เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ธงชาติทิเบตและฝ่ายบริหารกลางทิเบต

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ธงชาติทิเบตและฝ่ายบริหารกลางทิเบต

ธงชาติทิเบต vs. ฝ่ายบริหารกลางทิเบต

งชาติทิเบต สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติเขตปกครองตนเองทิเบต เริ่มปรากฏการใช้เมื่อ พ.ศ. 2455 โดยทะไลลามะองค์ที่ 13 แห่งทิเบต ทรงออกแบบขึ้น โดยรวมเอาธงประจำกองทัพของชาวทิเบตในทุกเขตแขวงมาสร้างขึ้นเป็นธงเดียว ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ธงนี้ได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพชาวทิเบตทั้งหมดมาจนถึง พ.ศ. 2493 เนื่องจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้บุกเข้ายึดครองทิเบต และสถาปานาดินแดนแห่งนี้เป็นเขตปกครองตนเองพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนThe flag was not completely banned from 1951 to 1959 as exceptional case exists, see Melvyn C. Goldstein, Dawei Sherap, and William R. Siebenschuh,, University of California Press, 2004, pp174-175 ในปัจจุบัน ธงนี้ยังคงใช้เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น ซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ส่วนในสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งรวมถึงเขตปกครองตนเองทิเบตในปัจจุบัน ถือว่าเป็นธงนอกกฎหมาย เพราะเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการเรียกร้องเอกราชของชาวทิเบต อย่างไรก็ตาม การแสดงธงชาติทิเบตในฮ่องกงนั้น รัฐบาลท้องถิ่นมองว่าเป็นการแสดงออกถึงเสรีภาพของชาวทิเบต เนื่องจากว่าเขตบริหารพิเศษฮ่องกงนั้นมีกฎหมายบางส่วนที่บทบัญญัติใช้ในเขตการปกครองของตนแยกจากกฎหมายหลักของสาธารณรัฐประชาชนจีน. ฝ่ายบริหารกลางทิเบต หรือ ฝ่ายบริหารกลางทิเบตขององค์ทะไลลามะ (Central Tibetan Administration, CTA; หรือ Central Tibetan Administration of His Holiness the Dalai Lama) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่น นำโดย "เทนซิน กยัตโส" ทะไลลามะองค์ที่ 14 จุดยืนขององค์กรนี้คือ ทิเบตเป็นชาติอิสระที่มีเอกราชมายาวนาน มิใช่ส่วนหนึ่งของจีน ปัจจุบันแม้ว่าทิเบตจะยังไม่ได้รับเอกราช แต่ก็ได้สิทธิปกครองตนเองเช่นเดียวกับฮ่องกง กองบัญชาการใหญ่ของรัฐบาลพลัดถิ่นนี้อยู่ที่ธรรมศาลาในอินเดีย ที่ทะไลลามะจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 หลังจากการจลาจลเพื่อต่อต้านจีนล้มเหลว ดินแดนทิเบตในความหมายของรัฐบาลพลัดถิ่นนี้ ได้แก่เขตปกครองตนเองทิเบต มณฑลชิงไห่ และบางส่วนของมณฑลใกล้เคียงคือ กันซู เสฉวน และยูนนาน ซึ่งถือเป็นดินแดนของทิเบตในประวัติศาสตร์ รัฐบาลพลัดถิ่นนี้ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอินเดียให้เข้ามาดูแลชุมชนชาวทิเบตราว 100,000 คนที่ลี้ภัยอยู่ในอินเดียภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศใดยอมรับว่ารัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตเป็นรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2544 ชุมชนชาวทิเบตทั่วโลกได้มีการเลือกตั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (བཀའ་བློན་ཁྲི་པའ་, Kalon Tripa) โดยผู้ที่ได้รับเลือกตั้งคือ "ลอบซัง เทนซิน" พระภิกษุวัย 62 ปี ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทิเบต หมวดหมู่:ขบวนการทางการเมืองในประเทศจีน หมวดหมู่:ขบวนการแบ่งแยกดินแดน หมวดหมู่:ทิเบต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ธงชาติทิเบตและฝ่ายบริหารกลางทิเบต

ธงชาติทิเบตและฝ่ายบริหารกลางทิเบต มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฮ่องกงทะไลลามะประเทศอินเดียประเทศจีนเขตปกครองตนเองทิเบต

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ธงชาติทิเบตและฮ่องกง · ฝ่ายบริหารกลางทิเบตและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ

ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..

ทะไลลามะและธงชาติทิเบต · ทะไลลามะและฝ่ายบริหารกลางทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ธงชาติทิเบตและประเทศอินเดีย · ประเทศอินเดียและฝ่ายบริหารกลางทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ธงชาติทิเบตและประเทศจีน · ประเทศจีนและฝ่ายบริหารกลางทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ธงชาติทิเบตและเขตปกครองตนเองทิเบต · ฝ่ายบริหารกลางทิเบตและเขตปกครองตนเองทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ธงชาติทิเบตและฝ่ายบริหารกลางทิเบต

ธงชาติทิเบต มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฝ่ายบริหารกลางทิเบต มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 13.89% = 5 / (22 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ธงชาติทิเบตและฝ่ายบริหารกลางทิเบต หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: