โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธงชาติเบลีซ

ดัชนี ธงชาติเบลีซ

งชาติเบลีซ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน ที่ขอบธงตอนบนและตอนล่างมีแถบขนาดเล็กสีแดง กลางธงมีรูปวงกลมสีขาว ภายในมีภาพตราแผ่นดินของเบลีซ ซึ่งล้อมรอบด้วยใบมะฮอกกานีสีเขียวจำนวน 50 ใบ ธงนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 อันเป็นปีที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักร โดยขณะนั้นเบลีซใช้ชื่อประเทศว่า บริติชฮอนดูรัส ภายหลังเมื่อเบลีซได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2524 ธงนี้จึงมีฐานะเป็นธงชาติเบลีซอย่างเป็นทางการ ภายในตราแผ่นดินนั้น ประกอบด้วยรูปโล่ซึ่งภายในแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยภาพขวานและไม้พายไขว้ในพื้นสีขาวที่ช่องซ้ายบน รูปขวานกับเลื่อยไขว้กันในพื้นสีเหลืองที่ช่องขวาบน และภาพเรือใบแล่นในทะเลบนพื้นสีฟ้าช่องล่างกลาง เบื้องหลังโล่นี้มีภาพต้นมะฮอกกานี เบื้องซ้ายของโล่เป็นภาพคนงานผิวเหลืองแบกขวาน เบื้องขวาเป็นรูปคนงานผิวดำแบกพาย ทั้งสองคนนี้ยืนประคองรูปโล่ เบื้องล่างของภาพทั้งหมดมีคำขวัญประจำชาติในแพรแถบสีขาว เป็นข้อความภาษาละตินใจความว่า "Sub Umbra Floreo" (อันอาจแปลได้ว่า "เราเจริญขึ้นภายใต้ร่มเงา") ภาพทั้งหมดมีความหมายถึงอุตสาหกรรมไม้มะฮอกกานี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของชาติ ตรานี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 ส่วนสีของธงชาตินั้น มีที่มาจากสีของพรรคการเมืองที่เป็นแกนสำคัญในการเรียกร้องเอกราชของเบลีซ กล่าวคือ สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของพรรคสหภาพประชาชน (People's United Party - PUP) ส่วนสีแดงคือสีของพรรคสหประชาธิปไตย (United Democratic Party - UDP) ใบมะฮอกกานีทั้ง 50 ใบ หมายถึงปี..

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2413พ.ศ. 2450พ.ศ. 2462พ.ศ. 2493พ.ศ. 2524พรรคสหประชาธิปไตยภาษาละตินยูเนียนแจ็กรูปวงกลมรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากสีขาวสีน้ำเงินสีแดงสีเหลืองอาณานิคมธงชาติขวานคำขวัญประจำชาติตราแผ่นดินของเบลีซประเทศเบลีซ21 กันยายน

พ.ศ. 2413

ทธศักราช 2413 ตรงกั.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและพ.ศ. 2413 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2450

ทธศักราช 2450 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1907 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและพ.ศ. 2450 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2462

ทธศักราช 2462 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1919 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและพ.ศ. 2462 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2493

ทธศักราช 2493 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1950 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและพ.ศ. 2493 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2524

ทธศักราช 2524 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1981 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและพ.ศ. 2524 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคสหประชาธิปไตย

รรคสหประชาธิปไตย (เดิมชื่อ: พรรคสยามประชาธิปไตย) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม..

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและพรรคสหประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ยูเนียนแจ็ก

งสหภาพ (Union Flag) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ยูเนียนแจ็ก (Union Jack) เป็นธงชาติสหราชอาณาจักร ทั้งยังได้รับการใช้อย่างเป็นทางการและกึ่งทางการในรัฐสมาชิกเครือจักรภพบางรัฐ เช่น ในประเทศแคนาดาที่ซึ่งธงนี้มีนามตามกฎหมายว่า "ราชธวัชสหภาพ" (Royal Union Flag) ธงสหภาพยังใช้อย่างเป็นทางการในดินแดนโพ้นทะเลบางดินแดนของอังกฤษ ทั้งยังปรากฏในธงของบางประเทศซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษด้วย ธงสหภาพมีกำเนิดย้อนหลังไปถึงปี 1603 เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ เสวยราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ เป็นอันรวมแผ่นดินอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เป็นสหภาพหนึ่งเดียว กระนั้น แต่ละรัฐยังคงดำรงเอกราชอยู่มิได้ขึ้นแก่กัน วันที่ 12 เมษายน 1606 จึงมีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีธงใหม่เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศสกอตแลนด์ พระราชกฤษฎีกานี้ให้รวมธงอังกฤษ (ธงพื้นขาวมีกางเขนสีชาดซึ่งเรียก "กางเขนนักบุญจอร์จ" อยู่ตรงกลาง) เข้ากับธงสกอตแลนด์ (ธงพื้นน้ำเงินมีกางเขนไขว้สีขาวซึ่งเรียก "กางเขนนักบุญแอนดรูว" อยู่ตรงกลาง) เรียกว่า "ธงแห่งบริเตนใหญ่" ซึ่งก็คือ ธงผืนแรกแห่งสหภาพ รูปแบบปัจจุบันของธงสหภาพมีขึ้นในสหภาพบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เมื่อปี 1801, from the Flag Institute site.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและยูเนียนแจ็ก · ดูเพิ่มเติม »

รูปวงกลม

รูปวงกลมที่แสดงถึงรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง จุดศูนย์กลาง และเส้นรอบวง รูปวงกลม (อังกฤษ: circle) เป็นรูปร่างพื้นฐานอันหนึ่งในเรขาคณิตแบบยุคลิด รูปวงกลมเป็นโลกัส (locus) ของจุดทุกจุดบนระนาบที่มีระยะห่างคงตัวกับจุดที่กำหนดอีกจุดหนึ่ง ระยะห่างนั้นเรียกว่ารัศมี และจุดที่กำหนดเรียกว่าจุดศูนย์กลาง สามจุดใดๆ ที่ไม่อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถวาดรูปวงกลมผ่านทั้งสามจุดได้เพียงวงเดียว เส้นรอบวง คือเส้นรอบรูปของรูปวงกลม ส่วนโค้ง (arc) คือส่วนหนึ่งที่เชื่อมต่อกันของเส้นรอบวง คอร์ด (chord) คือส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายทั้งสองบรรจบอยู่บนเส้นรอบวง เส้นผ่านศูนย์กลาง คือคอร์ดที่ลากผ่านจุดศูนย์กลาง มีความยาวเป็นสองเท่าของรัศมี และเป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม รูปวงกลมเป็นเส้นโค้ง (curve) แบบปิดที่แบ่งระนาบออกเป็นพื้นที่ภายในกับพื้นที่ภายนอก พื้นที่ภายในรูปวงกลมเรียกว่า จาน (disk) รูปวงกลมเป็นกรณีพิเศษของรูปวงรีที่มีโฟกัส (focus) อยู่ที่จุดเดียวกันนั่นคือจุดศูนย์กลาง นอกจากนี้รูปวงกลมยังเป็นภาคตัดกรวยที่เกิดจากการตัดด้วยระนาบที่ตั้งฉากกับแกนของทรงกรวย เป็นต้น.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและรูปวงกลม · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มุมทั้งสี่ของมันเป็นมุมฉาก ส่วนคำว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมายถึงรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ABCD เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 10px ABCD จากการให้การจำกัดความนี้ สี่เหลี่ยมผืนผ้ายังมีด้านสองด้านที่ขนานกัน ซึ่งก็หมายความว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปชนิดพิเศษของสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยด้านทั้งสี่ด้านมีความยาวเท่ากัน ดังนั้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจึงเป็นทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยปกติแล้ว ด้านตรงกันข้ามสองด้านในสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านที่ยาวกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านยาว ของสี่เหลี่ยมผืนผ้า และด้านที่สั้นกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านกว้าง พื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็น ด้านกว้าง × ด้านยาว (ในสัญลักษณ์ A.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคม

ในทางการเมืองและประวัติศาสตร์ อาณานิคม (Colony) หมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมืองของรัฐๆหนึ่ง ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง อาณานิคมสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณีคือ กรณีแรกคือการจัดตั้งอาณานิคม ในอดีต เจ้าอาณานิคมมักส่งคณะบุกเบิกไปตั้งอาณานิคมในดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ กรณีที่สองคือการเข้ายึดครองดินแดนซึ่งเดิมอาจเคยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของตนเองมาก่อน หรืออาจมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อน อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการมีอาณานิคม คือการแสวงหาทรัพยากรและผลประโยชน์ป้อนแก่แผ่นดินบ้านเกิดของเจ้าอาณานิคมที่เรียกว่า "แผ่นดินแม่" อาณานิคมไม่เหมือนกับ รัฐหุ่นเชิด หรือ รัฐบริวาร เนื่องจากอาณานิคมไม่ได้มีฐานะเป็น รัฐ จึงไม่มีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารสูงสุดของอาณานิคม ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแผ่นดินแม่ ในปัจจุบัน อาณานิคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐบาลกลางบางประเทศ อาจยินยอมให้อาณานิคมมีรัฐบาลเป็นของตนเองซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลอาณานิคมจะดูแลทุกอย่างภายในอาณานิคม ด้านกฎหมาย, การคลัง, กลาโหม, ต่างประเทศ ยังคงถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติ

งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 กลางธงมีตรานกอินทรีแห่งนโปเลียน. ธงชาติประจำประเทศต่างๆ ธงชาติเดนมาร์ก เป็นธงราชการที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ธงชาติ คือธงที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของประเทศและดินแดนต่างๆ ปกติแล้วรัฐบาลของประเทศต่างๆ ย่อมเป็นผู้กำหนดแบบธงชาติและข้อบังคับการใช้ธงชาติ หากแต่พลเมืองในแต่ละประเทศก็สามารถใช้ธงชาติในดินแดนของตนเองได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับการใช้ธงตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ ธงชาตินิยมใช้ชักตามสถานที่ต่างๆ ทั้งของเอกชนและของรัฐ เช่น โรงเรียน และศาลาว่าการเมือง แต่ในบางประเทศ ได้มีข้อกำหนดการใช้ธงชาติว่าจะชักอยู่บนอาคารอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาคารทางทหารได้ในวันที่กำหนดให้ชักธงบางวันเท่านั้น ตามหลักสากล นิยมแบ่งลักษณะการใช้ธงชาติออกเป็น 3 ประเภทสำหรับใช้บนแผ่นดิน และอีก 3 ประเภทสำหรับใช้ในภาคพื้นทะเล แม้ว่าหลายประเทศมักจะใช้ธงชาติเพียงแบบเดียวในการใช้ธงหลายๆ ลักษณะ และบางทีก็ใช้ธงชาติในหน้าที่ทั้ง 6 ประเภทก็ตาม.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและธงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ขวาน

ขวานตัดไม้ ขวาน เป็นเครื่องมือที่มีมาแต่อดีต ใช้ในการตัดไม้ หรือหั่นไม้ รวมไปถึงการใช้เป็นอาวุธ โดยทั่วไปขวานจะประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ ส่วนหัว และส่วนด้ามจับ โดยจะเห็นได้ว่าขวานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับลิ่ม ที่ใช้ในการผ่อนแรง ขวานในสมัยโบราณ ส่วนหัวทำจากหิน และผูกเข้ากันกับด้ามไม้ ในขณะที่ขวานในยุคปัจจุบันส่วนหัว จะสร้างจากเหล็กและด้ามจับไม้ โดยขวานจะมีทั้งแบบที่ด้ามยาว และแบบด้ามสั้นขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานของขวานนั้น ๆ หมวดหมู่:เครื่องมือตัด หมวดหมู่:อาวุธมีคม.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและขวาน · ดูเพิ่มเติม »

คำขวัญประจำชาติ

ำขวัญประจำชาติ (state motto) คือ สิ่งที่ใช้อธิบายประเทศต่างๆ โดยใช้วลีที่สั้น และกระชับ โดยเนื้อหาจะเกี่ยวกับ แนวความคิด แรงจูงใจ การปลุกใจ เอกลักษณ์ หรือความภาคภูมิใจสำหรับชาตินั้น.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและคำขวัญประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเบลีซ

ตราแผ่นดินของเบลีซ ประกอบด้วยรูปโล่ซึ่งภายในแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยภาพขวานและไม้พายไขว้ในพื้นสีขาวที่ช่องซ้ายบน รูปขวานกับเลื่อยไขว้กันในพื้นสีเหลืองที่ช่องขวาบน และภาพเรือใบแล่นในทะเลบนพื้นสีฟ้าช่องล่างกลาง เบื้องหลังโล่นี้มีภาพต้นมะฮอกกานี เบื้องซ้ายของโล่เป็นภาพคนงานผิวเหลืองแบกขวาน เบื้องขวาเป็นรูปคนงานผิวดำแบกพาย ทั้งสองคนนี้ยืนประคองรูปโล่ เบื้องล่างของภาพทั้งหมดมีคำขวัญประจำชาติในแพรแถบสีขาว เป็นข้อความภาษาละตินใจความว่า "Sub Umbra Floreo" (อันอาจแปลได้ว่า "เราเจริญขึ้นภายใต้ร่มเงา") ภาพทั้งหมดมีความหมายถึงอุตสาหกรรมไม้มะฮอกกานี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของชาติ ตรานี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและตราแผ่นดินของเบลีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลีซ

ลีซ (Belize) เป็นชาติขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของอเมริกากลาง ริมทะเลแคริบเบียน มีอาณาเขตจรดประเทศเม็กซิโกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และจรดประเทศกัวเตมาลาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ มีประเทศฮอนดูรัสเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ห่างออกไปเพียง 75 กิโลเมตร (47 ไมล์) ตามอ่าวฮอนดูรัสทางด้านตะวันออก ชื่อประเทศมีต้นกำเนิดมาจากชื่อแม่น้ำเบลีซ ซึ่งเมืองเบลีซซิตี (เมืองหลวงเก่า) ก็ได้ชื่อมาจากแม่น้ำนี้ด้วยเช่นกัน ในภาษาสเปนมักจะเรียกว่า Belice เบลีซเป็นสมาชิกของประชาคมแคริบเบียน (CARICOM) และ the Sistema de Integracion Centro Americana (SICA) และจัดว่าตนเองอยู่ทั้งในกลุ่มประเทศแคริบเบียนและอเมริกากลาง.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและประเทศเบลีซ · ดูเพิ่มเติม »

21 กันยายน

วันที่ 21 กันยายน เป็นวันที่ 264 ของปี (วันที่ 265 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 101 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธงชาติเบลีซและ21 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธงชาติบริติชฮอนดูรัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »