เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ธงชาติมาเลเซียและประเทศมาเลเซีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ธงชาติมาเลเซียและประเทศมาเลเซีย

ธงชาติมาเลเซีย vs. ประเทศมาเลเซีย

งชาติมาเลเซีย หรือ จาลูร์เกอมีลัง (Jalur Gemilang มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตังเปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์". มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ธงชาติมาเลเซียและประเทศมาเลเซีย

ธงชาติมาเลเซียและประเทศมาเลเซีย มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กัวลาลัมเปอร์รัฐมะละการัฐยะโฮร์รัฐซาบะฮ์รัฐซาราวักรัฐปีนังรายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียศาสนาอิสลามประเทศสิงคโปร์

กัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปูตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร.

กัวลาลัมเปอร์และธงชาติมาเลเซีย · กัวลาลัมเปอร์และประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมะละกา

มะละกา (Melaka; ยาวี: ملاك; Malacca) เป็นรัฐทางตอนใต้ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ตรงข้ามกับเกาะสุมาตรา รัฐมะละกาเป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐเป็นประมุขแต่มีผู้ว่าราชการรัฐแทน ในอดีต มะละกาเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกบนช่องแคบมะละกามากว่า 500 ปี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัตช์ และมลายู ได้รับการยกย่องให้เป็นนครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกาจากองค์การยูเนสโก.

ธงชาติมาเลเซียและรัฐมะละกา · ประเทศมาเลเซียและรัฐมะละกา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐยะโฮร์

ร์ (Johor, อักษรยาวี: جوهور) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1°20" เหนือ และ 2°35" เหนือ เมืองหลวงของรัฐตั้งอยู่ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) ซึ่งเมื่อก่อนนี้ชื่อเมืองตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมืองหลวงเก่าคือเมืองยะโฮร์ลามา (Johor Lama) คำเฉลิมเมืองที่เป็นภาษาอาหรับคือ ดารุลตาอาซิม (Darul Ta'azim) ซึ่งแปลว่า ที่สถิตแห่งเกียรติยศ รัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIJORI เพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร.

ธงชาติมาเลเซียและรัฐยะโฮร์ · ประเทศมาเลเซียและรัฐยะโฮร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐซาบะฮ์

ซาบะฮ์ (Sabah) เป็นรัฐที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย และยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เนอเกอรีดีบาวะฮ์บายู (Negeri di bawah bayu) ซึ่งหมายถึง ดินแดนที่อยู่ใต้ลม ก่อนที่จะเข้าร่วมอยู่กับสหพันธรัฐมาเลเซียนั้น ซาบะฮ์เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีชื่อว่านอร์ทบอร์เนียว (บอร์เนียวเหนือ) ซาบะฮ์เป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ มีขนาดเล็กกว่ารัฐซาราวะก์ ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้ของเกาะเรียกว่ากาลิมันตันเป็นของประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงของรัฐคือโกตากีนาบาลู เดิมมีชื่อว่า เจสเซลตัน (Jesselton).

ธงชาติมาเลเซียและรัฐซาบะฮ์ · ประเทศมาเลเซียและรัฐซาบะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐซาราวัก

ซาราวัก หรือ ซาราวะก์ (Sarawak, อักษรยาวี: سراواك) เป็นหนึ่งในสองรัฐของประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว เป็นที่รู้จักกันในชื่อ บูมีเกอญาลัง (Bumi kenyalang, "ดินแดนแห่งนกเงือก") ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ และเป็นรัฐที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่วนอันดับสอง คือ รัฐซาบะฮ์ นั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองศูนย์กลางการบริหารของรัฐนี้ คือ กูชิง (ประชากร 600,300 คน ใน ปี พ.ศ. 2548) มีความหมายตรงตัวว่า "แมว" (Kuching) เมืองหลักของรัฐเมืองอื่น ๆ ได้แก่ ซีบู (228,000 คน) มีรี (282,000 คน) และบินตูลู (152,761 คน) การสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 รัฐนี้มีประชากร 2,376,800 คน ซาราวักเป็นรัฐที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมมากที่สุดในมาเลเซียและไม่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลัก.

ธงชาติมาเลเซียและรัฐซาราวัก · ประเทศมาเลเซียและรัฐซาราวัก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปีนัง

ปูเลาปีนัง (Pulau Pinang) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย เดิมชาวมลายูรุ่นแรกเรียกว่า ปูเลาวาซาตู หรือเกาะเดี่ยว ต่อมาพบในแผนที่เดินเรือ เรียกว่า ปูเลาปีนัง หรือเกาะหมาก ต่อมาอังกฤษเรียกว่า เกาะพรินซ์ออฟเวล.

ธงชาติมาเลเซียและรัฐปีนัง · ประเทศมาเลเซียและรัฐปีนัง · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย

ังดีเปอร์ตวนอากง (Yang di-Pertuan Agong, يڠ د-ڤرتوان اڬوڠ; ยังดีเปร์ตูวันอากง) ในภาษามลายู หมายถึง ผู้ปกครองสูงสุด เป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประมุขแห่งรัฐของมาเลเซีย เปรียบเทียบได้กับพระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมาจากเจ้าผู้ครองรัฐทั้ง 9 รัฐในมาเลเซียตะวันตก จากทั้งหมด 13 รัฐของมาเลเซีย ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และหมุนเวียนกันไปตามลำดับ พระอัครมเหสีในยังดีเปอร์ตวนอากง มีตำแหน่งเรียกว่า รายา ประไหมสุหรี อากง (Raja Permaisuri Agong, راج ڤرماءيسوري اڬوڠ; ราจาเปร์ไมซูรีอากง).

ธงชาติมาเลเซียและรายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย · ประเทศมาเลเซียและรายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ธงชาติมาเลเซียและศาสนาอิสลาม · ประเทศมาเลเซียและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ธงชาติมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ · ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ธงชาติมาเลเซียและประเทศมาเลเซีย

ธงชาติมาเลเซีย มี 34 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประเทศมาเลเซีย มี 84 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 7.63% = 9 / (34 + 84)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ธงชาติมาเลเซียและประเทศมาเลเซีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: