ของประเทศ สีของแผนที่เกาะไซปรัสนั้นเป็นสีเหลืองทองแดง มีความหมายถึงแร่ทองแดงซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่มากภายในเกาะ (โดยหลักแล้วมักอยู่ในรูปของชาลโคไพไรต์ (chalcopyrite) ซึ่งมีสีเหลือง) อันเป็นที่มาแห่งนามของเกาะนี้ ไซปรัสเดินเป็นดินแดนที่มีชาวกรีกอาศัยอยู่ ต่อมาได้ถูกจักรวรรดิออตโตมาน (ปัจจุบันคือประเทศตุรกี) พิชิตได้ในปี ค.ศ. 1571 นำมาซึ่งการตั้งถิ่นฐานของชาวเติร์กในไซปรัส หลังจากนั้นไซปรัสก็ได้ตกอยู่ในความปกครองของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1878 การออกแบบธงชาติไซปรัสซึ่งได้มีการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1960 เป็นความพยายามที่จะเลือกใช้สัญลักษณ์ของชาติที่สื่อถึงสันติภาพและความปรองดองระหว่างประชาคมชาวกรีกและชาวเติร์กซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งกันมาโดยตลอด ทว่าแนวคิดดังกล่าวก็มิได้เป็นจริง ในปี ค.ศ. 1974 กองทัพตุรกีได้เข้ารุกรานและยึดครองดินแดนภาคเหนือของเกาะไซปรัส พร้อมทั้งจัดตั้งสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ ซึ่งเป็นรัฐชาติที่มีเพียงตุรกีเพียงชาติเดียวเท่านั้นที่ให้การยอมรับในทางพฤตินัย สาธารณรัฐดังกล่าวได้กำหนดธงชาติของตนเองขึ้นให้คล้ายกับธงชาติตุรกี โดยที่ใช้สีสลับกันกับธงชาติตุรกีและแถบสีแดงพาดบนธง 2 แถบ ในดินแดนไซปรัสเหนือนั้นมักจะชักธงชาติของตนขึนร่วมกับธงชาติตุรกี ในขณะที่ดินแดนที่เหลือทางตอนใตนิยมจะชักธงชาติไซปรัสร่วมกับธงชาติกรีซ. รายการภาพธงชาติในทวีปยุโรป.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ธงชาติไซปรัสและรายชื่อธงชาติในทวีปยุโรป

ธงชาติไซปรัสและรายชื่อธงชาติในทวีปยุโรป มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ธงชาติกรีซ

ธงชาติกรีซ

งชาติกรีซ (Σημαία της Ελλάδος, โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า Γαλανόλευκη หรือ Κυανόλευκη แปลว่า "ธงน้ำเงิน-ขาว") เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงเป็นแถบริ้วสีน้ำเงินสลับขาวรวมทั้งหมด 9 แถบ ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีน้ำเงิน กว้างยาวเป็น 5 ใน 9 ส่วนของความกว้างธง ภายในมีรูปกางเขนสีขาวมีปลายจดขอบสีน้ำเงิน กางเขนดังกล่าวนี้หมายถึงศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ส่วนแถบสีน้ำเงินสลับขาว 9 แถบนั้น โดยทั่วไปชาวกรีกหมายถึงพยางค์ 9 พยางค์ในประโยคภาษากรีกที่ว่า "Ελευθερία ή Θάνατος" (อ่านว่า "เอ-เลฟ-เท-ริ-อา-อิ-ทา-นา-ทอส" ("E-lef-the-ri-a i Tha-na-tos") แปลว่า เสรีภาพหรือความตาย) โดยแถบสีน้ำเงิน 5 แถบหมายถึง 5 พยางค์แรก ส่วนแถบสีขาว 4 แถบ หมายถึง 4 พยางค์สุดท้ายของประโยคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า แถบทั้ง 9 แถบนี้หมายถึงเทพธิดามิวเซส (Muses) ผู้เป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการต่างๆ ทั้ง 9 องค์ ในตำนานกรีกโบราณ สำหรับสัดส่วนธงอย่างเป็นทางการนั้นกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน อนึ่ง สีน้ำเงินและสีขาวที่ใช้ในธงนี้มีการตีความความหมายต่างๆ อยู่มาก บ้างก็ว่าหมายถึงสีของท้องฟ้าและน้ำทะเลในประเทศนี้ บ้างก็ว่าเป็นสีของเครื่องแต่งกายชาวกรีกตามธรรมเนียมโบราณ ทั้งนี้ ระดับของสีน้ำเงินในธงชาตินี้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง โดยแบบสีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้มาตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1960 รูปแบบธงดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ เป็นแบบธงที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมรัฐสภาแห่งชาติของกรีซครั้งแรก ณ เมืองเอปิเดารุส (The First National Assembly at Epidaurus) เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1822.

ธงชาติกรีซและธงชาติไซปรัส · ธงชาติกรีซและรายชื่อธงชาติในทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ธงชาติไซปรัสและรายชื่อธงชาติในทวีปยุโรป

ธงชาติไซปรัส มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อธงชาติในทวีปยุโรป มี 40 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.67% = 1 / (20 + 40)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ธงชาติไซปรัสและรายชื่อธงชาติในทวีปยุโรป หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: